ระบบสารสนเทศทางการตลาด

Marketing Information System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทางการตลาด สามารถจัดการสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจทางการตลาด และสามารถประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการตัดสินใจทางการตลาดได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการตลาด สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทางการตลาดมาใช้ในการจัดการข้อมูลทางการตลาดที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจทางการตลาดได้อย่างสอดคล้องกับสถานการณ์ทางการตลาดปัจจุบัน
แนวคิด  บทบาท  และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทางการตลาด  การจัดการระบบสารสนเทศทางการตลาด และการประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจทางการตลาด
 
The role and  importance  of  information  technology  and  Marketing  Information  System.  The  management of marketing information system and  the  application  of  marketing  decisions.
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ สอนเสริมเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
Accountability  ความรับผิดชอบ (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)

บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม

     ผลการเรียนรู้ด้านทักษะคุณธรรมจริยธรรม
       ข้อ 1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
       ข้อ 2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
 
1.  สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
2.  ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.  การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2.  การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
Ability  ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

Accountability  ความรับผิดชอบ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อตนเอง องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม
    ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
      ข้อ 1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
1.  จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะ ของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
2.  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงานทางการตลาดและนำเสนอผลงานในชั้นเรียน ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" ภายใต้แผนงานโครงการเรียนรู้วัฒนธรรม อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีทักษะทางวิชาชีพเป็นพื้้นฐาน ชื่อกิจกรรม  "โครงการบูรณาการความรู้ทางด้านการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" 
1.  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.  ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน  การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
Brilliance ความเฉลียวฉลาด  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)
บัณฑิตมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์เพื่อคิด วิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผล
   ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
        ข้อ 1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
        ข้อ 2.  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
1.  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2.  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" ภายใต้แผนงานโครงการเรียนรู้วัฒนธรรม อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีทักษะทางวิชาชีพเป็นพื้้นฐาน ชื่อกิจกรรม  "โครงการบูรณาการความรู้ทางด้านการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" 
1.  ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
2.  ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
Learning  การเรียนรู้  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจฯ)

บัณฑิตมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี

      ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
      ข้อ 1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 
1. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน และจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
Ability ความรู้ความสามารถ  (ตามคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของคณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์)

บัณฑิตมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวาง และเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน

       ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
     ข้อ 1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 
        ข้อ 2.  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
1. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ โดยมอบหมายให้นักศึกษาประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาด ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" ภายใต้แผนงานโครงการเรียนรู้วัฒนธรรม อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีทักษะทางวิชาชีพเป็นพื้้นฐาน ชื่อกิจกรรม  "โครงการบูรณาการความรู้ทางด้านการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" 
2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.  การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2.  พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
     (ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552)

บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชนและสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

      ผลการเรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
        ข้อ 1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 
1. จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1.การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติในงานวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 1 2 1 1 2 1
1 BBABA611 ระบบสารสนเทศทางการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1 , 5.1.1 การทดสอบ - การสอบกลางภาค ,การสอบปลายภาค ,ทดสอบย่อย 8 ,17 ,15 25% ,25% ,10%
2 1.1.1 , 3.1.1 , 3.1.2 , 4.1.1 5.1.2 , 6.1.1 งานที่มอบหมาย - รายงาน/การนำเสนอผลงาน (8-10 คน) ในประเด็นหัวข้อ "การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศทางการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่" ภายใต้แผนงานโครงการเรียนรู้วัฒนธรรม อนุรักษ์ สืบทอดวัฒนธรรมไทยและภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีทักษะทางวิชาชีพเป็นพื้้นฐาน ชื่อกิจกรรม  "โครงการบูรณาการความรู้ทางด้านการตลาดเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์จักสานจากไม้ไผ่"  ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.1 , 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน - การเข้าชั้นเรียน / การมีส่วนร่วม ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอน รายวิชาระบบสารสนเทศทางการตลาด  เรียบเรียงโดย อาจารย์ชรัญญา  สุวรรณเสรีรักษ์
กุลฉัตร  ฉัตรกุล  ณ  อยุธยา.  ระบบสารสนเทศทางการตลาด.  เชียงใหม่ :  ภาควิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยพายัพ,  2550.
ดวงพร  เกี๋ยงคำ.  คู่มือ Office 2007 ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2552.
พายัพ  ขาวเหลือง.  การจัดการธุรกิจด้วย Excel (Business Management with Excel).  กรุงเทพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์, 2550.
บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :  จามจุรีโปรดักท์, 2549.
รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006.
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ
วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
เว็บไซด์ทางธุรกิจ  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้โดยนักศึกษา หรือ   การประเมินการสอนโดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบมหาวิทยาลัย) หรือ

  การเขียนสะท้อนความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากนักศึกษา หลังจบบทเรียนในรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1  การประเมินตนเองหลังการสอน และการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้งโดยผู้สอน หรือ
2.2  การประเมินตนเองหลังการสอน จากผลการเรียนของนักศึกษา พิจารณาจากคะแนนสอบ รายงานหรือโครงการที่ได้รับมอบหมาย
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1  การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ร่วมกันระหว่างผู้สอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.2  พัฒนาความรู้ความสามารถด้านการสอน โดยการอบรมสัมมนา
การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา โดยการแต่งตั้งกรรมการผู้รับผิดชอบ กรรมการบริหารหลักสูตร และกรรมการสาขาวิชาในสาขาวิชา เป็นผู้ดำเนินการ ดังนี้
4.1  การประเมินตามผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยนักศึกษา
4.2  การประเมินการสอน โดยนักศึกษา (ประเมินผ่านระบบของมหาวิทยาลัย)
4.3 การวิเคราะห์ความสอดคล้อง/เกณฑ์การประเมิน ตาม มคอ.3/ มคอ.5 โดยคณะกรรมการทวนสอบ
4.4  การประเมินข้อสอบ  การปฏิบัติงาน และรายงานโครงการ การให้คะแนน ที่มาของเกรด โดยอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร หรือสาขาวิชา
จากผลการประเมิน และการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  รายงานผลการทวนสอบฯ ต่อคณะกรรมการผู้รับผิดชอบหลักสูตร/สาขาวิชา
5.2  นำผลการทวนสอบฯ ไปรายงานใน มคอ.5 และจัดทำแผนปรับปรุง มคอ.3 ในครั้งต่อไป โดยอาจารย์ผู้สอน
5.3  นำผลการทวนสอบไปปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตร โดยหัวหน้าหลักสูตร