เตรียมโครงงานวิศวกรรมโลจิสติกส์

Pre-Logistics Project

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการประยุกต์ใช้วิชาทั้งหลายที่เรียนมาบูรนาการสร้างสรรค์แนวคิดในการ ประดิษฐ์ วิจัย ค้นคว้าอิสระ ในงานวิศวกรรมโลจิสติกส์และ/หรือวิศวกรรมอุตสาหการที่เกี่ยวข้องกับบริบทแวดล้อมของประเทศต่อไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในวิชาที่เรียนมาทั้งหมดก่อนหน้านี้ในทุกกลุ่มวิชา เพื่อเป็นพื้นฐานการเตรียมการเขียนโครงงาน เพื่อทำการวิจัย ค้นคว้าอิสระ และประดิษฐ์ หรือพัฒนาปรับปรุงระบบงานในงานวิศวกรรมโลจิสติกส์และ/หรือวิศวกรรมอุตสาหการ ให้ทันต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงไป
ศึกษาเกี่ยวกับการค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดษฐ นวัตกรรม หรืองานทางวิศวกรรมอุตสาหการ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 สอนการปฏิบัติการพร้อมยกตัวอย่าง การทบทวนวรรณกรรม การพิจารณากระบวนทัศน์การค้นคว้าอิสระ การวิจัย การประดิษฐ์ แนวคิดด้านนวัตกรรม
1.2.2 กำหนดให้ทำ โครงงานที่นักศึกษารวมกลุ่มกัน เป็นหลายกลุ่ม สนใจและดำเนินการตามกรอบการวางแผนโครงงานที่กำหนดในทิศทางเดียวกัน
มีความรู้ในหลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของการเขียนโครงร่างวิจัย และสิ่งประดิษฐ์ตั้งแต่การวิเคราะห์ปัญหา การกำหนดหัวข้อที่สนใจ การดำเนินการสร้างวัตถุประสงค์และสมมติฐานการวิจัย เข้าใจเลือกเครื่องมือที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นและหลักการทางสถิติที่เหมาะสมกับลักษณะของหัวข้อที่สนใจ และพร้อมทั้งมีความรู้ในการใช้ภาษาที่สามารถสื่อสารเพื่อนำสารสนเทศที่ได้จากการวิจัยหรือจากสิ่งประดิษฐ์เผยแพร่สู่วงการศึกษาจนเกิดความชำนาญ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลการจัดทำโครงงานสิ่งประดิษฐ์และหัวข้อโครงการวิจัยโดยมีการแบ่งระดับความสำคัญของแบบที่คณะวิศกรรมศาสตร์ได้จัดทำขึ้นเป็นมาตรฐานเดียวกัน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ปัญหาที่สนใจอย่างเป็นระบบ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา 
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์หัวข้อโครงงานและสิ่งประดิษฐ์
4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากค้นคว้างานวิจัยจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงานโครงงาน  และรูปแบบการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGIE309 เตรียมโครงงานวิศวกรรมโลจิสติกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 4.1, 5.1 1.1, 4.1, 5.1 สอบกลางภาค, สอบหัวข้อโครงงาน 8, 16 10%, 80%
2 1.1 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการเขียนเค้าโครงการวิจัย:แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สิทธิ์  ธีรสรณ์ . (2552). แนวคิดพื้นฐานทางการวิจัย .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ