การจัดการโซ่อุปทานเชิงนิเวศน์

Lean and Green Supply Chain Management

เพื่อศึกษาการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและ มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างมูลค่าในตัวสินค้าและบริการ กำจัดการลดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกจากระบบหรือลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไปตลอดโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกลับมาใช้ใหม่ (Green Recycling) การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศน์(Green Design) การผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด(Green manufacturing)หรือฝังกลบโดยจะเกี่ยวข้องกับคู่ค้า เช่น ผู้ส่งมอบผู้ออกแบบผู้ผลิตผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่งและผู้ค้าปลีก เป็นต้น
เพื่อผลิตนักศึกษามีความรู้  ความชำนาญเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารจัดการโซ่อุปทานเชิงนิเวศน์ เพื่อบริหารจัดการกระบวนการด้านโลจิสติกส์และโซ่อุปทานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มและประสิทธิภาพสูงสุด ในการผลิตสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
ศึกษาการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้า สร้างมูลค่าในตัวสินค้าและบริการ กำจัดลดสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ออกจากระบบหรือลดของเสียที่เกิดขึ้น โดยมีการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป ตลอดโซ่อุปทานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำจนถึงผู้บริโภคและรวมถึงการนำซากกลับมาใช้ใหม่ (Green Recycling) การออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศน์ (Green Design) การผลิตด้วยเทคโนโลยีสะอาด (Green manufacturing) หรือฝังกลบ โดยจะเกี่ยวข้องกับคู่ค้า เช่น ผู้ส่งมอบ ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต ผู้กระจายสินค้า ผู้ขนส่งและผู้ค้าปลีก เป็นต้น
สามารถนัดหมายอาจารย์ได้ตลอดเวลา
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม  1.1.2 แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ  1.1.3 ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม  1.1.4 เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.2.1 ให้ความสำคัญในวินัย การต่อตรงเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด  1.2.2 สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม  1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม  1.2.4 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.3.1     เช็คชื่อการให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา  1.3.2     ประเมินปริมาณการทุจริตในห้องสอบ  1.3.3     สร้างแบบประเมินพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม  1.3.4     สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
2.1.1     เข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานด้านโลจิสติกส์เพื่อตีกรอบแนวความคิดสู่การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว  2.1.2     รู้จักเครื่องมือและสามารถใช้เครื่องมือการวิเคราะห์โลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวได้  2.1.3     เข้าใจแนวทางการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานด้วยคาร์บอนฟุตปริ้นท์
2.2.1     ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้  2.2.2     ให้นักศึกษาปฏิบัติการด้านโลจิสติกส์ โดยนำหลักการทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้  2.2.3     มอบหมายให้ทำรายงานเรื่องด้านโลจิสติกส์ และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฎิบัติการ  2.3.2 ประเมินจากผลการปฏิบัติการ  2.3.3 พิจารณาจากรายงานที่มอบหมาย
3.1.1      มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำ  ความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง  3.1.2      สามารถแก้ปัญหาทางโลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม  3.1.3     มีความใฝ่หาความรู้
3.2.1     ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง  3.2.2      ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)  3.2.3      การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
3.3.1      ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง  3.3.2      ประเมินจากการรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา  3.3.3      ประเมินจากกรณีศึกษา ค้นคว้าและรายงานหน้าชั้นเรียน
4.1.1     สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  4.1.2     มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  4.1.3     สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี  4.1.4     มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป  4.1.5     มีภาวะผู้นำ
4.2.1      กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน  4.2.2      ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  4.2.3      ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯเพื่อส่งเสริมทักษะการอยู่ในสังคม  4.2.4      ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  4.2.5      ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นโดยการจัดอภิปรายและเสวนางานที่มอบหมายที่ให้ค้นคว้า
4.3.1      สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง  4.3.2      ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา        4.3.3      ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมของนักศึกษา           4.3.4      ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล  4.3.5      ประเมินพฤติกรรมภาวะ การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5.1.1    มีทักษะการใช้ภาษาไทยในการอธิบายหลักการและสถานการณ์ตลอดจนการสื่อสารความหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  5.1.2    สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน  5.1.3     พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษามีความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในอันที่จะวิเคราะห์สถานการณ์ตลอดจนนำเสนอข้อมูลโดยใช้คณิตศาสตร์หรือสถิติ  5.1.4    ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1     ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข  5.2.2     มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอหน้าชั้น  5.2.3     การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย  5.2.4   ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้อง และให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.3.1     สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผลและมีการบันทึกเป็นระยะ  5.3.2     ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
6.1.1     มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  6.1.2    มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1 ฝึกปฏิบัติจากการทำโครงการในรายวิชา (Class Project) โดยเป็นโจทย์จริงในพื้นที่  6.2.2 ศึกษาและฝึกปฏิบัติจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6.3.1 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ โดยเปิดเผย  6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การบ้าน แบบฝึกหัด รายงาน class project ความถูกต้องของเนื้อหา ชิ้นงาน ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบข้อเขียนตามประกาศมหาวิทยาลัย 9, 18 30%, 30%
3 จิตพิสัย การเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน การส่งงาน การร่วมมือกับเพื่อนในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. "การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียว".  พิมพ์ที่ จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ : กรุงเทพมหานคร, มิถุนายน 2558.  กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่. "การจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานสีเขียวสำหรับอุตสาหกรรมมันสำปะหลัง". นีโอดิจิตอล : กรุงเทพมหานคร, ธันวาคม 2556.   มนตรี เจียมจรุงยงศ์. "โตไม่หยุดแบบ TOYOTA TPS". พิมพ์ที่ สำนักพิพม์ INSPIRE : กรุงเทพมหานคร, 2013.
Green SCOR Model (Supply Chain Concil)
สามารถดาวน์โหลดเอกสาร หนังสือได้ที่เว็บไซต์ของ สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่  http://logistics.dpim.go.th/ 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา  1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา  1.4 การประเมินตนเอง  1.5 การตอบแบบสอบถาม
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้  2.4   การสัมภาษณ์นักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ