การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี

Business Finance for Accountant

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน การวิเคราะห์ การพยากรณ์และการวางแผนทางการเงิน การบริหารสินทรัพย์หมุนเวียน เครื่องมือทางการเงินที่นำมาใช้ในการตัดสินใจลงทุนและวิธีการจัดหาเงินทุนของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุน นโยบายเงินปันผลเนื้อหาวิชาจะเป็นความรู้สาขาวิชาทางการเงินขั้นพื้นฐานที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานทางการเงินเพื่อให้องค์กรบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ศึกษาเป็นพื้นฐานทางด้านการบริหารการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี เพื่อที่ธุรกิจจะสามารถจัดหาและจัดสรรทรัพยากร ให้เกิดมูลค่าสูงสุดต่อธุรกิจ ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบริหารการเงินที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ เทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุน ของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านทางโทรศัพท์ /อีเมล์ - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณในวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตอยู่กับผู้อื่นในสังคมได้อย่างสร้างสรรค์ มีจิตสาธารณะและทำคุณประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม มีความระมัดระวังในการใช้ความรู้ ทักษะทางวิชาชีพ โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาประเทศเพื่อให้เกิดความยั่งยืน นักศึกษาควรมีจริยธรรมดังต่อไปนี้ 1.1.1 มีความรู้ ความเข้าใจและทัศนคติที่ดีในวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ 1.1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้อย่างดี 1.1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคมได้ มีจิตสำนึก คุณธรรม และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน
1.2 วิธีการสอน สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา  
 
1.3 วิธีการประเมินผล 1.3.1 ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 1.3.4 สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 1. มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี 2. มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการเงินธุรกิจสำหรับนักการบัญชีและอื่นๆ  
 
2.2 วิธีการสอน 1. ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยาย และอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา 2.การถาม-ตอบ ปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน 3. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ 4. การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยทำกรณีศึกษาหรือ การศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจ  
 
2.3 วิธีการประเมินผล 1. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ 2. การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา 3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูลและแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการทำกรณีศึกษาหรือวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.1.2 สามารถวิเคราะห์การควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน ต้นทุนของเงินทุน โครงสร้างและผลตอบแทนทางการเงิน รวมทั้งนโยบายเงินปันผลได้  
 
 
3.2 วิธีการสอน 3.1.2 บรรยาย และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นโดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 3.2.2 สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น  
 
3.3 วิธีการประเมินผล 3.3.1 ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์กรณีศึกษาได้รับมอบหมาย 3.3.2 ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของเนื้อหาในรายวิชา 3.3.3 ประเมินจากรายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียนรวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.1.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการ แก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีได้อย่างต่อเนื่อง  
 
4.2 วิธีการสอน 4.2.1 มอบหมายการทำงานที่เกี่ยวกับความรู้ทางการเงินสำหรับนักบัญชี แบบกลุ่มย่อยโดยมีการ สลับกันเป็นผู้นำกลุ่ม สมาชิกกลุ่มและผู้รายงาน 4.2.2 มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจาก กรณีศึกษาต่างๆ  
 
4.3 วิธีการประเมินผล 4.3.1 ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนโดยสังเกตพฤติกรรม ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม 4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงานจากงานกลุ่มของนักศึกษา
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 5.1.1 สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษาทางบัญชี และเสนอวิธีการแก้ไข จากกรณีศึกษาและแบบฝึกหัดได้ 5.1.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน  
 
5.2 วิธีการสอน 5.2.1 บรรยาย และให้แสดงความคิดเห็น การทำงานกลุ่มโดยศึกษาค้นคว้าจากฐานข้อมูลออนไลน์และสถานประกอบการจริงได้ 5.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แล้ววิเคราะห์พร้อมนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
 
5.3 วิธีการประเมินผล 5.3.1 ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอ ผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 5.3.2 ประเมินจากการสอบข้อเขียน สอบย่อย สอบกลางภาคและ สอบปลายภาค 5.3.3 ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงาน เป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
 
ทักษะทางพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางด้านการปฏิบัติ อาศัยการฝึกฝน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญแต่ละบุคคลที่ต้องพัฒนา โดยนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตามคุณลักษณะของนักบัญชีที่พึงประสงค์โดยวัดจาก ุ
6.1.1 คุณภาพของงาน ได้แก่ จุดเด่นของผลงาน ความเหมาะสมในการนำไปใช้ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
6.1.2 คุณภาพด้านปริมาณงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของงานที่ได้ภายใต้เวลาที่กำหนด
6.1.3 ทักษะการปฏิบัติงาน และปรับปรุงงาน ได้แก่ การพัฒนาผลงานในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
6.2.1 แนะนำให้ผู้เรียนเห็นถึงคุณภาพของงานที่ดี มีคุณภาพ น่าเชื่อถือ โดยมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลสาธารณะ
6.2.2 ให้นำเสนอผลงานที่ได้จากการจัดทำรายงานทางการเงิน เช่น การประเมินโครงการลงุทน พร้อมนำเสนอแนะข้อดี ข้อเสียเพื่อให้ทราบถึงแนวทางนำไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นของโครงการนั้น
6.2.3 ตรวจสอบผลงานตามกำหนดเวลาที่ระบุและดูความก้าวหน้าและพัฒนาการของผลงาน
6.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่มอบหมายรวมถึงการสืบค้นข้อมูล ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ในรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสม
6.3.2 ประเมินทักษะการนำเสนองานและการมีพัฒนาที่ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะ
6.3.3 ประเมินการสอบข้อเขียนเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC122 การเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บอกความหมายของการเงินธุรกิจ เป้าหมายของการจัดการทางการเงินธุรกิจ สภาพแวดล้อมต่างๆ ทางการเงิน บอกบทบาทหน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่างๆ อธิบายถึงเทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน แสดงการประเมินโครงการจากงบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุน ของธุรกิจ คำนวณหาต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 13 16 10% 30% 10% 30%
2 สามารถนำเทคนิคในการวิเคราะห์การพยากรณ์และการควบคุมทางการเงิน การจัดการทุนหมุนเวียน งบจ่ายลงทุน วิธีการจัดหาเงินทุน ของธุรกิจ ต้นทุนของเงินทุนและโครงสร้างทางการเงิน ผลตอบแทนทางการเงินและการลงทุนนโยบายเงินปันผล มาบูรณาการกับธุรกิจจริงโดยการทำกรณีศึกษาธุรกิจที่สนใจได้ วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนองานรายงาน การทำงานกลุ่ม การอ่านและสรุปบทความทางการเงิน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 การมีส่วนร่วมในการตอบคำถาม แสดงความคิดเห็น การบูรณาการความรู้ที่เรียนกับการเงินธุรกิจในความเป็นจริงได้ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5%
ยพรัตน์ อิ่มพิทักษ์. (2562). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก.
 
สรินยา สุภันทรานนท์. (2565). เอกสารประกอบการสอนวิชาการเงินธุรกิจสำหรับนักบัญชี. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาตาก. กมลวรรณ พิมพ์แพทย์.(2554). การเงินธุรกิจ. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์. กรุงเทพฯ. สุพาดา สิริกุตตา และคณะ.(2552). การเงินธุรกิจ. บริษัทธรรมสาร จำกัด. กรุงเทพฯ.
ว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น รายงานทางการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สืบค้นได้จาก www.set.or.th, www.bot.or.th, www.dbd.go.th, www.rd.go.th, www.fap.or.th เป็นต้น
แบบประเมินผู้สอนโดยนักศึกษาประเมินรายวิชา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- การทวนสอบผลโดยอาจารย์ผู้สอน เช่น การสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
นำผลที่ได้จากการประเมินในข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการเรียนการสอนโดยจัดกิจกรรม การวิพากษ์แนวการสอนโดยผู้สอน
การแต่งตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ การพิจารณารายงานของผู้เรียนวิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนตามข้อกำหนดวัดและประเมินผลประจำรายวิชา
ปรับปรุงรายละเอียดวิชาทุกภาคการศึกษาที่จัดเรียนการสอนหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 ปรับปรุงรูปแบบการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ