สหกิจศึกษาทางบริหารธุรกิจ

Co-operative Education in Business Administration

จุดมุ่งหมายของวิชาประสบการณ์ภาคสนาม เป็นการฝึกให้นักศึกษาได้เรียนรู้สิ่งต่อไปนี้ 1.1 การเชื่อมโยงความรู้ทางทฤษฎีกับการประยุกต์ให้เกิดผลทางปฏิบัติงานจริง 1.2 สามารถเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล เขียนรายงานและนำเสนอได้ 1.3 มีทักษะพื้นฐานในการประกอบอาชีพ 1.4 เข้าใจกระบวนการ ขั้นตอนและวิธีการนำความรู้ด้านการจัดการมาใช้ในการทำงาน 1.5 เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร เรียนรู้การปรับตัวให้เข้ากับผู้อื่น และสามารถทำงานร่วมกันได้ 1.6 มีบุคลิกภาพ มารยาทในสังคม มนุษย์สัมพันธ์ รู้จักกาลเทศะ มีความมั่นใจในตนเอง
เพื่อให้เป็นวิชาที่นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ที่ได้ศึกษามาทั้งหมด ประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จะเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรง ทำงานเป็นทีม เป็นการเตรียมความพร้อมและปรับตัวให้สามารถทำงานได้จริงเมื่อสำเร็จการศึกษา ภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษา
ศึกษาและปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการ เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 4 เดือน โดยได้รับการดูแล ให้คำแนะนำการปฏิบัติงานและประเมินผลงานจากพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ และอาจารย์นิเทศ มีการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ปัญหาและสร้างสรรค์งาน และนำเสนองาน This course emphasizes on the completion of internship of at least 4 month under supervision and assessment of mentors advisors; creating a problem-analysis report and presentation.
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.  มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น 2.  มีความพอเพียงมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
- ปฐมนิเทศนักศึกษาถึงระเบียบ วินัย คุณธรรม ที่พึงปฏิบัติ ก่อนการทำงาน - กำหนดตารางเวลาทำงาน บันทึกเวลาทำงาน กำหนดขอบเขตของงาน กำหนดวิธีการประเมินผลงาน           - มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร           - ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง
- นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเองด้านผ่านการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษา           - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกงาน จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง           - ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้อง พร้อมมีรายงานผลการฝึกงานประกอบ
1.  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
- สถานประกอบการที่ทำงาน จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำวิธีการทำงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง           - ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่เกี่ยวข้องที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง           - จัดประชุม แบ่งงาน ติดตามงาน ตามระยะเวลาที่กำหนด หรือตามความเหมาะสม
- ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น  พนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศ - ประเมินผลจากการทำงานร่วมกับผู้อื่น  - ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการส่งงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการส่งงาน
1.  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
- การมอบหมายโจทย์ปัญหา ให้ฝึกการค้นหาความต้องการ และวิเคราะห์ผลความต้องการ           - จัดทำรายงานผลวิเคราะห์ความต้องการ และนำเสนอ           - ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกงาน - ประชุมร่วมกันระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่ปรึกษา และนักศึกษาฝึกงาน สม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- ประเมินผลจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตามหัวข้อที่กำหนด โดยอ้างอิงทฤษฎีในวิชาที่เกี่ยวข้องและควรนำมาเป็นพื้นฐานในการทำงาน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
1.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
- สร้างกิจกรรมสันทนาการ ละลายพฤติกรรม เพื่อให้เกิดความรู้สึก สามัคคี พร้อมทำงานเป็นทีม           - มอบหมายงานที่ต้องทำงานร่วมกันเป็นทีม มีการแบ่งงานกันอย่างชัดเจน           - มอบหมายงานที่ต้องไปพูดคุย สัมภาษณ์ เพื่อให้ได้ข้อมูลเพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศ           - ประชุมร่วมกัน เพื่อมอบหมายงาน ติดตามงาน ประเมินผล
- ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม จากการสัมภาษณ์ผู้ร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง           - ประเมินจากข้อมูลที่ได้รับจากการที่นักศึกษาไปสัมภาษณ์           - ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน หรือผู้เกี่ยวข้อง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
1.  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
- มอบหมายงานที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ ทักษะการคำนวณ และใช้สถิติเพื่อนำเสนอข้อมูล           - มอบหมายงานที่ต้องมีการสื่อสารโดยใช้ภาษาไทยและต่างประเทศ ทั้งการพูด เขียน ในการประสานการทำงาน           - มอบหมายงานที่ต้องใช้เทคโนโลยี ในการแก้ปัญหา หรือนำเสนอผลงาน
- ประเมินจากเอกสาร ที่นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางคณิตศาสตร์ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นสื่อ           - ประเมินจากเอกสารที่เขียน เช่น E-Mail ที่ใช้สื่อสารเพื่อการทำงาน                    - ประเมินจากผลการแก้ปัญหา โดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
1.  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 3.  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
จัดทำรายงานปฏิบัติงาน และนำเสนอให้กับอาจารย์ พี่เลี้ยง ประเมินผลการทำงาน
  - ประเมินจากผลการปฏิบัติงานและรายงานโครงงานของนักศึกษาโดยเน้นความถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1,1.1.2,1.1.3,1.1.4 - ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยใช้เกณฑ์ตามข้อกำหนดของโครงการสหกิจศึกษา - อาจารย์ที่ปรึกษาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม สรุปผลการประเมิน และรายงานผลต่อคณะฯ 5
2 1.1.2,2.2.1,2.2.2,.3.3.1 ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และเมื่อเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร 10
3 1.1.1,1.1.2,2.1.1,2.2.2,3.1.1,4.1.1,5.1.1,6.1.1,6.1.3 ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบประเมิน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของนักศึกษา บันทึกผลการนิเทศ และรายงานการฝึกฯ ของพี่เลี้ยง 13,14
คู่มือสหกิจศึกษา คู่มืออาจารย์ที่ปรึกษา
การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ตำรา สืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
1.1 นักศึกษา           จัดให้นักศึกษาตอบแบบสอบถามการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม     1.2 พนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ           พนักงานพี่เลี้ยงบันทึกงานที่มอบหมาย และผลการฝึกฯในแบบฟอร์ม และสุ่มถามด้วยวาจา     1.3 อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม           อาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง บันทึกการให้คำปรึกษา ผลการดำเนินงานของนักศึกษาหลังให้คำปรึกษา ในแบบฟอร์มรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม การนำคำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาไปใช้ในการแก้ปัญหาของนักศึกษา
-          อาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ประมวลผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามของนักศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา จากพนักงานพี่เลี้ยง และจากอาจารย์ที่ปรึกษาเฉพาะเรื่อง รายงานต่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบ            - ประชุมหลักสูตร หรือสาขาวิชา เพื่อร่วมพิจารณานำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นำแสดงไว้ในรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร
ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามสาขาวิชา โดยการสำรวจสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิต
การฝึกประสบการณ์ในการทำงานของนักศึกษา ต้องมีการใช้ทักษะในวิชาชีพของตนเอง หรือความรู้ทางวิชาที่ตรงกับสาขาให้มากขึ้น สามารถนำไปพัฒนางานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง