ศิลปนิพนธ์

Art Thesis

1. เข้าใจกระบวนการถ่ายทอดแนวความคิดและคลี่คลายเป็นรูปแบบของงานศิลปะในลักษณะเฉพาะตน
2. รู้จักเลือกหาเทคนิควิธีการทางศิลปะให้เหมาะสมกับการแสดงออกทางผลงานศิลปะของตน
3. มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลที่มา เนื้อหาแนวคิด และสามารถใช้รูปแบบในการแสดงออกที่สามารถบรรลุผลในการปฏิบัติงานได้อย่างสร้างสรรค์
4. เห็นคุณค่าในการถ่ายทอดผลงานศิลปนิพนธ์ที่ดีสู่สาธารณะ
เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชาศิลปนิพนธ์สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการศึกษาและฝึกปฏิบัติเพื่อสร้างทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตน โดยการประยุกต์นำความรู้และใช้ความสามารถจากความเข้าใจในงานศิลปะและสิ่งแวดล้อมหรือประสบการณ์ของตนมาใช้ในการพัฒนาผลงาน
 
ปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานศิลปนิพนธ์โดยการค้นคว้า วิเคราะห์และพัฒนาทั้งแนวความคิด กระบวนการทำงานและการนำเสนอผลงาน ให้สอดคล้องสัมพันธ์กันโดยแสดงออกถึงผลงานศิลปะที่มีลักษณะเฉพาะตน ซึ่งประกอบด้วยผลงานและเอกสารประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน รวมถึงการจัดนิทรรศการผลงานศิลปนิพนธ์
The art thesis is the product of research, analysis and the development of concepts, process and presentation in order to create a unique artwork. The focus will be on creating single artwork, a written, presentation and an art exhibition.
1
ข้อ ๑ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ข้อ ๒ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ข้อ ๓ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งจรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชาเตรียมศิลปนิพนธ์ สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อทั้งตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลา ที่ได้รับมอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม เข้าร่วมในชั้นเรียนโดยร่วมกันแสดงทัศนคติของตนต่อผลงานต่างๆ รวมทั้งของตนเองและของนักศึกษาร่วมชั้นเรียน
 
ข้อ ๑ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ ข้อ ๓ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ข้อ ๔ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา
ใช้การเรียนการสอนโดยเน้นหลักการเรียนรู้ไปพร้อมกับการปฏิบัติงานจริงตามขั้นตอน ทั้งนี้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาศิลปนิพนธ์ ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาจากงานสร้างสรรค์ที่ดีที่มีอยู่แล้ว และให้นักศึกษารู้จักนำเสนอผลงานที่ได้ศึกษาค้นคว้ามาอภิปรายแลกเปลี่ยนในชั้นเรียน
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา
ในด้านต่าง ๆ คือ
๑. ประเมินจากเอกสารประกอบการสร้างสรรค์ผลงาน ที่นักศึกษาจัดทำ
๒. ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
๓. ประเมินจากการนำเสนอผลงานรายงานในชั้นเรียน
ข้อ ๑ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ ข้อ ๔ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
ใช้กรณีศึกษา การยกตัวอย่างประกอบ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การให้นำเสนองานโดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้กรณีศึกษา การยกตัวอย่างประกอบ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และสรุปข้อมูล การให้นำเสนองานโดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นในกลุ่ม การวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น และการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การทำงานร่วมกัน
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการปฏิบัติงาน การนำเสนองาน หรือผลงานกลุ่มในชั้นเรียน และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ กับเพื่อนร่วมชั้นเรียน
ข้อ ๑ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลโดยอ้างอิงแหล่งข้อมูล และที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ และการมอบหมายให้ทำรายงานอย่างเป็นระบบ
ประเมินจากการสืบค้นข้อมูลของนักศึกษา โดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นแหล่งที่มาที่เหมาะสมในการค้นหาข้อมูล ประเมินจากการอธิบาย และการนำเสนอ
ข้อ ๑ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ ข้อ ๒ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง ข้อ ๓ มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีการฝึก ทำตามใบงาน และการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ๑. คุณธรรม จริยธรรม ๒. ความรู้ ๓. ทักษะทางปัญญา ๔. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๕. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ๖. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา ข้อ ๑ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ข้อ ๒ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น ข้อ ๓ มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ ข้อ ๑ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง ข้อ ๒ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ ข้อ ๓ มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ข้อ ๔ มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา ข้อ ๑ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ ข้อ ๒ สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ ข้อ ๓ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ ข้อ ๔ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน ข้อ ๑ มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ข้อ ๒ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง ข้อ ๑ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๒ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ ๓ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม ข้อ ๑ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ ข้อ ๒ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง ข้อ ๓ มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA118 ศิลปนิพนธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม - ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติงานในชั้นเรียน ความรับผิดชอบในการส่งงานตามกำหนด และความรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างครบถ้วน 1-17 10%
2 ด้านความรู้ - ประเมินจากการปฏิบัติงาน และผลงานที่ได้ปฏิบัติการสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยการเรียน 3,6,7,8,13,15,16 25%
3 ด้านปัญญา - ประเมินจากผลงานแต่ละขั้นกระบวนการสร้างสรรค์ในแต่ละหน่วยเรียนและเอกสารประกอบการสร้างงานศิลปนิพนธ์ 3,6,14,15,16 10%
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในชั้นเรียน การนำเสนอผลงาน และประเมินจากความรับผิดชอบในการร่วมทำกิจกรรมต่างๆภายในกลุ่มหรือการทำหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในหมู่คณะ 1-8,10-16 10%
5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ -ประเมินจากการสืบค้นข้อมูล โดยการเลือกใช้สื่อเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศค้นคว้าที่มาที่เหมาะสมถูกต้องรวมไปถึงการเก็บข้อมูลต่างๆ โดยประเมินจากการอธิบาย และการนำเสนอเอกสารและผลงาน 1-8,10-16 10%
6 ด้านทักษะพิสัย - ประเมินจากการเลือกใช้วัสดุ การสร้างแบบภาพร่างความคิด ทักษะและเทคนิควิธีการต่างๆในการปฏิบัติงานโดยสามารถสร้างสรรค์งานในแต่ละหน่วยเรียนได้อย่างเหมาะสม สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้ จนเกิดผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดระยะเวลา 1-8,10-16 35%
หนังสือและข้อความจากสื่อต่างประเทศ หนังสือศิลปะไทยและศิลปะไทยร่วมสมัย สูจิบัตรการแสดงงานศิลปะต่างๆ
- ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ , 2553.
- วิบูลย์ ลี้สุวรรณ. ศิลปะวิชาการ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี. กรุงเทพฯ :มูลนิธิศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์, 2546.
- อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์ จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพฯ : อมรินทร์ , 2550.
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งานศิลปะและประวัติศาสตร์ศิลปะจากสื่ออินเตอร์เน็ต
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น Arts of asia , Fine arts, C art ,Art4D, National Geographic, Art book fair และหนังสือผลงานศิลปะของศิลปินในยุคต่างๆ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะและศิลปะร่วมสมัย
 
- แบบสอบถาม
- การสังเกตการณ์ และทีมผู้สอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
- การทำผลงานทางวิชาการ การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ
- การประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมสัมมนาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
กระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ของรายวิชา
- ทวนสอบจากคะแนนผลงาน หรืองานที่มอบหมาย จากการสุ่มตัวอย่างผลงานของนักศึกษา จากอาจารย์ต่างหลักสูตร
- ตั้งคณะกรรมการในสาขาตรวจสอบผลการประเมินและกระบวนการการให้คะแนน
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลสอบทวนมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4