เคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม

Chemistry for Environmental Engineers

1) รู้และเข้าใจหลักเบื้องต้นทางเคมีของน้ำ คุณลักษณะของน้ำ การใช้ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ทางเคมี
2) รู้จักและเข้าใจความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักการทางเคมีในการปรับปรุงคุณภาพน้ำ การบำบัดน้ำทิ้งและน้ำเสีย การเก็บรักษาตัวอย่างน้ำ
3) รู้จักและเข้าใจขบวนการทางเคมีที่สำคัญในงานบำบัดน้ำทิ้งและน้ำเสีย รู้และเข้าใจและฝึกการทดลองวิเคราะห์หาพารามิเตอร์ที่สำคัญของตัวอย่างน้ำ รู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตวิศวกรสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความรู้ที่สำคัญทางเคมีของน้ำ ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้สามารถนำไปใช้ในการเรียนวิชาที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการใช้จริงได้ต่อไป รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการทางเคมีที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงคุณภาพน้ำ และการบำบัดน้ำทิ้ง น้ำเสียลักษณะทางเคมีและกายภาพของน้ำ น้ำทิ้งและน้ำเสีย และการเก็บรักษาตัวอย่างน้ำ การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ดีโอ บีโอดี ซีโอดี ของแข็ง ไนโตรเจน เป็นต้น รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำและการนำข้อมูลวิเคราะห์ได้ไปใช้ในงานทางด้านวิศวกรสิ่งแวดล้อม
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในลักษณะงานกลุ่มและส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยการฝึกปฏิบัติ และค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน ให้นักศึกษานำผลการศึกษาและความรู้ที่ค้นคว้าได้มาแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนต่างกลุ่มและนำเสนอผลงานที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมหรือชุมชน
1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
1.3.4 การพิจารณาจากคุณภาพผลงานของนักศึกษาที่ส่งในเวลาที่กำหนด
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติตามเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และให้นักศึกษาหาความรู้จากเนื้อหาทางทฤษฎีในบทเรียนต่างๆ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการลงมือปฏิบัติจริงจากการทำ Lab ประกอบตามเนื้อหาที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 อภิปรายผล เพื่อสรุปความรู้ ที่ได้จาการทำแบบฝึกหัดและการลงมือปฏิบัติ
2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แผ่นใส Power point & Website ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 การทำแบบฝึกหัด
2.3.4 การทำรายงาน
2.3.5 การทดสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.2.1 กรณีศึกษาการประยุกต์เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม
3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม
3.2.3 เน้นให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง
3.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.3.3 การอภิปรายและตอบคำถาม
3.3.4 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.3.5 รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4.1.1 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 สามารถทางานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
4.2.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.3 มีภาวะผู้นา
4.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและสถานศึกษา
4.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
4.3.3 การพิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษา
5.1.1 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฎี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจากัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
6.1.1 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2 มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติตามเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEV102 เคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 และ 2.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 35% และ 35%
2 2.2, 2.3, 2.4, 3.4, 4.1, 4.3 และ 5.1 , การทำรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอรายงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2, 1.3 และ 3.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1 กลิ่นประทุม ปัญญาปิง, เอกสารประกอบการสอนวิชาเคมีสำหรับวิศวกรสิ่งแวดล้อม. 2555.
1.2 Sawyer, C.N., McCarty, P.L., and Parkin, G.F., Chemistry for Environmental Engineering. 4th ed., McGraw-Hill International Editions, 1994. 
1.3 Snoeyink, V.L., and Jenkins, D., Water Chemistry. John Wiley & Sons, Inc., 1980.
1.4 Benefield, L.D., Judkins, J.F., and Weand, B.L., Process Chemistry for Water and Wastewater Treatment. Prentice-Hall, Inc., Englewood Cliffs, New Jersey, 1982.
- ตัวอย่างรายงาน
- ตัวอย่างงานที่มอบหมายของนักศึกษารุ่นก่อน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อแนะนำผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์ พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนจาการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนและ งานที่มอบหมาย รวมทั้งความคิดเห็นของผู้เรียน
2.2 ผลการเรียนและการทำงานของนักศึกษา ทั้งกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบการเรียนรู้ และกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
3.2 ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ง่าย และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันจากกิจกรรมกลุ่มและงานที่ มอบหมายให้ฝึกปฏิบัติในและนอกห้องเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 จากผลการตรวจงานที่มอบหมาย และคะแนนที่ได้จากการทำงาน การสอบ
4.2 แนะนำเทคนิควิธีการที่มีการใช้จริง และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้งติดตาม ตรวจสอบความก้าวหน้าในการทำงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดจนแจ้งผลการเรียนการสอบทุกครั้ง
จากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ทบทวนเนื้อหาของบทเรียนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
5.2 ปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามกรณีศึกษาที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ
5.3 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้สามารถตอบสนองความสามารถของผู้เรียน
5.4 ปรับปรุงรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาวิศวกรในการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อม