การจัดการของเสียอันตราย

Hazardous Waste Management

1.1 รู้และเห็นความสำคัญของลักษณะของเสียอันตราย
      กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งประเภทและระบบของเสียอันตราย
1.2 รู้และเข้าใจพิษวิทยาพื้นฐาน
1.3 รู้และเห็นคุณค่าของหลักการจัดการทั่วไปของของเสียอันตราย
1.4 รู้และเข้าใจกระบวนการบำบัดของเสียอันตรายที่ปนเปื้อนในดิน          ตะกอนดิน และกากตะกอน เช่น กระบวนการปรับเสถียรและ
        การทำให้แข็งตัว การบำบัดทางชีวภาพ และการบำบัดด้วย
        ความร้อนที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
1.5 รู้และเข้าใจกระบวนการบำบัดของเสียอันตรายที่ปนเปื้อนในน้ำ
  น้ำใต้ดิน และน้ำชะ ได้แก่ การบำบัดทางกายภาพและเคมี ชีวภาพ    และการบำบัดไอเสีย ซึ่งนิยมใช้กันมากในปัจจุบัน
1.6 รู้และเข้าใจเกณฑ์การเลือกสถานที่ และวิธีทำลายแบบฝังกลบ
1.7 รู้และเข้าใจการเก็บรักษาและขนส่งของเสียอันตราย
 
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้สอดคล้องกับการผลิตบัณฑิตวิศวกรสิ่งแวดล้อม โดยเน้นความรู้ที่สำคัญ เกี่ยวกับชนิดและลักษณะของเสียอันตราย วิธีการบำบัดและจัดเก็บ รวมทั้งการกำจัดขั้นสุดท้าย เพื่อให้เป็นความรู้ในการนำไปขยายผลเพื่อการใช้ในงานที่เกี่ยวข้องต่อไป รวมทั้งสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุติระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาเกี่ยวกับชนิดและลักษณะของเสียอันตราย กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และหลักการจัดการทั่วไป พิษวิทยา
กระบวนการบำบัดของเสียอันตรายที่สำคัญ เช่น การปรับเสถียรและการทำให้แข็งตัว เป็นต้น รวมทั้งการทำลาย ฝังกลบ และการเก็บรักษา
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ
อย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 

     
ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในลักษณะงานกลุ่มและส่งภายในเวลาที่กำหนด โดยการฝึกปฏิบัติ และค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ และมีการอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่มีการคัดลอกหรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตน ให้นักศึกษานำผลการศึกษาและความรู้ที่ค้นคว้าได้มาแลกเปลี่ยนกันกับเพื่อนต่างกลุ่มและนำเสนอผลงานที่ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อสังคมหรือชุมชน
-มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
     
1.3.1 การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
1.3.2 การสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.3 การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนดทุกครั้ง
1.3.4 การพิจารณาจากคุณภาพผลงานของนักศึกษาที่ส่งในเวลาที่กำหนด
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฏีและปฏิบัติใน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการของเสียอันตราย
 
2.2.1 บรรยายแบบ Active learning และให้นักศึกษาหาความรู้จากเนื้อหาทางทฤษฎีในบทเรียนต่างๆ และประยุกต์ใช้ความรู้ในการลงมือปฏิบัติจริงจากกรณีตัวอย่างที่ศึกษา ประกอบตามเนื้อหาที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 อภิปรายผล เพื่อสรุปความรู้ ที่ได้จาการทำแบบฝึกหัดและการลงมือปฏิบัติ
2.2.3 ให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากสื่อประกอบการสอน เช่น แผ่นใส Power point & Website ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
2.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
2.3.3 การทำแบบฝึกหัด
2.3.4 การทำรายงาน
2.3.5 การทดสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการที่เกี่ยวข้องกับประเภทโครงการพัฒนาต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกการใช้สมองและแสดงความรู้ ความเข้าใจทั้งรายบุคคลและกลุ่มย่อย
3.2.2 ให้นักศึกษาอภิปรายข้อบกพร่องและฝึกแก้ไขข้อผิดพลาดที่พบในงานที่ได้จัดทำ
3.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอผลงานกลุ่มของแต่ละกลุ่ม
3.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.3.3 การอภิปรายและตอบคำถาม
3.3.4 การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.3.5 รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
รู้จักบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ และวางตัวได้เหมาะสมกับงานที่รับผิดชอบ
4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่เหมาะสมกับงานที่เกี่ยวข้อง
4.2.2 จัดกิจกรรมในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษามีส่วนร่วมในกิจกรรมดังกล่าว
4.2.3 ทำรายงานจากกรณีศึกษาจริงเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองเพิ่มมากขึ้น
4.3.1 การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียนและสถานศึกษา
4.3.2 การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย
4.3.3 การพิจารณาจากพฤติกรรมของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.3 2.2.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 และ 17 35% และ 35%
2 2.2.3, 4.3 2.3.2.3, 2.4 4.3 3.4, 4.3 การทำรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การนำเสนอรายงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2 3.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กลิ่นประทุม ปัญญาปิง. เอกสารคำสอนวิชาการจัดการของเสียอันตราย. 2560. Text book ที่เกี่ยวข้อง
1. กรมโรงงานอุตสาหกรรม. www.diw.go.th/
2. กระทรวงมหาดไทย . http://www.moi.go.th/
3. กระทรวงสาธารณสุข . www.moph.go.th/
4. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ . www.moac.go.th/
5. กระทรวงกลาโหม . www.mod.go.th/
6. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี . www.most.go.th/
7. กระทรวงคมนาคม . www.mot.go.th/
8. กระทรวงพาณิชย์ . www.moc.go.th/
9. กระทรวงพลังงาน . www.energy.go.th/
10. การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย . www.ieat.go.th/
 - ตัวอย่างงานที่มอบหมายของนักศึกษารุ่นก่อน ๆ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อแนะนำผ่านการให้คำปรึกษานอกชั้นเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์ พฤติกรรมการเรียนของผู้เรียนจาการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียนและ งานที่มอบหมาย รวมทั้งความคิดเห็นของผู้เรียน
2.2 ผลการเรียนและการทำงานของนักศึกษา ทั้งกลางภาคและปลายภาค
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหา รูปแบบการเรียนรู้ และกิจกรรมให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
3.2 ใช้เทคนิคการเรียนการสอนที่ง่าย และสรุปผลการเรียนรู้ร่วมกันจากกิจกรรมกลุ่มและงานที่ มอบหมายให้ฝึกปฏิบัติในและนอกห้องเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 จากผลการตรวจงานที่มอบหมาย และคะแนนที่ได้จากการทำงาน การสอบ
4.2 แนะนำเทคนิควิธีการที่มีการใช้จริง และการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจ รวมทั้งติดตาม
ตรวจสอบความก้าวหน้าในการทำงานของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดจนแจ้ง
ผลการเรียนการสอบทุกครั้ง
จากผลการประเมินผลสัมฤทธิ์และประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ทบทวนเนื้อหาของบทเรียนให้มีความเหมาะสมกับผู้เรียน
5.2 ปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามกรณีศึกษาที่น่าสนใจซึ่งเกิดขึ้นใหม่ ๆ
5.3 ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรม ให้สามารถตอบสนองความสามารถของผู้เรียน
5.4 ปรับปรุงรายวิชาให้สอดคล้องกับสภาวิศวกรในการสอบใบประกอบวิชาชีพวิศวกรสิ่งแวดล้อม