การเขียนเอกสารประกอบศิลปนิพนธ์

Writing for Art Thesis

           1.1 ศึกษาหลักการและวิธีการเขียนเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์
           1.2 ศึกษาเรียบเรียงขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างเป็นระบบ
           1.3 ศึกษาหลักการอ้างอิงเอกสารข้อมูลต่าง ๆ อย่างถูกต้องและมีจรรยาบรรณทางวิชาการ
           1.4 ศึกษาวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ได้ โดยใช้ภาษาเชิงวิชาการทางศิลปะ
  เอกสารประกอบการสอนฉบับนี้ เป็นเอกสารการเตรียมและวางแผนการสอนรายวิชา การเขียนเอกสารประกอบศิลปนิพนธ์ ใช้สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาวิชาทัศนศิลป์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ การศึกษาหลักการและวิธีการเขียนเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ เรียบเรียงขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นระบบ จรรยาบรรณการอ้างอิงเอกสารข้อมูลต่าง ๆ อย่างถูกต้องและสามารถวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ได้ โดยใช้ภาษาเชิงวิชาการทางศิลปะ
          ศึกษาหลักการและวิธีการเขียนเอกสารประกอบผลงานศิลปนิพนธ์ เรียบเรียงขั้นตอนในการสร้างสรรค์ผลงานอย่างเป็นระบบ จรรยาบรรณการอ้างอิงเอกสารข้อมูลต่างๆ อย่างถูกต้องและสามารถวิเคราะห์ผลงานสร้างสรรค์ได้ โดยใช้ภาษาเชิงวิชาการทางศิลปะ
    อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการและนักศึกษาที่มีปัญหา)
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

1.1.1  ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2  มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.1.3  มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
                   สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม      
           จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา  สอนให้มีระเบียบ
           วินัย  ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
        ประเมินจากการตรวจสอบแผนการสอนในเรื่องของคุณธรรม จริยธรรม ในทุกวิชา  ประเมิน
จากผลการดำเนินงานตามแผนการสอน และ ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
           2.1.1   รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
           2.1.2   มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็น
                     ระบบ
           2.1.3   มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
           2.1.4    มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม  
                     ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา        
              ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ใน  
      การปฎิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา 
      ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดย
      การศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
      ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
2.3.1  การทดสอบย่อย
2.3.2  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2.3.3  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
2.3.4  ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2.3.5  ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
2.3.6  ประเมินจากแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ
2.3.7  ประเมินจากการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 
           3.1.1  สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
           3.1.2  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
           3.1.3  สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
           3.1.4  มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
          ใช้กรณีศึกษาการจัดทำโครงงานหรือการจัดทำศิลปนิพนธ์การมอบหมายงานให้นักศึกษา
  สืบค้นข้อมูลวิเคราะห์สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองานโดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม
  ร่วมแสดงความคิดเห็น
         ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1.1  มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2  มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
         สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงาน
หรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ตาม  การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิด
เห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็น และการวิพากษ์วิจารณ์
งานของผู้อื่น
        ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการนำเสนองาน และผลงานกลุ่มในชั้นเรียน
และประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ 
5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.1   สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไปตลอดจนใช้วิธีการ
          สื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือ
          การนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3   มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับ
          งานศิลปกรรม
          จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง
และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการ
ประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล 
โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล   การนำเสนอที่เหมาะสมกับสภาพของผู้สื่อสาร 
          ประเมินจากความถูกต้องในการใช้ข้อมูลและตัวเลข  การเลือกใช้เครื่องมือทาง
เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม ประเมินจากการอธิบาย การนำเสนอ
      6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย           
           6.1.1  มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
           6.1.2  มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
           6.1.3  มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
                    ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงาน
            และศิลปนิพนธ์  สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                    ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 3 1 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFAVA116 การเขียนเอกสารประกอบศิลปนิพนธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรมจริยธรรม ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม ความสนใจ การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ การมีส่วนร่วม มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1-8 และ 10-16 15%
2 ด้านความรู้ ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามแผนการดำเนินงานศิลปนิพนธ์ที่นำเสนอ ผลลัพธ์ด้านความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 9,18 20%, 20%
3 ด้านทักษะทางปัญญา ประเมินผลจากสภาพจริงของงานที่มอบหมายที่ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล การรวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน และยังสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 1-8 และ 10-16 30%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ไม่มีการประเมินในหัวข้อนี้
5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ ประเมินจากความถูกต้องในการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงาน และประเมินจากการอธิบายการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1-8 และ 10-16 15%
6 ด้านทักษะพิสัย ไม่มีการประเมินในหัวข้อนี้
              ชาญณรงค์  พรรุ่งโรจน์. (2548). การวิจัยทางศิลปะ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์,
              ไพทูรย์  เวทการ. (2540). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  ลำปาง : โรงพิมพ์ช่างแดง,
                ข้อมูลดาวน์โหลดไฟล์ : การเขียนเนื้อหาสาระทางวิชาการจาก การสร้างสรรค์ศิลปะวิชาการ
                                          สร้างสรรค์ศิลปะ-วิจัย การวิจัยศิลปะโดย ศาสตราจารย์ปรีชา เถาทอง
โครงการสร้างสรรค์เชิงวิชาการ พิมพ์จากป่าสงวน (Print from Paa Sa-nguan)ผู้สร้างสรรค์  
   วิชาการ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ญาณวิทย์ กุญแจทอง คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ 
   มหาวิทยาลัยศิลปากร
                โครงการวิจัยการสร้างสรรค์ศิลปกรรมกระจก เพื่อนุรักษ์วัฒนธรรมมรดกชุมชนท้องถิ่น
    (The Creation of a Gkass Mosaic Mural for Preserving LocalCommunity Culture.)
    ผู้สร้างสรรค์วิชาการ : รองศาสตราจารย์อัศวิณีย์ หวานจริง คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของทีมอาจารย์ผู้สอน
2.2   อภิปรายของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียนท้ายชั่วโมง
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่
       ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดย
        ตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้