เทคโนโลยีระบบฝังตัว

Embedded System Technology

เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของระบบฝังตัว วิวัฒนาการพัฒนาของโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์  หน่วยความจำ  อินพุต  เอาต์พุต และอุปกรณ์รอบข้าง การเขียนโปรแกรมภาษาแบบฝังตัวในการควบคุมอุปกรณ์     
พัฒนารายวิชาเพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการประกันคุณภาพการศึกษาและพัฒนาผู้เรียน
ให้ครบทั้งด้านคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความ
รับผิดชอบ ทักษะการใช้งานเทคโนโลยีระบบฝังตัว รวมทั้งการประยุกต์ใช้ในรายวิชา
ศึกษาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมของระบบฝังตัว วิวัฒนาการพัฒนาของโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอนโทรลเลอร์  หน่วยความจำ  อินพุต  เอาต์พุต และอุปกรณ์รอบข้าง ฝึกปฏิบัติการเขียนโปรแกรมภาษาแบบฝังตัวในการควบคุมอุปกรณ์ อินเตอร์รัพต์  และเรียนรู้การประยุกต์ใช้งานระบบฝังตัว   
       - อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา
       - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1ชั่วโมง/สัปดาห์
          (เฉพาะรายที่ต้องการ)
      1)  ตระหนักถึงคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรมในวิชาชีพ  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ          
ตรงต่อเวลา รู้จักกาลเทศะและมีระเบียบวินัย
      2)  เห็นคุณค่าของการเรียนรู้  อดทนขยันหมั่นเพียรและมีความกระตือรือร้นในการแสวงหาความรู้
      3)  มีความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี  รับฝังความคิดเห็นผู้อื่นในการทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไข               ข้อขัดแย้ง ปฏิบัติตนตามกฏระเบียบของหน่วยงานและสังคม
      1)  บรรยายพร้อมยกตัวอย่าง ประเด็นคุณธรรมและจริยธรรมที่เกี่ยวกับวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ เข้าเรียนและส่งงานตรงเวลา รู้จักกาลเทศะและมีระเบียบวินัย
      2)  บรรยายให้เห็นคุณค่าของการเรียนรู้ ยกตัวอย่างความขยันหมั่นเพียรและผลของการกระทำ
      3)  กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและอภิปรายกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น 
      1)  สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกจากการเรียนในชั้นเรียน การเข้าเรียน การส่งงาน การแสดงพฤติกรรมต่ออาจารย์และผู้อื่น
      2)  สังเกตจากพฤติกรรมการเรียน ความขยันหมั่นเพียร
      3)  ประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การรับฝังความคิดเห็นจากผู้อื่น
              มีความรู้ในเรื่องกลุ่มของไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลต่าง ๆ  หน่วยความจําแบบเก็บโปรแกรมหรือคําสั่งและข้อมูล  รีจีสเตอร์และการอ้างแอดเดรส ภาษาแอสแซมบลี้ การออกแบบซอฟต์แวร์และการเชื่อมโยงกับภายนอก การขยายไมโครคอนโทรลเลอร์ การประยุกต์ ใช้งานไมโครคอนโทรเลอร์ในระบบควบคุมทั้งแบบ 8 และ 16 บิท ปฏิบัติและสร้างชิ้นงานเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ศึกษา
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อมูลเพิ่มเติม การสอนโดยการฝึกปฏิบัติจริงกับอุปกรณ์และเครื่องมือ เกี่ยวกับไมโครคอนโทรลเลอร์    การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าจากหนังสือ ตำรา บทความและทางอินเตอร์เน็ต
      1)  ประเมินผลจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
      2)  ประเมินจากการปฏิบัติตามกิจกรรมที่จัดให้ ตามใบงาน
      3)  ประเมินจากชิ้นงานเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่นักศึกษาสร้าง
     1)  พัฒนาการคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณ
     2)  สามารถคิดวิเคราะห์  สังเคราะห์และประเมินค่า
     3)  เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาและหาวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
     4)  พัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
     5)  พัฒนาองค์ความรู้เพื่อออกแบบนวัตกรรมหรือกระบวนการทำงานที่เหมาะสม
      1)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยกระบวนการคิดเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ด้วยเหตุผล  และมีวิจารณญาณ ประเมินค่า เช่น อภิปรายกลุ่ม  ฝึกแก้ปัญหาเป็นกลุ่ม  จัดสถานการณ์จำลองให้ผู้เรียนฝึกตัดสินใจ เป็นต้น
      2)  จัดการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติ  แนวทางและวิธีการแก้ไขปัญหา
      3)  จัดองค์ความรู้ การเรียนรู้ การออกแบบและสร้างนวัตกรรมหรือสร้างกระบวนการทำงาน
      1)  ประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมทางปัญญาของผู้เรียนตั้งแต่  ขั้นสังเกตุตั้งคำถาม สืบค้น คิดวิเคราะห์  สังเคราะห์และประเมินค่า
      2)  ประเมินด้วยการตรวจผลการปฏิบัติ ผลการแก้ไขปัญหา ผลจากการสอบถามวิธีการแก้ไขปัญหา
      3)  ประเมินด้วยผลงานการสร้างนวัตกรรม  ผลการสร้างกระบวนการทำงาน การสัมภาษณ์
      1)  พัฒนาการทำงานเป็นทีมและสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
      2)  พัฒนาทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
      3)  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
      4)  สามารถปรับตัวในการทำงานและการดำรงชีวิตร่วมกับบุคคลอื่นได้
      5)  สามารถวางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ
      6)  ตระหนักถึงความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น ในการปฏิบัติงาน
        1) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีมหรือร่วมกับผู้อื่น เพื่อฝึกความรับผิดชอบ  ทักษะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีมีทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์ปรับตัวและยอมรับความแตกต่างของคนในสังคม เพื่อให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จ
        2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ปรับตัว และวางตัวให้เหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน เช่น  ทำงานกลุ่ม การแสดงบทบาทสมมุติร่วมกัน เป็นต้น
        3) จัดกิจกรรมการเรียนรู้แสดงถึงความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
        1)  สังเกตการร่วมกิจกรรม ทำงานเป็นทีม ของผู้เรียน
        2)  สอบถามเพื่นร่วมทีมเพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ  สำหรับให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองและประเมินเพื่อน
        3)  ตรวจสอบขณะปฏิบัติงาน ความปลอดภัยในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติ
     1)  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารและการสืบค้นข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ                   
     2)  พัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข เชิงปริมาณ หลักสถิติ สำหรับการแก้ไขปัญหา
     3)  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารทั้งการฟัง  การพูด  การเขียน การอ่านและตีความ โดยจัดทำเป็นรายงานและนำเสนอในชั้นเรียนเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ
      1)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนพัฒนาด้านการสื่อสาร และการใช้สารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
      2)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลข เชิงปริมาณ การใช้ค่าสถิติ สำหรับการแก้ไขปัญหา พร้อมยกตัวอย่างการ
      3)  กำหนดให้นักศึกษานำเสนอผลงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม ให้เพื่อนร่วมห้องสอบถาม แลกเปลี่ยนความรู้
      1)  ประเมินผลจากการให้ผู้เรียนนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลที่ได้
      2)  ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการใช้สถิติในการแก้ไขปัญหา
      3)  สังเกตมการนำเสนอผลงานโดยใช้ เครื่องมือ เทคโนโลยี เพื่อนร่วมห้องแลกเปลี่ยนความรู้
1.   การวัดผล
ค้นคว้ารายงาน               20   %
สอบย่อย                        10   %
สอบกลางภาค                20   %
จิตพิสัย                           20   %
สอบปลายภาค                30   %
รวม                                  100  %
2.  การประเมินผลการเรียน
การตัดสินผลการเรียนโดยวิธี  อิงเกณฑ์
คะแนนระหว่าง        80 - 100         ได้ระดับ A
คะแนนระหว่าง        75 - 80            ได้ระดับ B+
คะแนนระหว่าง        70 - 74            ได้ระดับ B
คะแนนระหว่าง         65 - 69           ได้ระดับ C+
คะแนนระหว่าง         60 - 64           ได้ระดับ C
คะแนนระหว่าง         55 - 59           ได้ระดับ D+
คะแนนระหว่าง         50 - 54           ได้ระดับ D
คะแนนระหว่าง           0 - 49           ได้ระดับ F
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม 1) สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกจากการเรียนในชั้นเรียน การเข้าเรียน การส่งงาน การแสดงพฤติกรรมต่ออาจารย์และผู้อื่น 2) สังเกตจากพฤติกรรมการเรียน ความขยันหมั่นเพียร 3) ประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม การแสดงความคิดเห็น การรับฝังความคิดเห็นจากผู้อื่น ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
2 ความรู้ 1) ประเมินผลจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค 2) ประเมินจากการปฏิบัติตามกิจกรรมที่จัดให้ ตามใบงาน 3) ประเมินจากชิ้นงานเกี่ยวข้องกับรายวิชาที่นักศึกษาสร้าง ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 30
3 ทักษะทางปัญญา 1) ประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมทางปัญญาของผู้เรียนตั้งแต่ ขั้นสังเกตุตั้งคำถาม สืบค้น คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินค่า 2) ประเมินด้วยการตรวจผลการปฏิบัติ ผลการแก้ไขปัญหา ผลจากการสอบถามวิธีการแก้ไขปัญหา 3) ประเมินด้วยผลงานการสร้างนวัตกรรม ผลการสร้างกระบวนการทำงาน การสัมภาษณ์ ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 30
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 1) สังเกตการร่วมกิจกรรม ทำงานเป็นทีม ของผู้เรียน 2) สอบถามเพื่อนร่วมทีมเพื่อวัดความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สำหรับให้ผู้เรียนประเมินผลตนเองและประเมินเพื่อน 3) ตรวจสอบขณะปฏิบัติงาน ความปลอดภัยในการปฏิบัติของผู้ปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 10
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี 1) ประเมินผลจากการให้ผู้เรียนนำเสนอผลการสืบค้นข้อมูลที่ได้ 2) ให้ผู้เรียนนำเสนอผลการใช้สถิติในการแก้ไขปัญหา 3) สังเกตมการนำเสนอผลงานโดยใช้ เครื่องมือ เทคโนโลยี เพื่อนร่วมห้องแลกเปลี่ยนความรู้ ทุกสัปดาห์ ร้อยละ 20
ณัฏฐพล  วงศ์สุนทรชัยและชัวัฒน์   ลิ้มพรจิตรวิไล. 2547. ปฏิบัติการไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC16F87x.
            บริษัท อินโนเวตีฟ เอ็กเพอริเมนต์  จำกัด .กรุงเทพฯ.
ศิริวรรณ   ฉันทนาดิศัย.2534. หลักการเขียนโปรแกรมภาษาแอสแซมบลี 8088. สาขาศาสตร์คอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ทีมงานสมาร์ทเลอร์น์นิ่ง. 2552. เรียนรู้ไมโครคอนโทรลเลอร์ MCS 51 ด้วยภาษาC.
            ห้างหุ่นส่วนสามัญสมาร์ทเลิร์นนิ่ง .กรุงเทพฯ.
ทีมงานสมาร์ทเลอร์น์นิ่ง. 2553. Advance PIC  Microcontroller in C ประยุกต์ใช้งาน PIC ขั้นสูงด้วยภาษา C.
            ห้างหุ่นส่วนสามัญสมาร์ทเลิร์นนิ่ง .กรุงเทพฯ.
วิทยา  สุคตบวร. 2553. ไมโครโปรเซสเซอร์  ตระกูล Intel ปฏิบัติการบนไมโครคอมพิวเตอร์.
            ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ น.ส.พ
ธีรวัฒน์  ประกอบผล. 2551. ไมโครโปรเซสเซอร์ –Microprocessor .
ยืน  ภู่วรวรรณ.  2539 . สถาปัตยกรรมไมโครโปรเซสเซอร์ .ซีเอ็ดยูเคชั่น. กรุงเพฯ
บัณฑิต  จามรภูติ . 2539. ทฤษฎีไมโครโปรเซสเซอร์ . ซีเอ็ด. กรุงเทพ.
ยืน  ภู่วรวรรณและวัฒนา  เชียงกูล. 2538. ไมโครโปรเซสเซอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์ Z-80 Microprocessor .
              ซีเอ็ดยูเคชั่น.กรุงเทพฯ .
ไพรัช  ธัชยพงษ์. 2540. ทฤษฎีและการใช้งาน ไมโครโปรเซสเซอร์และไมโครคอมพิวเตอร์ .
               สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง . กรุงเทพ.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
ทำการการประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร จากการสังเกตการสอนและทำการสัมภาษณ์นักศึกษา  ผลการสอบของนักศึกษา
            1)  สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา แล้วจัดทำรายงานรายวิชาตามรายละเอียดที่  สกอ.กำหนดทุกภาคการศึกษา
             2)  สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน  การวิจัยในชั้นเรียน และมอบหมายให้อาจารย์ผู้สอนรายวิชาที่มีปัญหา ทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา
             3)  มีการประชุมอาจารย์ผู้สอนของหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
1)  หลักสูตรมีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ประเมินการสอน การทบทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา ภายในรอบเวลาของหลักสูตร 
             2)  จัดการสอบประมวลผลความรู้นักศึกษาก่อนจบการศึกษา
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจาก  ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของหลักสูตร  การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน
   ภายหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป