การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

International Business Management

1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในพื้นฐานการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนให้ธุรกิจขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ กระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้นในองค์การระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาและการควบคุม โดยศึกษารายละเอียดต่างๆ ที่อยู่ในกระบวนการดังกล่าว
3. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ถึงผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม
4. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจถึง หน้าที่ต่างๆในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ได้แก่ การจัดการเชิงกลยุทธ การลงทุนระหว่างประเทศ การออกแบบองค์การ ระบบการเงิน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ การตลาด การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศ การควบคุม การจัดการเพื่อประสิทธิภาพและการแข่งขันระดับโลก
5. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมโลก
เพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ เข้าใจถึงลักษณะและองค์ประกอบเบื้องต้นของระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ของโลก และสามารถดำเนินการตามหน้าที่ทางธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันบนพื้นฐานของจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคม
ศึกษาพื้นฐานการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศทั้งปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนให้ธุรกิจขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ  ศึกษากระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้นในองค์การระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นวิธีการในการลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชาและการควบคุม  โดยศึกษารายละเอียดต่างๆ  ที่อยู่ในกระบวนการดังกล่าว รวมถึงหน้าที่ทางธุรกิจอื่นๆ  และศึกษาถึงผลกระทบในรูปแบบต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม  นอกจากนี้ยังพิจารณากลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ  ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติ
การให้คำปรึกษาทางด้านวิชาการในวิชาดังกล่าว จะให้คำปรึกษาเป็นรายกลุ่ม / รายบุคคล โดย
(พิจารณาจากจำนวนนักศึกษา) 6 ชั่วโมง/สัปดาห์
(1) ใช้ดุลยพินิจ ค่านิยม ความมีเหตุผล และกฎเกณฑ์ทางสังคม
(2) มีวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ สุจริต เสียสละ
(3) สามารถทำงานเป็นทีม รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์         
(1) กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
(2) นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
(3) มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบ หรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น
(4) อาจารย์ผู้สอนสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการสอน 
(1) ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม
(2) ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
(3) ประเมินจากการกระทำทุจริตในการสอบ
(4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย        
นักศึกษาจะมีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ 
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และเน้นหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ทางการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงโดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่องตลอดจนฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ   
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงาน/โครงงาน/งานวิจัยที่นักศึกษาจัดทำ
(4) ประเมินจากแผนธุรกิจหรือโครงการที่นำเสนอ
(5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(1) สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลหรือสารสนเทศ  เพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ปัญหา
(2) ใช้ทักษะทางวิชาการอย่างถ่องแท้ในการคิดค้น วิเคราะห์และตัดสินใจเลือกทางเลือกใหม่         
(1) การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และจากการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลอง/กรณีศึกษา เพื่อฝึกกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ตั้งแต่เริ่มเข้าศึกษา โดยเริ่มต้นจากปัญหาที่ง่ายและเพิ่มระดับความยากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้ต้องจัดให้เหมาะสมและสอดคล้องกับรายวิชา
(2) การประยุกต์ใช้ทฤษฏีในการอธิบายสถานการณ์หรือสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจในเนื้อหาวิชา
(3) การจัดกิจกรรมหรือการอภิปรายกลุ่มให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการคิดวิเคราะห์แลกเปลี่ยนความคิดเห็น
(4) การจัดเวทีสัมมนาวิชาการ โดยการเชิญผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมาถ่ายทอดประสบการณ์การทำงานให้นักศึกษาได้เห็นรูปแบบการทำธุรกิจจริง       
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ เป็นต้น       
(1) ทำกิจกรรมกลุ่มเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
(2) มีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
(3) มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม      
จัดกิจกรรมการเรียนการสนอในรายวิชา โดยให้นักศึกษาเรียนรู้แบบร่วมมือกันปฏิบัติงาน ฝึกการทำงานเป็นทีม ตลอดจนมีการสอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม การมีมนุษยสัมพันธ์ การเข้าใจในวัฒนธรรมองค์กรในรายวิชาต่างๆ         
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรม และการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ         
มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการรวบรวมข้อมูลและนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างสม่ำเสมอ
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง/กรณีศึกษา และนำเสนอรายงานการแก้ปัญหาที่เหมาะสมในชั้นเรียน
(1) มีการประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
(2) มีการประเมินจากความสามารถในการอธิบายความ และการอภิปรายกรณีศึกษาที่มีการนำ เสนอต่อชั้นเรียน         
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 1.2 1.3 1.4 - การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย - การตรงต่อเวลา การเคารพสิทธิของผู้อื่น - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3 สอบปลายภาค 7 40%
3 1.2, 1.4, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3 - วิเคราะห์กรณีศึกษา (งานกลุ่ม) - รายงานและการนำเสนอ (งานกลุ่ม) ตลอดภาคการศึกษา 50%
มานิตย์   มัลลวงค์. 2558.  การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ.  เชียงใหม่ :  ชำนาญการพิมพ์.
สมชนก (คุ้มพันธุ์)  ภาสกรจรัส.  2556.  หลักการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แมคกรอ-ฮิล.
สุจินดา  โพธิ์ไพฑูรย์.  2558.  บรรษัทข้ามชาติ : การจัดการธุรกิจ  ระหว่างประเทศพร้อมรับ  AEC. กรุงเทพฯ : บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
Charles W. L. Hill, G. Tomas M. Hult. 2016. Global Business Today.  Singapore: McGraw Hill Education.
Mike W. Peng.  2011.  Global Business. Canada: Nelson Education, Ltd.
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา  ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การเข้าไปมีส่วนร่วมในการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาและทีมผู้ร่วมสอน การนำผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษามาประเมินการสอน คือ ผลการเรียนของนักศึกษา
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน วิจัยในชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนนจาการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จะมีการปรับปรุงรายวิชาทุกภาคการศึกษา  หรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จะมีการจัดการเรียนการสอนโดยการ เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน (Share Vision) ในแต่ละภาคการศึกษา เพื่อให้นักศึกษาได้มีมุมมองทางการบริหารที่หลากหลายมากขึ้น