สัมมนาการบัญชี

Seminar in Accounting

เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชี เพื่อให้นักศึกษาสามารถประมวลความเข้าใจ และการเชื่อมโยงประเด็นทางการบัญชีด้านต่าง ๆ กับ เหตุการณ์ทางธุรกิจได้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า นำเสนอ ข้อมูลในรูปแบบการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาท คุณค่าแห่งวิชาชีพบัญชีต่อสังคม เพื่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 
เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ แนวคิด หลักการ การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชี เพื่อเสริมสร้างทักษะการนำเสนอในรูปแบบการเขียนและวาจา เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อสังคม
ศึกษาค้นคว้า อภิปราย และวิเคราะห์ประเด็นปัจจุบันเกี่ยวกับการบัญชีที่น่าสนใจรวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหา และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศเพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
2 ชั่วโมงต่อโครงงาน
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพจรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 1.2 มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม 1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม 1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย

สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางการวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปรายการ สาธิต การใช้สถานการณ์จำลองการสอนแบบเน้นกรณีปัญหาการถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน การเรียนรู้จากสถานการณ์จริงจากการฝึกงานในองค์กรการธุรกิจหรืออุสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การและค้นคว้า และการนำเสนอการ ประเมินจากการสอบข้อเขียนและการสอบปฏิบัติ การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริงหรือการฝึกงานในองค์กรธุรกิจ การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุ และวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
· ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
· จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญ าความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
· สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
· ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
· ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
· ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้ารายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4.1 สามารถปฎิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4.4 มีความรับผิดชอบ พัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูแบบอิเล็กทรอนิกส์
· ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิศาสตร์
· ประเมินผลจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย และนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม

ประเมินจากการสอบข้อเขียน ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ ทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา • สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน • ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ ประกอบด้วย การบรรยายและอภิปรายการ สาธิต การใช้สถานการณ์จำลองการสอนแบบเน้นกรณีปัญหาการถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงาน การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง • ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง • จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญ าความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา • สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น • ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้นตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง • จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญ าความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา • สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น • ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน • ประเมินการเป็นผู้นำ และผู้ตามที่ดีจาก • แบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม • ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน • มอบหมายที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข • มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ • ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน • มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูแบบอิเล็กทรอนิกส์
1 BACAC150 สัมมนาการบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 3.1, 3.2  การสอบปลายภาค ประมวลความเข้าใจของนักศึกษาต่อผลกระทบของงานบัญชีด้านต่าง ๆ ต่อกรณีศึกษาทางธุรกิจ 17 35%
2 1.1, 1.3, 4.1  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาตามข้อตกลงในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และการส่งงานตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.1, 2.2, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.4, 5.2  ประเมินผลงาน กรณีศึกษาและการนำเสนอรายงานสังเกตพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1, 2.2, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.4, 5.2  ประเมินผลงานการจัดสัมมนา 12-13 15%
5 2.1, 2.2, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.4, 5.2  ประเมินผลจากโครงงาน 15-16 30%
-
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
หนังสือเกี่ยวกับการบริหารต้นทุน
หนังสือเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี
หนังสือเกี่ยวกับ ภาษีอากร
หนังสือเกี่ยวกับ การสอบบัญชี
ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมายป ระกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทาง การเงิน การตีความ และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพ สามารถสืบค้นได้จากเว็บไซต์ ดังต่อไปนี้
สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กรมสรรพากร
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ใช้แบบประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอบ ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
นำผลคะแนนของนักศึกษา และผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน และหัวน้าหลักสูตร เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
นำผลการประเมินการสอน และข้อแนะนำของนักศึกษาจากผลการประเมินตามแบบของมหาวิทยาลัย และข้อแนะนำจากคณะกรรมการมาพิจารณาปรับปรุงวิธีการสอน
นำผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษามาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาจุดที่นักศึกษาขาดทักษะมาปรับปรุงการสอนโดยเน้นในเรื่องดังกล่าว
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาสอบ ทวนความตรงประเด็นของข้อสอบ ซึ่งการทวนสอบดังกล่าว ดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
ผลการประเมิน ตามข้อ 1,3 และ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาเกี่ยวกับผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา และมาตรฐานของข้อสอบ