ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ

English for Professional

1.1 สามารถเลือกใช้คำศัพท์และสำนวนภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์ 1.2 สามารถพูดและเขียนอธิบาย เพื่อแสดงความคิดเห็นตามสถานการณ์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพได้ 1.3 สามารถประยุกต์ ทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพในบริบทต่างๆได้ 1.4 สามารถใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษในบริบทภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพได้
เพื่อพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหาของรายวิชาให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของรายวิชา และสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจองค์ประกอบต่าง ๆ เกี่ยวกับการนำทักษะการฟัง พูด อ่านเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางภาษาอังกฤษเพื่อผู้ประกอบวิชาชีพ สำหรับการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามมาตรฐานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ตัวอย่างการปรับปรุงและพัฒนา
การศึกษาคำศัพท์ สำนวน โครงสร้างภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานอาชีพและฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารในสาขาวิชาชีพ รวมถึงการนำเสนอโครงงาน
Study  English vocabulary, expression, and structure used in profession; practice English, listening, speaking, reading and writing for communication in a professional context and giving project presentation
3.1 อาจารย์ให้คำปรึกษาผ่านระบบการสื่อสารออนไลน์ Online ผ่านช่องทาง https://education.rmutl.ac.th/, MS Team และ Face book
3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(เฉพาะนักศึกษารายที่ต้องการ)
มีการส่งเสริมพัฒนาให้ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรม มีวินัย และความรับผิดชอบ มีน้ำใจ มีจิตอาสา สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อสังคม และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยผู้สอนต้องพยายามชี้ให้เห็นคุณธรรมและจริยธรรมที่สอดแทรกอยู่ในเนื้อหาวิชา เพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาและบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมกับความรู้ในรายวิชา โดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
(1( ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรมจริยธรรมเกี่ยวกับความเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต
(2( ความมีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
(3( มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
(4( เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(5( เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.2.1 บรรยายบทเรียนพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.2.2 ให้นักศึกษาฝึกการฟัง พูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษและการนำเสนอ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นประเด็นต่างๆ การใช้คำ เทคนิคต่างๆ ตลอดจนฝึกความรับผิดชอบ คุณธรรมจริยธรรม
1.2.3 มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษางานภาษาอังกฤษเชิงวิชาการประเภทต่าง ๆ แล้วนำมาเสนอในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และอาจารย์ผู้สอน
1.2.4 เน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน โดยให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
1.2.5 กระตุ้น ชักจูงให้นิสิตเข้าเรียนสม่ำเสมอ มีระเบียบวินัย และมีความกล้าหาญในการแสดงออก และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.3.1 ประเมินผลพฤติกรรมการเข้าเรียน การให้ความร่วมมือในชั้นเรียน และส่งงานมอบหมายให้ตรงเวลา
1.3.2 ประเมินผลก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อทราบพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
1.3.3 ประเมินผลระหว่างภาคเรียน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์การเรียน
1.3.4 ประเมินผลด้วยการใช้แบบฝึกหัดในบทเรียน
1.3.5 ประเมินวัตถุประสงค์การเรียนโดยใช้ใบงาน (Work Sheet)
1.3.6 ประเมินผลจากงานแปลที่ได้รับมอบหมายและจริยธรรม การรับผิดชอบต่อตนเองในงานที่มอบหมาย
1.3.7 ระเมินผลปลายภาคเรียน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนในภาพรวม
นักศึกษาจะได้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบทภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนได้ฝึกวิเคราะห์ สาเหตุข้อผิดพลาดต่างๆ รวมทั้งวิธีแก้ไขและปรับปรุงบทการนำเสนอผลงานทางวิชาการได้ ประกอบด้วย
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางการประกอบวิชาชีพ
2.1.2 สามารถวิเคราะห์สาเหตุ และหรือข้อผิดพลาดในการการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด
การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางการประกอบวิชาชีพ
2.1.3 สามารถวิเคราะห์วิธีปรับปรุงแก้ไขการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางการประกอบวิชาชีพ
2.1.4 มีทักษะในการการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบทสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
2.1.5 มีเจตคติที่ดีในการการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบทสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
2.1.6 มีความรู้ความเข้าใจและมีความสามารถในการใช้กระบวนการทางภาษาในการการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบทสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างประกอบใช้สื่อประกอบ และเทคโนโลยีประกอบ มอบหมายงาน ใบงานทดสอบวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ใช้แบบฝึกหัดเกี่ยวกับบทเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในชั้นเรียน การเปิดโอกาสให้ชักถามภายในชั้นเรียน และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์ (Student Center) ดังนี้
2.2.1 ให้นักศึกษาฝึกการฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางวิชาการพร้อมทั้งชี้ให้เห็นประเด็น การใช้คำศัพท์ สำนวน โครงสร้างทางภาษา เทคนิคต่างๆ ตลอดจนความรับผิดชอบ และคุณธรรม จริยธรรมที่ปรากฏในเนื้อหาการเรียนการสอนได้
2.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบททางวิชาการประเภทต่าง ๆ แล้วนำมาเสนอในชั้นเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนักศึกษาด้วยกัน และอาจารย์ผู้สอน
2.2.3 เน้นนิสิตเป็นศูนย์กลางการเรียน โดยให้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นในบทเรียน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในชั้นเรียน
2.2.4 กระตุ้น ชักจูงให้นิสิตเข้าเรียนสม่ำเสมอ มีระเบียบวินัย และมีความกล้าหาญในการแสดงออก และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
2.3.1 ประเมินผลพฤติกรรมการเข้าเรียน การให้ความร่วมมือในชั้นเรียน และส่งงานมอบหมายให้ตรงเวลา
2.3.2 ประเมินผลก่อนเข้าสู่บทเรียนเพื่อทราบพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชา
2.3.3 ประเมินผลระหว่างภาคเรียน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์ของวัตถุประสงค์การเรียน
2.3.4 ประเมินผลด้วยการใช้แบบฝึกหัดในบทเรียน
2.3.5 ประเมินวัตถุประสงค์การเรียนโดยใช้ใบงาน (Work Sheet)
2.3.6 ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมายและจริยธรรม การรับผิดชอบต่อตนเองในงานที่รับ
มอบหมาย
2.3.7 ประเมินผลปลายภาคเรียน เพื่อทดสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนในภาพรวม
2.3.8 ประเมินจากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.3.9 ประเมินจากการแก้ไขข้อบกพร่องส่วนตัว (Personal Problems Solving)
พัฒนาความสามารถของนักศึกษา ในการนำทฤษฏี การฝึกปฏิบัติทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียนภาษาอังกฤษ และการนำเสนองานในบริบทสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ และในการสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์ ทำความเข้าใจ และนำไปประยุกต์ใช้ได้ อย่างเป็นระบบ ความสามารถในการนำเอาความรู้ไประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาตามสถานการณ์อย่างเหมาะสม มีความรู้ความเข้าใจในแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และกระบวนการมาใช้ในการคิดวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ใหม่ๆ ที่ไม่คาดคิดมาก่อน สามารถสืบค้น ค้นหา ข้อเท็จจริง สรุป ทำความเข้าใจได้ รวมถึงการวิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหา และสรุปประเด็นปัญหา พร้อมทั้งสามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาเข้ากับเทคโนโลยีที่ทันสมัยได้
3.2.1 บรรยายพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบเนื้อหาวิชา
3.2.2 บรรยายเชิงวิเคราะห์ให้เห็นความสัมพันธ์และบูรณาการของเนื้อหาวิชา
3.2.3 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น และแก้ไขข้อผิดพลาดเป็นรายบุคคล
3.2.4 เปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง แล้วนำมาแลกเปลี่ยนภายในชั้นเรียน
ทดสอบระหว่างภาคและปลายภาค โดยเน้นการวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ และการบูรณาการเนื้อหาวิชา ตลอดจนการใช้การชักถาม สัมภาษณ์ ทดสอบด้วยใบงานและแบบฝึกหัด
 
4.1.1 พัฒนาทักษะให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และวิชาชีพ
4.1.2 พัฒนาทักษะให้มีมนุษยสัมพันธ์ รู้จักจัดการอารมณ์ และยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล
4.1.3 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.4. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
4.1.5 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.6 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง ความมีวินัย ความรับผิดชอบในการทำงานเป็นทีม และ
ความตรงต่อเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ในการเรียนรู้
4.2.2 จัดกลุ่มการเรียนรู้
4.2.3 ฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.1 ประเมินตนเองด้วยแบบที่กำหนด
4.3.2 ประเมินผลพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3 ประเมินผลจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชา
5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับเนื้อหารายวิชา
5.1.4 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานและการศึกษางานวรรณกรรมด้านการภาษาเชิงวิชาการเปรียบเทียบจากสื่อออนไลน์
5.1.5 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอนต่างๆ
5.2.2 นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน ใบงาน แบบฝึกหัด และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทดฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดต่อความก้าวหน้า ใฝ่รู้ ทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะในการปฏิบัติจขากการประยุกต์ความรู้และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผูัตาม 4.3 สมารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาสม 5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขเทคโนโลยีแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1 GEBLC104 ภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
หนังสือภาษาอังกฤษเพื่อการงาน และ การเข้าสังคม Workplace and Social Occasions 
กัญญารัตน์ จิราสวัสดิ์ แปล
ผศ. ดร. สาลี่ เกี่ยวการค้า บรรณาธิการ
Website ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการงาน อาชีพต่างๆ
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 การประเมินประสิทธิผลวัตถุประสงค์รายวิชา
1.3 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.4 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
1.5 ข้อเสนอแนะผ่านการประเมินในระบบออนไลน์ของทางมหาวิทยาลัย
 
2.1 ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.2 การสังเกตการสอนจากอาจารย์ภายในหลังสูตรฯ
2.3 ผลการสอบ
2.4 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ ได้นำผลการประเมินไปปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 แจ้งผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาให้ผู้สอนทราบเพื่อนำไปปรับปรุงการสอน
3.2 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.3 การวิจัยที่บูรณาการสอนในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากใบงาน แบบฝึกหัด การสอบถามนักศึกษา การตรวจงานมอบหมายของนักศึกษา และพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ ใบงาน รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก ๓ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
- จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนและระดมสมองพัฒนากระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น