การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
Object-Oriented Analysis and Design
เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
เพื่อให้นักศึกษารู้จักการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมด้วยแนวคิดเชิงวัตถุด้วย หลักการของคลาส ออปเจ็ค เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมด้วยแนวคิดเชิงวัตถุ หลักการของลำดับขั้นของคลาส การถ่ายทอดคุณสมบัติ และการมีหลายรูปของโปรแกรม
เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์และออกแบบโปรแกรมเชิงวัตถุ เพื่อที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต่อไปในอนาคต รวมถึงเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ และฝึกให้เป็นคนที่มีทักษะในการคิดอย่างมีระบบและมีเหตุผล โดยมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาวิชาให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน
ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ หลักการพัฒนาระบบงานแบบอินครีเมนท์ หลักการใช้ภาษาทางภาพเพื่อการออกแบบ UML ขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบโดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานเชิงวัตถุ การสร้างแบบจำลองเกี่ยวกับความต้องการ การใช้เทคนิคยูสเคส การคิดและการวิเคราะห์เชิงนามธรรม การสร้างแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ แนวคิดการค้นหาวัตถุ แนวทางการออกแบบเชิงวัตถุ การออกแบบคลาส การออกแบบความสัมพันธ์ระหว่างคลาสกับวัตถุ ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วยวิธีใช้เคสทูล แนวคิดเกี่ยวกับการทดสอบโปรแกรมตามข้อกำหนดของยูสเคส
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 6. ทักษะปฏิบัติ | การเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามเวลาที่กำหนด | 1-15 | 10% |
2 | 2. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ | การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน และการทำแบบฝึกหัด | 1-15 | 10% |
3 | 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะปฏิบัติ | การทดสอบย่อย ภาคทฤษฎี การทดสอบย่อย ภาคปฏิบัติ | 3-7 | 10% |
4 | 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา | การสอบกลางภาค | 8 | 20% |
5 | 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ | การทดสอบย่อย ภาคทฤษฎี การทดสอบย่อย ภาคปฏิบัติ นำเสนอ กรณีศึกษา | 10-13 | 20% |
6 | 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ | การสอบปลายภาค | 10-17 | 30% |
1.1 กิตติ ภักดีวัฒนกุลม, กิตติพงษ์ กลมกล่อม, UML-การวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ, กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์เคทีพี, 2544. 321 หน้า.
1.2 ธีรวัฒน์ ประกอบผล, สุนทริน วงศ์ศิริกุล. การพัฒนาโมเดลสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย UML 2.0. ซัคเซส พับลิชชิ่ง บจก, 2552.
1.3 อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์. การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ. กรุงเทพฯ : เคทีพี สนพ, 2554.
1.2 ธีรวัฒน์ ประกอบผล, สุนทริน วงศ์ศิริกุล. การพัฒนาโมเดลสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุด้วย UML 2.0. ซัคเซส พับลิชชิ่ง บจก, 2552.
1.3 อัษฎาพร ทรัพย์สมบูรณ์. การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ. กรุงเทพฯ : เคทีพี สนพ, 2554.
3.1 เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในรายวิชา