ฝึกงานทางวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Job Internship in Food Science and Technology

เพื่อให้นักศึกษาได้บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารมาใช้ในการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เพิ่มเติมประสบการณ์ทางด้านวิชาการ  วิชาชีพและการพัฒนาตนเองแก่นักศึกษาในรูปแบบที่มี คุณค่าเหนือกว่าการฝึกงาน เปิดโอกาสให้สถานประกอบการ /องค์กรผู้ใช้บัณฑิตทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพบัณฑิต เกิดการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอนที่ทันสมัยได้มาตรฐานและตรงกับความต้องการของ      ตลาดแรงงานมากยิ่งขึ้น
เพื่อให้บรรลุุวัตถุประสงค์ของรายวิชา   มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล  สอดคล้องกับวิชาสหกิจศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาและนโยบายของมหาวิทยาลัย
ฝึกปฏิบัติงานการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร หรือหน่วยงานเอกชนและราชการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร  ภายในหรือต่างประเทศโดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงานมีการจัดทำรายงานการฝึกงาน การนำเสนอและให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนางาน
1
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา

มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ (TQF-Food 1.1) แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต (TQF-Food 1.2) มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (TQF-Food 1.3) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (TQF-Food 1.4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น (TQF-Food 1.5)

 
1.2 กลยุทธ์การสอนที่่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม 

การอบรมก่อนการฝึกงานให้นักศึกษาทราบถึงแนวการปฏิบัติตนในระหว่างการฝึกงาน ในเรื่องของการปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในระดับต่าง ๆ ของสถานประกอบการ การปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ ขอความร่วมมือกับสถานที่ฝึกงานให้กำหนดตารางเวลาฝึกประสบการณ์ภาคสนาม กำหนดขอบเขตของงาน วิธีการประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบ และมอบหมายงานและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการ เช่นเดียวกับพนักงานขององค์กร มีสมุดคู่มือการฝึกงาน ที่สามารถบันทึกผลการปฏิบัติงานในแต่ละวัน ประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง 

 
 
1.3 วิธีประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม

นักศึกษาประเมินการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานที่วัดคุณธรรม จริยธรรม ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง หรือพนักงานควบคุมการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม โดยมีการบันทึกผลการประเมิน และมีหลักฐานแจ้งให้นักศึกษาทราบด้วยทุกครั้ง ประเมินความซื่อสัตย์จากการพูดคุย สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน และผู้เกี่ยวข้องพร้อมมีรายงานผลการฝึกประสบการณ์ภาคสนามประกอบ
2.1 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ที่คาดหวัง

มีความรู้/ความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีการผลิต การควบคุมคุณภาพ หรือระบบประกันคุณภาพ หรือการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามที่ได้รับการฝึกประสบการณ์ โดยสามารถวิเคราะห์ปัญหา และประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการอาหารที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา (TQF-Food 2.1) มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน   วิทยาศาสตร์พื้นฐาน   วิศวกรรมพื้นฐาน   และการบริหารจัดการ และสามารถบูรณาการเพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านเทคโนโลยีการอาหารที่เกี่ยวข้อง (TQF-Food 2.2)

 
 
2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้

สถานประกอบการที่ฝึกประสบการณ์ภาคสนาม จัดพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ บอกถึงแหล่งข้อมูลเพื่อให้นักศึกษาได้ค้นคว้าข้อมูลเพื่อการทำงานได้ด้วยตนเอง ใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ ที่มีในหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติงานจริงภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง พนักงานพี่เลี้ยงมอบหมายให้นักศึกษาได้ทำงานวิจัยเพื่อหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือพัฒนากระบวนการการผลิตให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

 
 
2.3 วิธีการประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้

ประเมินจากผลการปฏิบัติงาน โดยผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงานพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ ประเมินผลจากการตรงต่อเวลาในการทำงาน และความสมบูรณ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย โดยกำหนดแบบฟอร์มบันทึกการสั่งงาน การนำเสนอผลการฝึกงานของนักศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เกณฑ์ประเมินมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา - พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมิน โดยมีแบบสอบถามประเด็นต่าง ๆ ที่กำหนดข้างต้น ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด - อาจารย์เป็นผู้ประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน สรุปผลการประเมิน และรายงานผลการฝึกงาน 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา - ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และเมื่อเสร็จสิ้น การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร - ประเมินจากการสอบถามนักศึกษาที่เข้าฝึกงาน 4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบประเมิน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของนักศึกษา และรายงานของพี่เลี้ยง 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง คณะประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อตรวจสอบทำความเข้าใจในประเด็นการประเมินที่มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและพิจารณาหาข้อสรุป 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เกณฑ์ประเมินมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา - พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมิน โดยมีแบบสอบถามประเด็นต่าง ๆ ที่กำหนดข้างต้น ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด - อาจารย์เป็นผู้ประเมินหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน สรุปผลการประเมิน และรายงานผลการฝึกงาน 3. ความรับผิดชอบของพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา - ประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้งระหว่างฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และเมื่อเสร็จสิ้น การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบฟอร์มการประเมินของหลักสูตร - ประเมินจากการสอบถามนักศึกษาที่เข้าฝึกงาน 4. ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกประสบการณ์ภาคสนามต่อการประเมินนักศึกษา ประเมินผลนักศึกษาหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ตามแบบประเมิน โดยพิจารณาจากรายงานผลการประเมินตนเองของนักศึกษา และรายงานของพี่เลี้ยง 5. การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง คณะประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อตรวจสอบทำความเข้าใจในประเด็นการประเมินที่มีผลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญและพิจารณาหาข้อสรุป 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เกณฑ์ประเมินมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา - พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมิน โดยมีแบบสอบถามประเด็นต่าง ๆ ที่กำหนดข้างต้น ตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด - 1. หลักเกณฑ์การประเมิน ประเมินนักศึกษา ทั้ง 5 ด้าน โดยใช้เกณฑ์ประเมินมาตรฐานของมหาวิทยาลัย 2. กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา - พนักงานพี่เลี้ยงเป็นผู้ประเมิน โดยมีแบบสอบถามประเด็นต่า