คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล

Computer Graphic for Digital Print Media

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจ สามารถปฏิบัติงานออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล เช่น งานสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณา งานสิ่งพิมพ์บรรจุภัณฑ์ งานสื่อสิ่งพิมพ์ออนไลน์ เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีในปัจจุบัน เครื่องมือ และโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล โดยสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ 
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีในปัจจุบัน เครื่องมือ และโปรแกรมที่เหมาะสมในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
3. เพื่อพัฒนาความรู้ในรายวิชาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีทางด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อ
ฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัลประเภทต่างๆ ให้เหมาะสมกับการพิมพ์
- อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามความเหมาะสม  
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้คำปรึกษาทาง Social Network
 
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 
1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 
1.1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 
1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย
1.2.1 สอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการสอนให้แก่นักศึกษา 
1.2.2 ปลูกฝังจรรยาบรรณทางวิชาชีพ 
1.2.3 เน้นเรื่องระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน แต่งกายและการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย 
1.2.4 ให้ความสำคัญด้านการตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด 
1.2.5 จัดแบ่งกลุ่มปฏิบัติงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการแสดงออกทางความคิด ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม ตลอดจนการทำงานร่วมกับผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตามกำหนดเวลาที่มอบหมาย 
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยในการเข้าร่วมกิจกรรม 
1.3.3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ รวมทั้งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนด 
1.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติตามกฎระเบียบของข้อบังคับต่าง ๆ อาทิเช่น การเข้าสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ สามารถใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ และโปรแกรมในการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ได้ 
2.1.2 สามารถนำความรู้ หลักการ และทฤษฎีต่าง ๆ มาบูรณาการร่วมกับความรู้ด้านเทคโนโลยีมาใช้ในการออกแบบและควบคุมคุณภาพงานให้ได้ตามมาตรฐาน
2.2.1 บรรยายเนื้อหาในภาคทฤษฎีร่วมกับสื่อนำเสนอ PowerPoint และเอกสารประกอบการอธิบาย 
2.2.2 ภาคปฏิบัติสอนการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อออกแบบและตรวจสอบงานให้ได้ตามมาตรฐาน 
2.2.3 กำหนดกิจกรรมในชั้นเรียนโดยจัดแบ่งกลุ่มนักศึกษา ฝึกปฏิบัติร่วมกัน จัดทำชิ้นงานพร้อมรายงานอธิบายขั้นตอนการปฏิบัติงาน 
2.2.4 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้านการออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ ตัวอย่างสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท มาวิเคราะห์และทำการออกแบบ รวมทั้งนำเสนอข้อมูลที่ได้หน้าชั้นเรียน
2.3.1 ในส่วนความรู้จากภาคทฤษฎีได้ทำการประเมินจากการสอบกลางภาค การสอบปลาย ด้วยข้อสอบที่เน้นความเข้าใจเนื้อหาด้านหลักการและทฤษฏี 
2.3.2 ในส่วนความรู้จากภาคปฏิบัติได้ทำการประเมินจากการสอบภาคปฏิบัติ 2 ครั้ง โดยจัดการสอบก่อนการสอบกลางภาคและปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นความเข้าใจในการออกแบบงานให้ถูกต้องและมีความเหมาะสม 
2.3.3 ประเมินผลจากชิ้นงานและการปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์ ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม 
2.3.4 ประเมินจากการค้นคว้าข้อมูล การทำรายงาน และการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติจริง โดยแบ่งกลุ่มปฏิบัติตามหัวข้องานที่กำหนดทำการวิเคราะห์อภิปรายผล และจัดทำรายงาน รวมทั้งนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์
3.3.1 ประเมินผลจากรายงานในการปฏิบัติงานกลุ่ม และการนำเสนอที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียน 
3.3.2 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมได้อย่างเหมาะสม 
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
4.1.4 สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยเหลือสังคมได้เหมาะสม
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการฝึกปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนด วิเคราะห์และอภิปรายผล 
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล 
4.2.3 การนำเสนองานหลังจากฝึกปฏิบัติให้สอดคล้องกับทฤษฎีที่ได้ศึกษา
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษา ในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
4.3.2 ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษาและประยุกต์ ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือด้วยตนเอง และนำเสนอหน้าชั้นเรียน 
5.2.2 การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1 ประเมินจากการนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี 
5.3.2 ประเมินจากการอภิปรายผล และวิธีอภิปราย
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบ และปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 
6.1.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 มอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ ตามหัวข้องานที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละสัปดาห์ 6.2.2 กำหนดงานโปรเจคให้นักศึกษาออกแบบ และปฏิบัติ ตามรายละเอียดที่นำเสนอ
6.3.1 ประเมินผลจากผลงานที่ได้จากการฝึกปฏิบัติในแต่ละสัปดาห์ 6.3.2 ประเมินผลจากการนำเสนองานโปรเจคหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BAADP102 คอมพิวเตอร์กราฟิกเพื่อสื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1, 5.1 - สอบกลางภาค - สอบภาคปฏิบัติ 1, 2 - สอบปลายภาค 9, 8, 14, 18 15%, 10%, 15%
2 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1, 6.1 - การปฏิบัติงานเดี่ยว - การปฏิบัติงานกลุ่ม ( การวิเคราะห์และอภิปรายผล การนำเสนอหน้าชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมายในแต่ละสัปดาห์ และการจัดทำ รายงานตามหัวข้อที่กำหนดได้ครบถ้วน ถูกต้อง ตรงตามเวลา ที่กำหนด ) ตลอดภาคการศึกษา 30%, 20%
3 1.1, 2.1, 3.1, 4.1, 5.1 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้องตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
สุภาวดี และคณะ. เอกสารการสอนชุดวิชา การออกแบบทางการพิมพ์ หน่วยที่ 8-15 
        “หน่วยที่ 13 การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545, หน้า 338-397 
อารยะ ศรีกัลยาณบุตร. เอกสารการสอนชุดวิชา การออกแบบทางการพิมพ์ หน่วยที่ 8-15 
       “หน่วยที่ 11 การออกแบบสิ่งพิมพ์โฆษณา. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2545, หน้า 220-278 
David Sherwin. Creative Workshop: 80 Challenges to Sharpen Your Design Skills Paperback. 
Clincinnati : Ohio , 2010 
Ellen Lupton. Graphic Design Thinking: Beyond Brainstoming. 
Princeton Architectural Press : New York. , 2011 
R. Klanten, A. Sinofzik. Introducing: Visual Identities for Small
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับการออกแบบทางการพิมพ์ 
www.creativebloq.com www.packagingoftheworld.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านระบบ Social Network ที่ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ดังนี้ 
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองและแนวคิดใหม่ ๆ ในการประยุกต์ความรู้ที่ได้ศึกษากับระบบการทำงานจริง ที่มีการพัฒนาและปรับเปลี่ยนรูปแบบให้เหมาะสมกับความต้องการกับผู้ใช้มากยิ่งขึ้น