โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ

Information Technology Project

   1.1 เพื่อให้นักศึกษานำความรู้ที่ได้เรียนมาวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาโครงงานที่เป็นลักษณะ รูปธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   1.2 เพื่อให้นักศึกษา ศึกษา ค้นคว้า และพัฒนาระบบงานตามหัวข้อที่ตนเองสนใจและมีความถนัด ซึ่งเป็นการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   1.3 เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ถึงระเบียบวิธีในการนำเสนอความรู้ต่อที่ประชุมได้อย่างชัดเจน สามารถ นำผู้ฟังให้ติดตามเนื้อหาสาระได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมเวลาที่ใช้ในการบรรยายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งสามารถ ตอบข้อซักถามได้อย่างมีหลักเกณฑ์เป็นที่น่าเชื่อถือ
    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความสามารถพื้นฐาน ในการจัดทำโครงงานและการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนสามารถเขียนรายงานของโครงงาน ฯ ฉบับสมบูรณ์อย่างเป็นทางการได้  
ปฏิบัติการโครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การนำเสนอโครงงาน การศึกษาความเป็นไปได้ ทรัพย์สินทางปัญญา ค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ออกแบบ พัฒนาโปรแกรม และทดสอบ รวมทั้งจัดทำรายงานและนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ การวัดผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา เป็น S และ U
- อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเฟซบุ๊คของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
- อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานของนักศึกษาแต่ละคน ให้คำปรึกษาและแนะนำความรู้ทางวิชาการต่างๆ แก่
   นักศึกษา (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม (1.2)

1.1.2 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม (1.5)
มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (1.7)
สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมในระหว่างการพูดคุยซักถามปัญหา และให้คำปรึกษา นักศึกษาต้องมีความซื่อสัตย์ไม่กระทำการทุจริตโดยคัดลอกผลงานของผู้อื่น

3. เน้นเรื่องการตรงต่อเวลา ทั้งเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา การส่งเอกสาร และการเข้าสอบนำเสนอผลงาน ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
4. เน้นให้รู้จักการทำงานเป็นทีม มีการแบ่งงานความรับผิดชอบกัน
1.3.1  การสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมชั้นเรียน และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย
1.3.2   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินตนเองจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 
            2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการเเละทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชา เทคโนโลยีสารสนเทศ  (2.1)
             2.1.2 สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้ง ประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญูหา (2.2)
             2.1.3 รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง (2.5)
             2.1.6 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้จริง (2.7)
             2.1.8 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์ อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (2.8)
2.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สืบเสาะหาความรู้ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและเชื่อถือได้
              2.2.2 มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนและผู้สอน ตลอดจนอาจารย์ที่ปรึกษา
   2.2.3 กำหนดให้มีการจัดทำรายงานของโครงการ โดยมีเนื้อหาเรื่องการวิเคราะห์และออกแบบโครงงานที่จัดทำขึ้น ตลอดจนผลการดำเนินงานของโครงงาน
2.3.1   สอบความก้าวหน้าและสอบจบของโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ   จากคณะกรรมการที่คณะฯ แต่งตั้ง
2.3.2   ประเมินจากการนำเสนอความก้าวหน้าของโครงงาน ตัวชิ้นงาน และรูปเล่มรายงานของโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศฉบับสมบูรณ์
3.1.1  สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่าง สร้างสรรค์ (3.2)
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ (3.3)
           3.2.1   มอบหมายให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า สืบค้นข้อมูล วิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อสรุปเป็นความรู้ใหม่ เพื่อนำมาจัดทำเป็นรายงานฉบับสมบูรณ์และนำเสนอ
            3.2.2   กำหนดให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้างานทางวิชาการจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายและเชื่อถือได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้
3.2.3   นำเสนอผลการวิเคราะห์และออกแบบ ตลอดจนการจัดทำโครงงานฯ ที่ทำต่อคณะกรรมการสอบที่ได้รับการแต่งตั้ง
3.3.1   สอบความก้าวหน้าและสอบจบโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ   จากคณะกรรมการที่คณะฯ แต่งตั้ง
3.3.2   ประเมินผลจากการนำเสนอต่อคณะกรรมการ และรายงานฉบับสมบูรณ์ของโครงงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ  
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาและตอบคำถามระหว่างการนำเสนอ
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ
ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ (4.1)
4.1.2 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน (4.2)
4.1.3 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม หรือสามารถบริหารระบบสารสนเทศในองค์กร (4.3)
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม  (4.5)
4.2.1  ส่งเสริมให้มีการถาม-ตอบคำถามหลังการนำเสนออย่างอิสระ
4.2.2  ส่งเสริมให้รู้จักการทำงานเป็นทีมและมีการแบ่งงานความรับผิดชอบกัน
4.2.3  นำเสนอความก้าวหน้าของโครงงานตามความรับผิดชอบที่ได้รับหรือมอบหมาย
4.3.1  การสังเกตพฤติกรรมขณะนำเสนองานในด้านการวางตน
4.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 
5.1.1 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือ การแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ (5.2)
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม  (5.3)
5.2.1  มอบหมายให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูล จากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
5.2.2   กำหนดให้ต้องแสดงแหล่งอ้างอิงหรือแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2   นำเสนอโดยใช้ภาษาและเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยและเหมาะสม
5.3.1   การตรวจผลงาน การอ้าอิงแหล่งข้อมูล
5.3.2   การประเมินการนำเสนองานในด้านความเหมาะสมของภาษาและเทคโนโลยีที่ใช้
5.3.3   การประเมินตนเองและการประเมินซึ่งกันและกัน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4..ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 2 5 1 7 1 2 5 7 8 2 3 1 2 3 5 4 2 3 4
1 BSCCT904 โครงงานทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.1, 1.1.7, 2.1, 3.1 สอบความก้าวหน้าของโครงงาน สอบจบโครงงาน 8 15 30% 40%
2 1.1.1,1.1.6, 1.1.7,2.1, 3.1,4.1.1 – 4.1.3,5.1.1-5.1.6 รูปเล่มปริญญานิพนธ์ ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1.1 – 1.1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ, คู่มือการพิมพ์รูปเล่มปริญญานิพนธ์, 2552
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ