เทคโนโลยีการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงาน

Industrial Energy Crops Production Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้าน
1.1 เพื่อให้รู้ความสำคัญและการใช้ประโยชน์ของพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงาน
1.2 เพื่อให้รู้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและศึกษาขบวนการทางสรีรวิทยาการเจริญเติบโตของพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานแต่ละชนิด
1.3 เพื่อให้เข้าใจการปฏิบัติและดูแลรักษาของพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานแต่ละชนิด เข้าใจปัญหาและสามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในการผลิตพืช
1.4 เพื่อให้รู้วิธีการเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานแต่ละชนิดที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้พืชเสื่อมคุณภาพ
1.5 เพื่อให้เข้าใจขั้นตอนในการแปรรูปผลผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานแต่ละชนิด
1.6 เพื่อให้เข้าใจสภาวการณ์ตลาดและการจำหน่ายพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานแต่ละชนิด
ปรับปรุงเนื้อหาเกี่ยวกับข้อมูลสถิติการเกษตร และเทคโนโลยีในการผลิตและแปรรูปพืชไร่อาหารแต่ละชนิด ให้เป็นปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและการใช้ประโยชน์  สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและสรีรวิทยาการเจริญเติบโต เทคโนโลยีการปลูกและดูแลรักษา    การเก็บเกี่ยวและการจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว  การแปรรูปผลผลิต   สภาวการณ์ตลาดและการจำหน่ายของพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงานที่สำคัญ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน  ฯลฯ
5
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา  ความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
1. ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
2. ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
3 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
1. ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง 2.การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
4. การศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
3. ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
4. ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. กรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
2. การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
3. ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
1. ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
2. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
5.2  มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
1. ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
2. ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
3. การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
6.1 สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง
6.2 สามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
6.3 สามารถปฏิบัติงานได้โดยอัตโนมัติเป็นธรรมชาติ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทักษะการปฏิบัติในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ
1. ประสิทธิภาพในทักษะการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
2. ความสามารถในการตัดสินใจแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
3. ความสำเร็จและคุณภาพของผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1 2 3
1 BSCAG144 เทคโนโลยีการผลิตพืชไร่อุตสาหกรรมพลังงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,3.1 - 3.3,5.2,6.1-6.3 2.1,3.1 - 3.3,5.2,6.1-6.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 35% 30%
2 2.1,3.1 - 3.3,5.2,6.1-6.3 2.1,3.1 - 3.3,5.2,6.1-6.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 1.2 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม จริยธรรม การตรงต่อเวลา ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ และจรรยาบรรณ ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 4.1,4.2 การประเมินพฤติกรรมด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงาน 8 และ 16 10%
 
คณาจารย์ภาควิชาพืชไร่นา.  2542.  พืชเศรษฐกิจ.  สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.  471 หน้า
เว็ปไซด์องค์กร เช่น FAO IRRI USDA กรมวิชาการเกษตร กรมการข้าว กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ฯลฯ และเว็ปไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการสอน
คำสำคัญ พืชเศรษฐกิจ พืชไร่อุตสาหกรรม
ให้นักศึกษาทำการประเมินการสอนของอาจารย์ผ่านระบบของมหาวิทยาลัย และข้อเสนอแนะเพื่อนำข้อบกพร่องไปปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้สอนและผู้เรียน
สังเกตการณ์สอนโดยคณะกรรมการประเมิน ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และจากการเข้าเรียนของนักศึกษา และเรียนอย่างมีความสุข
อาจารย์ผู้สอนจัดหาสื่อการสอนที่ทันสมัย เคลื่อนไหวได้ น่าสนใจ และกระตุ้นความอยากรู้ของนักศึกษา อีกทั้งมีการฝึกปฏิบัติและเรียนรู้จากตัวอย่างและการปฏิบัติจริง วิธีการสอนที่หลากหลายและให้ความสำคัญกับนักศึกษา อีกทั้งมีการวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาสำหรับเด็กพิเศษ
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา คะแนนสอบ พฤติกรรมของนักศึกษา รวมทั้งข้อคิดเห็นเพิ่มเติมจากอาจารย์ผู้ร่วมสอนทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติการ เพื่อประกอบการวิเคราะห์ปัญหา ทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ นำเสนอข้อมูลตามลำดับ และหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการในรายละเอียดที่จำเป็น จะมีการนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชาฯ เพื่อพิจารณาร่วมกันต่อไป