เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืช

Post Harvest Technology

1. รู้ขอบเขตและความสำคัญของวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืช 2. รู้ลักษณะองค์ประกอบทางเคมีของผลิตผลพืช 3. เข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมีที่สำคัญหลังการเก็บเกี่ยว 4. เข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพและอายุการเก็บเกี่ยว 5. เข้าใจและมีทักษะเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว การเตรียมผลิตผลหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษา คุณภาพและมาตรฐาน และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชหลังการเก็บเกี่ยว 6. เห็นความสำคัญของวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยว
การวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยวโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบการวิเคราะห์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและขอบเขตของเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาและชีวเคมี ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพและอายุการเก็บรักษา ดัชนีและวิธีการเก็บเกี่ยว การควบคุมศัตรูพืช การปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว การเก็บรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ตลอดจนวิธีการตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานของผลผลิต
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ1ชั่วโมงโดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาให้นักศึกษาทราบ
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม 1.1.1 มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม 1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.1.3 มีวินัยขยันอดทนตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเองสังคมและสิ่งแวดล้อม 1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ข้อ 1.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก ข้อ 1.1.1  1.1.2  และ 1.1.4 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ใช้การสอนแบบ Active Learning เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนในโอกาสต่างๆ ให้สมาชิกในแต่ละกลุ่มมีกิจกรรมนักศึกษาค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ - เพิ่มการสอนนอกชั้นเรียนโดยให้ศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องที่ต้องสร้างความเข้าใจและหาข้อมูลเชิงประจักษ์ของการดูแลรักษาเพื่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพืชในทางการเกษตร รวมทั้งการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องในเชิงสรีรวิทยาพืชตามความเหมาะสมบนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง
- ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและในสถานการณ์ที่สาขาวิชาฯและคณะจัดกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาและการเคารพการแสดงความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโสและอาจารย์ โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง ข้อ 2.1.1และ 2.1.3 เป็นความรับผิดชอบหลัก ข้อ 2.1.2 เป็นความรับผิดชอบรอง
   การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบคิดวิเคราะห์ (Critical thinking) การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต การสอนบรรยายแบบ Active Learning เน้นให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น รวมทั้งการสอนแบบ e-Learning และการสอนนอกห้องเรียน โดยศึกษาจากประสบการณ์จริงในเรื่องเกี่ยวกับวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่างๆ ที่ต้องสร้างความเข้าใจ เป็นต้น ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
- ประเมินพฤติกรรมในชั้นเรียนและการสอบวัดความรู้ โดยมีการสอบย่อย (Quiz) ตั้งคำถามปากเปล่า และสอบเป็นทางการ 2 ครั้ง (สอบกลางภาคและสอบปลายภาค) - ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - การทำรายงานกรณีศึกษาเกี่ยวกับการมาตรฐานพืชและนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นกลุ่ม
3.1.1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
3.1.1 เป็นความรับผิดชอบหลัก 3.1.2 เป็นความรับผิดชอบรอง
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
 
 
- ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน  การสอบย่อย (Quiz)  การสอบกลางภาคและปลายภาค การฝึกปฏิบัติการตามลำดับขั้นตอน และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคล และรายกลุ่ม
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 4.1.1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.1.3. สามารถทางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.1.4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนโดยมีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่ม และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.3 วิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ - การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายกลุ่ม ผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินการทำงานร่วมกัน มารยาททางสังคมที่ดีการทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมโดยมีการบันทึกผลการประเมินของผู้เรียน - การสังเกตและประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานรายบุคคลผู้สอนสังเกตพฤติกรรมและประเมินภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามของผู้เรียน
5.1.1. สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2. สามารถสืบค้นศึกษาวิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ข้อ 5.1.2 เป็นความรับผิดชอบหลัก ข้อ 5.1.1 และ 5.1.3 เป็นความรับผิดชอบรอง
- การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลรวมทั้งการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต ให้นักศึกษาสืบค้นการวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืช และส่งรายงานผลการค้นคว้า หรือการเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
- ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการปฏิบัติ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BSCAG133 เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การทดสอบย่อย (Quiz) อย่างน้อย 5 ครั้ง 1-15 15%
2 การสอบกลางภาค 8 25%
3 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการทำบทปฏิบัติการ 16 5%
4 รายงานกลุ่มนำเสนอผลการทำบทปฏิบัติการ 16 5%
5 สอบปลายภาค 17 25%
6 การประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม 1-15 5%
7 การประเมินพฤติกรรมด้านความรับผิดชอบ 1-15 3%
8 การประเมินด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่มโดยนักศึกษาสมาชิกกลุ่ม 15 2%
จริงแท้  ศิริพานิช. 2541. สรีรวิทยาและเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.กรุงเทพฯ.396หน้า.
กิตติพงษ์  ห่งรักษ์. 2542. ผักและผลไม้. ภาควิชาอุตสาหกรรมเกษตร  คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ. 311 น. จริงแท้  ศิริพานิช และธีรนุช ร่มโพธิ์ภักดิ์. 2543. การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวผักและผลไม้. โรงพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมและฝึกอบรมการเกษตรแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. นครปฐม.90 น. จิรา ณ หนองคาย . 2531. เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวผัก ผลไม้และดอกไม้. สำนักพิมพ์แมสพับลิชชิง.กรุงเทพฯ  272 น. เฉลิมเกียรติ โภคาวัฒนา และภัสรา ชวประดิษฐ์. 2541. การผลิตข้าวโพดฝักอ่อน.กรมส่งเสริมการเกษตร.แหล่งที่มา http//www.doae.go.th/library (15 มีนาคม 2547) ดนัย    บุณยเกียรติ. 2540. สรีรวิทยาหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน. คณะเกษตร  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ .เชียงใหม่ .222 น. ดนัย บุณยเกียรติ. 2543. โรคหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวน. คณะเกษตรศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่ .156น.
อภิตา  บุญศิริ.2545. วิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวพืชสวนรุ่นที่ 14 : เอกสารประกอบการฝึกอบรม. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  กำแพงแสน. นครปฐม. อัญชลีพัดมีเทศ. 2541. การปลูกส้มเขียวหวาน. คำแนะนำที่ 36 .กรมส่งเสริมการเกษตร.แหล่งที่มา http //www.doae.go.th /library (15  มีนาคม 2547 )
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชาซึ่งรวมถึงวิธีการสอนการจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียนสิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้และผลการเรียนรู้ที่ได้รับและเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชาด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
 
 
 
ประเมินการสอนโดยนักศึกษาซึ่งจัดโดยระบบทะเบียนของมหาวิทยาลัยฯ
พัฒนาเนื้อหารายวิชาให้มีความสอดคล้องกับยุคปัจจุบันในปีถัดไป
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชาโดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนทั้งคะแนนดิบและระดับคะแนนของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบของสาขาวิชาภายในรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาโดนพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชาการรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอนหลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชาอาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา