อิเล็กทรอนิกส์กำลัง

Power Electronics

1.1 รู้และเข้าใจเห็นความสำคัญของระบบอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 1.2 รู้และเข้าใจคุณสมบัติและการนำไปใช้งานของสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง 1.3 รู้และเข้าใจคุณลักษณะของวัสดุแม่เหล็กและแกนหม้อแปลงชนิดต่างๆ 1.4 ศึกษาและวิเคราะห์วงจรเรียงกระแสแบบควบคุมไม่ได้และควบคุมได้ 1.5 ศึกษาและวิเคราะห์วงจรแปลงผันกระแสสลับเป็นกระแสสลับ 1.6 ศึกษาและวิเคราะห์วงจรชอปเปอร์ 1.7 ศึกษาและวิเคราะห์วงจรอินเวอร์เตอร์ 1.8 เข้าใจหลักการขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสตรงด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 1.9 เข้าใจหลักการขับเคลื่อนมอเตอร์กระแสสลับด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
2.1 การปรับปรุงรายวิชาเพื่อต้องการให้นักศึกษามีความเข้าใจ การทำงาน ของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลังชนิดต่างๆ ที่มีการพัฒนา 2.2 การปรับปรุงรายวิชาเพื่อต้องการให้นักศึกษามีความเข้าใจ คุณลักษณะและการทำงานของวัสดุแม่เหล็กไฟฟ้าและแกนหม้อแปลงชนิดต่างๆ ที่ใช้ในงานอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 2.3 การปรับปรุงรายวิชาเพื่อต้องการให้นักศึกษามีความเข้าใจ ถึงนวัตกรรมของวงจรแปลงผันพลังงาน วงจรเรียงกระแส ชอปเปอร์ ไซโครคอนเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์ 2.4 เพื่อต้องการให้นักศึกษามีความเข้าใจ ถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ใช้ในการความคุมมอเตอร์กระแสตรงและมอเตอร์กระแสสลับด้วยอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์กำลัง ไดโอดกำลัง ไทริสเตอร์ ทรานซิสเตอร์กำลัง แบบสองรอยต่อ มอสเฟต ไอจีบีที คุณลักษณะของวัสดุแม่เหล็ก แกนหม้อแปลงกำลัง แกนเฟอร์ไรท์ แกนผงเหล็กอัด คอนเวอร์เตอร์ เอซี-ดีซี คอนเวอร์เตอร์ ดีซี-ดีซี คอนเวอร์เตอร์ เอซี-เอซี คอนเวอร์เตอร์ ดีซี-เอซี คอนเวอร์เตอร์
- อาจารย์ประจำรายวิชา สามารถติดต่อได้ด้วยเบอร์โทรศัพท์มือถือ อีเมล์ ระบบข้อความในอีเลร์นนิ่ง - อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดติดประกาศของสาขาวิชา - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ จำนวน 1 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ รักษ์สิ่งแวดล้อม มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ รู้จักประหยัดพลังงานต่าง ๆ เพื่อลดโลกร้อน โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งระหว่างการพัฒนาควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้พลังงานชนิดต่าง ๆ ต่อสังคมชุมชน มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายการแปลงผันกำลังไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ บรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษา การแปลงผันกำลังไฟฟ้าและผลกระทบ อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ให้นักศึกษาทำการบ้าน แบบทดสอบ รายงาน ในระบบอีเลิร์นนิ่ง
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขา วิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม
บรรยาย อภิปราย การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ ให้นักศึกษามีการค้นคว้าเพิ่มเติม เรียนรู้ด้วยตนเองจากข้อมูลของหน่วยงานรัฐบาล จากเว็บไซต์ต่าง ๆ และเอกสารประกอบต่าง ๆ เพื่อให้นักศึกษาสามารถสรุปวิเคราะห์เป็นรายงานด้วยตนเองได้ ทำรายงานเดี่ยว และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 สอบกลางภาค 2.3.2 สอบปลายภาค 2.3.3 กิจกรรม แบบทดสอบ และรายงานในระบบ อีเลิร์นนิ่ง
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบ การตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อ การเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 การมอบให้นักศึกษาทำรายงานและนำเสนอผลงานเครื่องแปลงผันกำลังไฟฟ้า 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม โดยระบบอีเลิร์นนิ่ง 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา สมรรถนะการแปลงผันกำลังไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ 3.2.4 การสรุปและสะท้อนแนวคิดต่าง ๆ ที่หลากหลาย
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์การทำงานวงจรแปลงผันชนิดต่าง ๆ 3.3.2 วัดผลจากการทำกิจกรรม แบบทดสอบ ในระบบอีเลิร์นนิ่ง 3.3.3 วัดผลจากการทำรายงานเดี่ยว
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเองและมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบตามกำหนดเวลา
4.2.1 จัดกิจกรรมในระบบอีเลิร์นนิ่ง เพื่อวิเคราะห์กรณีศึกษา 4.2.2 มอบหมายงานกลุ่มหรือบุคคล เช่น ให้ออกแบบเครื่องแปลงผันกำลังไฟฟ้า อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา 4.2.3 การนำเสนอรายงาน
4.3.1 คะแนนจากกิจกรรม แบบทดสอบในระบบอีเลิร์นนิ่ง 4.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในกระดานเสวนา 4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข โดยใช้แบบทดสอบ สูตรการคำนวณต่าง ๆ 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน หรือในระบบอีเลิร์นนิ่ง 5.1.3 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา จากกการค้นคว้าข่าวสารต่าง ๆ 5.1.4 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร โดยใช้ระบบอีเลิร์นนิ่งในการเสริมการสอน และกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน เช่นกระดานเสวนา 5.1.6 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น power point
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน e-Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข มีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เช่นเว็ปไซต์องค์กรของรัฐบาล 5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น power point
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย หรือกระดานเสวนา
6.1.1 มีทักษะการวิเคราะห์และการคำนวน 6.1.2 มีทักษะด้านการใช้โปรแกรมเพื่อการออกแบบและจำลองการทำงาน
6.2.1 ออกแบบและวิเคราะห์ตามตัวอย่าง 6.2.2 นำโจทย์มาจากตำราและแหล่งค้นคว้าอื่นๆ มาศึกษา และสอนเพิ่มเติม
6.3.1 สังเกตและให้ข้อเสนอแนะ 6.3.2 ให้แสดงให้เพื่อนดูและปฏิบัติตาม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 12 (ต่อ) การขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า สอบกลางภาค สอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 รายงานแบบเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอรายงานการทำงานและส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
3 บทที่ 1 –บทที่ 12 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - 2 ตลอดภาคการศึกษา 25%
เอกสารประกอบการสอน ผศ. สุรศักดิ์  อยู่สวัสดิ์
Ned Mohan, “Power Electronics”, John Wiley&Son 2nd edition, 1995.
Daniel W. Hart, “Introduction to Power Electronics”, Prentice -Hall., 1997.
M. Rashid, “Power Electronics”, Prentice-Hall., 3rd edition, 2004.
www. ieeexplore.ieee.org
www. scholar.google.com
www.alldatasheet.com www.electronics-lab.com
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Matlab  Simulink 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านกระดานเสวนา ในระบบอีเลิร์นนิ่ง ประเมินผู้สอนโดยนักศึกษา ผ่านระบบไอทีของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียน การร่วมกิจกรรม ผลแบบทดสอบ ผลการสอบของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 อาจารย์ผู้สอน ทำงานวิจัย ไปนำเสนอผลงานวิจัย และศึกษาดูงานบริษัทต่าง ๆ เพื่อนำประสบการณ์จริงถ่ายทอดให้แก่นักศึกษา