สัมมนาทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร

Seminar in Food Product Development

1.1  เพื่อให้นักศึกษารู้วิธีการค้นคว้า  สืบค้นข้อมูลแบบต่าง ๆ ที่เป็นบทความหรือเอกสารเชิงวิชาการในเรื่องความก้าวหน้า
1.2  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการตีความ วิเคราะห์  เรียบเรียงข้อมูล
1.3  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำมา เขียนรายงานและเสนอเรื่องในที่ประชุมเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
1.4  เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการวิเคราะห์ปัญหาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
เพื่อประยุกต์ความรู้พื้นฐานที่มีอยู่ให้มีความสอดคล้องกับความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ตลอดจนความก้าวหน้าต่างๆ ในวงการอุตสาหกรรมอาหารที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้า  สืบค้นข้อมูลลักษณะต่าง ๆ ที่เป็นบทความหรือเอกสารเชิงวิชาการในปัจจุบัน และปัญหาเกี่ยวกับเทคโนโลยีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร นำมาตีความ วิเคราะห์  วิจารณ์ เรียบเรียงข้อมูล เขียนรายงานและเสนอเรื่องในที่ประชุมเพื่ออภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
Able to search literally for any kind of information in current articles or academic papers.  Able to interpret, analyze, discuss, rewrite, report, and presentation of problems in technology and food product development aspects in the meeting or seminar class.
อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาตามตารางผู้สอน และสามารถให้คำปรึกษาได้เพิ่มเติมเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการของนักศึกษา (เฉพาะรายที่ต้องการ) 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือทางอีเมล์
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 1.5  เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. อธิบายข้อปฏิบัติในวิชาเรียนสัมมนา เช่น หัวข้อสัมมนา การค้นคว้า การส่งหัวข้อ การเขียน ตลอดจนการเข้าชั้นเรียนและระหว่างการสัมมนา
2. มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหัวข้องานวิจัยและความก้าวหน้าใหม่ๆ ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
3. กระตุ้นตอบคำถามด้วยการซักถามในชั้นเรียน
1. ประเมินจากการปฏิบัติตามข้อปฏิบัติในวิชาเรียน เช่น การส่งหัวข้อสัมมนาและการส่งรายงานตามกำหนดเวลา การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและการซักถามในระหว่างสัมมนา
2. ประเมินเนื้อหาและหัวข้อสัมมนาที่เกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
3. ประเมินคำถามและคำตอบ ด้วยความเคารพสิทธิและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
2.1 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีที่สัมพันธ์กัน   ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจด้านเคมีอาหาร จุลชีววิทยาทางอาหาร การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาล และการทำวิจัย    
 2.2  มีความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
˜2.3 มีความรู้และสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาอื่น ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีการบรรจุ และเทคโนโลยีชีวภาพ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
 2.4 มีความคุ้นเคยกับความก้าวหน้าทางวิชาการในสาขาวิชา รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ 
1. รวบรวมและเรียบเรียงข้อมูล นำเสนอผลงานวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์ในชั้นเรียน
2. สังเกตความสนใจและซักถามความเข้าใจ ระหว่างการบรรยาย
1. ประเมินจากความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของเนื้อหาที่นำเสนอ
2. ประเมินจากการตอบคำถามจากความเข้าใจ และการเชื่อมโยงความรู้
3.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง
 3.2 สามารถศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนวทางการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ และผลกระทบที่ตามมาจากการตัดสินใจนั้น  
 3.3 สามารถใช้ทักษะและความรู้ความเข้าใจอันถ่องแท้ ในกลุ่มเคมีอาหาร จุลชีววิทยาอาหาร การแปรรูปอาหาร วิศวกรรมอาหาร การประกันคุณภาพและสุขาภิบาล และการวิจัย ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ ได้แก่ การดูแลจัดการกระบวนการการผลิตผลิตภัณฑ์อาหาร การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.4 มีทักษะปฏิบัติตามที่ได้รับการฝึกฝน จากเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
กระตุ้นด้วยการตอบคำถามและซักถามในชั้นเรียน
การตอบคำถาม
4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
 4.2 สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพและแก้ไขข้อขัดข้องได้อย่างเหมาะสม
 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ
˜4.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้และพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. กำหนดหัวข้อ กำหนดส่งหัวข้อ กำหนดส่งบทคัดย่อ กำหนดการนำเสนองาน และกำหนดการส่งรายงานสัมมนา
2. เช็คการเข้าชั้นเรียน สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
1. ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
2. ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และพฤติกรรมที่เหมาะสมในชั้นเรียน
5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
˜5.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
˜5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเหมาะสม
˜5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
˜5.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และเหมาะสม
1. มอบหมายงานในการสืบค้นหัวข้อทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร แนะนำแหล่งสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและวารสารที่เกี่ยวข้อง
2. นำเสนอข้อมูลในชั้นเรียนด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม
1. หัวข้อในการนำเสนอได้รับการตีพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ
2. ประเมินความต่อเนื่องของเนื้อหา ความเข้าใจ การสรุปประเด็นปัญหา ด้วยสื่อที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 BSCFT203 สัมมนาทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 2.1, 2.2, 2.3, 2.4, 3.1, 3.2, 3.3, 4.1, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3, 5.4, 5.5, 5.6, 5.7 1. การทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด เช่น การส่งหัวข้อสัมมนา การส่งบทคัดย่อ การส่งรายงานตามกำหนดเวลา 2. การนำเสนอในชั้นเรียน ความต่อเนื่องและเชื่อมโยงของ เนื้อหาที่นำเสนอ ความเข้าใจในการซักถามและการตอบคำถามในระหว่างสัมมนา การวิเคราะห์และแก้ไขประเด็นปัญหา ตลอดจนการใช้สื่อที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 20 % 40 %
2 4.1, 4.4 1. การเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษา ความรับผิดชอบตลอดการดำเนินงาน 2. ทักษะการอ่านและการแปลงาน paper 3. รายงานสัมมนาฉบับสมบูรณ์ ตลอดภาคการศึกษา 30 %
3 1.3, 4.2 จิตพิสัยในชั้นเรียนประเมินจากการเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ แต่งกายที่เหมาะสม และพฤติกรรมทั่วไปที่เหมาะสม ตลอดภาคการศึกษา 10 %
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ในชั้นเรียน
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
 3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน

การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

                จากวิทยากรภายนอกตามโอกาส
                3.5 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ