การจัดการฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

Farm Management for Aquaculture

1. เข้าใจระบบธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  และระบบการตลาดเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 
2. เข้าใจการผลิตสัตว์น้ำอย่างปลอดภัย หลักการการวิเคราะห์โครงการธุรกิจ  การจัดทำบัญชีฟาร์มสัตว์น้ำ
3. เพื่อให้นักศึกษามีเจตคติและลักษณะนิสัยที่ดีในการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยความรับผิดชอบ ละเอียดรอบคอบ และมีคุณธรรมจริยธรรม
    เนื่องจากมีการปรับปรุงหลักสูตร พ.ศ.2560 และเป็นรายวิชาใหม่
   ศึกษาเกี่ยวกับการจัดทำโครงการธุรกิจ  การวิเคราะห์โครงการธุรกิจ  การจัดทำแผนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสัตว์น้ำ  การวางแผนการผลิตสัตว์น้ำ การจัดทำบัญชีฟาร์มสัตว์น้ำ  การตลาด  และการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ ขยัน อดทน มีวินัยต่อการเรียน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น รวมถึงต้องเคารพกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
วิธีการสอน ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง  เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามหรือแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ทั้งในรายวิชาและของมหาวิทยาลัย กำหนดให้มีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา โดยอาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างในการตรงต่อเวลาในการเข้าสอน รวมถึงมีความรับผิดชอบในการทำงานกลุ่ม และการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม โดยสังเกตพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน และประเมินจากการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน 
นักศึกษาต้องมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำโครงการธุรกิจ  และสามารถวางแผน วิเคราะห์โครงการธุรกิจ  การจัดทำบัญชีฟาร์มสัตว์น้ำ  การตลาด  และการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ สามารถนำความรู้ด้านการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำมาบูรณาการกับศาสตร์ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ รวมทั้งมีการพัฒนาองค์ความรู้ และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยี ความชำนาญด้านวิชาชีพ โดยสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อได้
ใช้วิธีการสอนที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การบรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านระบบ e-Learning และมีการเสริมความรู้ประสบการณ์ โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง และจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
 
-   การทดสอบย่อย
-   การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
-   ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ การนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  และการ
    วิเคราะห์กรณีศึกษา รายบุคคล/กลุ่ม
พัฒนาทักษะด้านการปฏิบัติ คิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหาและสามารถประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ มาใช้ในการประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองอย่างมีระบบ
มอบหมายให้นักศึกษาออกพื้นที่ กรณีศึกษาฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยให้วิเคราะห์ปัญหา และแนวทางแก้ไขปัญหา โดยการอภิปรายกลุ่ม และรวบรวมข้อมูลนำเสนอผลงานให้แก่ อาจารย์ ผู้ประกอบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
- ประเมินจากการตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและกลุ่ม
- รายงานกลุ่มกรณีศึกษา และการนำเสนอผลงาน
- การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
สามารถให้ความช่วยเหลือ และอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหา สถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่ม ในบทบาทความเป็นผู้นำ และผู้ตามในการทำงานเป็นทีม และมีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม และสามารถใช้ความรู้ในรายวิชามาช่วยเหลือสังคมได้อย่างเหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและนำเสนอรายงาน
- ประเมินจากพฤติกรรม และการแสดงออกการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรม และการแสดงออกในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
- ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน และสามารถเลือกประยุกต์ใช้วิธีการสืบค้น การศึกษาการ วิเคราะห์ รวมถึงเครื่องมือ และเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา ค้นคว้า และแก้ไขปัญหาการจัดการธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างเหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่มการทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และนำเสนอรายงาน
- ประเมินจากพฤติกรรม และการแสดงออกการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินจากพฤติกรรม และการแสดงออกในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
- ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง    
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.1, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1 - การทดสอบย่อย - สอบกลางภาคเรียน - สอบปลายภาคเรียน 1,5,9,11,16 7 17 5% 35% 35%
2 1.1.3, 3.1.1, 4.1.4 - การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน - การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย - การมีส่วนร่วมในกิจกรรม - การตอบปัญหา และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนทั้งรายบุคคลและกลุ่ม ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1.4, 2.1.2, 2.1.3, 3.1.1, 4.1.4, 5.1.1, 5.1.3 - รายงานที่นักศึกษาจัดทำ โดยระบุแหล่งข้อมูล ที่มาของแหล่งข้อมูล และไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน - วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า จัดทำรายงาน และนำเสนอ - การใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงาน - การใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน - รูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่นำมาใช้ การสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือแหล่งข้อมูล ที่มาของแหล่งข้อมูล ตลอดภาคการศึกษา 15%
สะเทื้อน ปิ่นน้อย. 2547. หลักการจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะประมง ภาค วิชาการจัดการประมง, กรุงเทพฯ.
อุธร ฤทธิลึก. 2548. การจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา. สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 176 น.
สื่อประกอบการสอน VCD กรณีตัวอย่างการประกอบธุรกิจเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม
จำลอง มังคละมณี. บทที่ 1 สภาพทั่วไปธุรกิจฟาร์มสัตว์น้ำ. วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์. เรียกดูได้
จาก http://sites.google.com/site/fishfarm53/xeksar-wichakar-cadkar-farm-satw-na/bththi1sphaphthawpithurkicfarmsatwna
 
จำลอง มังคละมณี. บทที่ 2 หลักเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. วิทยาลัยประมง
ติณสูลานนท์. เรียกดูได้จาก  http://sites.google.com/site/fishfarm53/xeksar-wichakar-cadkar-farm-satw-na
 
จุฑามาศ  ทะแกล้วพันธุ์. การจัดการฟาร์มสัตว์น้ำ. สาขาวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะ
เทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เรียกดูได้จากhttps://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxjaHV0aGFtYXRhdWl8Z3g6NmQ3YzZlY2I2ZGJiMGVlYg
 
สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง กรมประมง. เรียกดูได้จาก http://www.nicaonline.com
การประเมินผลการสอนเมื่อสิ้นสุดการสอน โดยการตอบแบบสอบถามความพึงพอใจการ
สอนที่จัดทำขึ้น โดยประเมินแบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 1 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยทบทวนปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัย และมีการนำสื่อ อุปกรณ์ที่สามารถสื่อให้เข้าใจในเนื้อหาได้ง่ายยิ่งขึ้น และเป็นความต้องการของนักศึกษา โดยต้องคำนึงถึงการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ไม่มี
ไม่มี