การจัดการฟาร์มพืช

Crops Farm Management

- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์ม
- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในปัจจุบัน
- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช
- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต
- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช
- เพื่อให้มีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานและการฝึกปฏิบัติการวางแผนและรูปแบบการจัดการฟาร์มพืช  การปลูกตลอดจนการดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว การจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การแปรรูปผลผลิต สภาวการณ์ตลาดและการจำหน่ายของการผลิตพืช ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการผลิตและการแปรรูปการผลิตพืชในสภาวะกาลปัจจุบัน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบและขนาดของฟาร์ม สถานการณ์และแนวโน้มการผลิตพืชในยุคปัจจุบัน การจัดการข้อมูลสารสนเทศระบบการผลิตพืช การบริหารงบประมาณและต้นทุนการผลิต การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการผลิตพืช เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความแม่นยำในการผลิตพืช และการสร้างมูลค่าเพิ่ม
- จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยอาจารย์จะแจ้งวันเวลาและสถานที่ให้นักศึกษาทราบ เป็นครั้งๆ ไป ตามความเหมาะสม
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
-กระทำตนเป็นแบบอย่างในการมีวินัย ขยัน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบ
-ให้โอกาสนักศึกษาในการเสนอความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน
- ส่งเสริมการทำกิจกรรมกลุ่มที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
-  ประเมินความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ในงานปฏิบัติการ โดยแสดงออกต่อส่วนรวมดังนี้
1. ขั้นตอนการปฏิบัติการ ที่ถูกต้อง ตามเวลาที่กำหนดให้
2. มีการเรียนสม่ำเสมอ ตรงเวลา
3. จัดเตรียม คืน และเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกัน ให้ตรงตามหมวดวัสดุ ให้เป็นระเบียบ
4. ทำความสะอาด คัดแยก กลบฝัง ทิ้งวัสดุ ของเสีย จากการทำงานให้ถูกต้องต่อสิ่งแวดล้อม
2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ    การสอนแบบการตั้งคำถาม การสอนแบบการอภิปรายกลุ่มย่อย
1. การนำเสนองานอภิปรายเป็นกลุ่ม
2. ข้อสอบอัตนัย
3. ข้อสอบปรนัย
4. รายงานการปฏิบัติการ สรุปวิจารณ์ด้านความรู้ วิชาการ
3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ การสอนแบบปฏิบัติ
1.ปฏิบัติการโดยใช้ประโยชน์จากพื้นที่ที่ได้รับมอบหมายโดยใช้ความรู้จากภาคบรรยายในการจัดการฟาร์มเพื่อผลิตพืช
2. การประเมินตนเอง
3. การประเมินโดยเพื่อน
4. การนำเสนองาน
5. ข้อสอบอัตนัย
6. ข้อสอบปรนัย
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.2มีภาวะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1 กิจกรรมกลุ่มสร้างความสัมพันธ์ต่อสังคมและกลุ่ม
1. การประเมินโดยอาจารย์และเพื่อน โดยสังเกตสื่อการกันในระว่างการทำงานกลุ่ม
2 มีการวางแผนร่วมกัน แบ่งกันทำงาน เพื่อเตรียมพื้นที่ เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ย วัสดุที่ใช้สำหรับการทำฟาร์มพืช
3. ร่วมกันสรุป เสนอแนวทางในการเลือกรูปแบบการทำฟาร์มพืช
4. รายงาน
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.ใช้  Power point การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล
2. การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศและการนำเสนองานโดยการบรรยาย
1.การนำเสนองานที่สามารถหาข้อมูลจากระบบสื่อสารทางไกล(อินเตอร์เน็ต) 2.ค้นหาข้อมูลรูปแบบการจัดการฟาร์มพืช และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตพืช
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 BSCAG113 การจัดการฟาร์มพืช
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1, 2, 3, 4, 5 และ 6 การแสดงความคิดเห็น/พฤติกรรมในชั้นเรียน ความรับผิดชอบในการทำงาน 1-8 และ 10-16 5%
2 1, 2 และ 6 งานมอบหมายค้นคว้า 5, 15 และ 16 15%
3 1, 2 และ 3 สอบกลางภาค 9 30%
4 รายงานและการนำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมาย 16 15%
5 4, 5 และ 6 สอบปลายภาค 17 30%
6 การเข้าชั้นเรียน 1-8 และ 10-16 5%
กรมส่งเสริมการเกษตร. 2556. คู่มือปฏิบัติงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร การจัดการฟาร์ม. โรงพิมพ์ชุมนุมสกรณ์เกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด. 
คณะกรรมการลักสูตรและคณะทำงานผลิตวิชา. มปป. กรมส่งเสริมวิชาการเกษตร. แนวทางการศกษา ชุดวิชาการจัดการฟาร์ม.
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     - การสะท้อนแนวคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้
     - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
  - ผลการสอบ
  - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
  - มีการการสอบย่อยโดยใช้โปรแกรม QUIZZ เพื่อประเมินความรู้ความเข้าใจท้ายการเรียนการสอน
   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยการสุ่ม  ตรวจข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
- โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
  - ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของสาขาวิชา
  - การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา
  - อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขาวิชา / คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป