การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์

Organic Livestock Production

1. รู้และเข้าใจความหมาย คำสำคัญ ของเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์
2. เพื่อเข้าใจหลักการพื้นฐานเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์
3. เพื่อเข้าใจรูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
4. เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายสินค้าจากการเกษตรอินทรีย์ และปศุสัตว์อินทรีย์
5. เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ที่ถูกต้องและเหมาะสม
6. เพื่อประเมินวิธีการรับรองผลผลิตและผลิตภัณฑ์ของปศุสัตว์อินทรีย์
7. เพื่อมีทักษะการจัดการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์อย่างถูกต้องและเหมาะสม
8. เพื่อตระหนักถึงประโยชน์ของการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
1. มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการบูรณาการผลิตเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์ ที่เกี่ยวข้องในการผลิตสัตว์ทางการค้า และมีบทบาทต่อการผลิตสัตว์ภายใต้สภาวะการแข่งขันและการกีดกันทางการค้าของตลาดโลก เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
2. สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้ในฐานะผู้ประกอบการ นักวิชาการ หรือผู้จัดการฟาร์ม และสามารถคิดวิเคราะห์ได้อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
3. มีคุณธรรม จริยธรรม สำนึกในจรรยาบรรณของวิชาชีพที่ดี มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคมและเสริมสร้างเอกลักษณ์ไทย
4. มีทัศนคติและเจตคติที่ดีที่ดีต่อวิชาชีพทางการเกษตร
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ หลักการพื้นฐานเกษตรอินทรีย์และ ปศุสัตว์อินทรีย์ รูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ การรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ ต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย (Study and practice of meaning, importance, principle of organic agriculture and livestock, pattern of organic livestock production, certification of organic livestock, production cost, and marketing)
จัดให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมงในทุกวันพุธ และวันศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องสาขาวิชาสัตวศาสตร์ โทร 089-7126620   e-mail: usaneeporn_s@hotmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน 
š1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
š1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียนตรงต่อเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และงานที่ได้รับมอบหมาย
2. บรรยายและยกตัวอย่างประกอบในเนื้อหา โดยสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม
3. ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่นในการสอบ
4. การอ้างอิงบทความวิชาการหรือแหล่งข้อมูลความรู้ต่างๆ มาใช้ต้องให้เกียรติแก่เจ้าของงานนั้น
1. ประเมินการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าเรียนตรงเวลา ส่งงานตามกำหนด และปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่อาจารย์ผู้สอนกำหนด
2. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรม ตรงต่อเวลา มีวินัยและความสามัคคีในการทำกิจกรรม
3. ประเมินผลรายงาน หรืองานที่นำเสนอมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทางวิชาการถูกต้อง
4. ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
˜2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
š2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. บรรยายประกอบการอภิปรายในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักศึกษาพบเห็น มีสื่อการสอนต่างๆ เช่น ภาพประกอบทั้งภาพนิ่ง เป็นต้น
2. มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. มอบหมายให้อ่านวารสารทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรอินทรีย์และปศุสัตว์อินทรีย์พร้อมทั้งเขียนรายงานสรุปในเรื่องที่อ่าน และส่งเป็นการบ้าน
4. นำนักศึกษาดูงานด้านปศุสัตว์อินทรีย์นอกสถานที่
5. นำนักศึกษาฝึกการให้ความรู้ที่ได้เรียนมากับนักเรียน ในกิจกรรมการโครงการค่ายสัตวบาลอาสาทุกๆปี
1. การทดสอบย่อยระหว่างเรียนในชั้นเรียน
2. การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3. ประเมินผลจากรายงาน และการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
4. ประเมินผลการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
5. ประเมินผลความพึงพอใจและความเข้าใจของนักเรียนโรงเรียนบ้านป่าขนุนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมกับนักศึกษาวิชาการผลิตสัตว์ปีก
š3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
š3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. ในการสอนจะมีการนำนักศึกษาดูงานฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์ และให้นักศึกษาวางแผนการทำฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์ วิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ในการทำฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงกับหลักการหรือทฤษฎีอันเป็นแนวทางสู่การทำฟาร์มปศุสัตว์อินทรีย์โดยอิงบนหลักการและ/หรือทฤษฎีอย่างถูกต้อง
2. การศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
1. ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ไขปัญหา
2. ทดสอบโดยข้อเขียนและสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
3. ประเมินผลรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในข้อเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
4. ประเมินจาก project ที่ได้รับมอบหมาย การประยุกต์ใช้ตามหลักการวิจัย
5. ประเมินกรณีศึกษา การศึกษาดูงาน เปรียบเทียบกับความรู้ทางวิชาการ
š4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
š4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
1. กำหนดงานกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
3. ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น (brainstorming) เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2. ประเมินผลแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
3. สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
4. ประเมินพฤติกรรมภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
š5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นองค์ความรู้จากเอกสาร หรือข้อมูลผ่านทางเครือข่ายสารสนเทศ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. มีการนำเสนองานด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปที่เหมาะสมกับลักษณะงานต่อชั้นเรียน พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ
1. ประเมินจากรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานและการนำเสนอในชั้นเรียนที่ได้รับมอบหมาย
2. สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านความมีเหตุผล ไหวพริบในการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม และมีการบันทึกเป็นระยะ
3. ประเมินจากการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ และมีการจัดเรียงลำดับการนำเสนอ การสร้างกราฟ ภาพ หรือ ตาราง ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
1. ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ มีความประณีต ความถูกต้อง และความซื่อสัตย์
2. แสดงความชื่นชมในความสามารถ และให้รางวัลแก่นักศึกษาที่มีผลการฝึกปฏิบัติดี
3. สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติการปศุสัตว์อินทรีย์
1. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
2. ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานด้วยแบบประเมิน
3. สังเกตพฤติกรรมการแสดงออกด้านเจตคติ
4. สร้างแบบฟอร์มประวัตินักศึกษาที่ได้รับคำชม/ การได้รางวัล
5. ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆโดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG234 การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 4.1, 4.2, 5.2 การเข้าชั้นเรียน/การตรงเวลา/ การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียนผลงาน /รายงาน/ การศึกษาอิสระ ทุกสัปดาห์ 10%
2 1.1, 2.1, 3.3, 4.2, 5.2 นำเสนอรายงานเป็นกลุ่มโดยนักศึกษา พฤติกรรมต่างๆ เช่น การร่วมอภิปราย การตอบคำถาม เป็นต้น ทุกสัปดาห์ 20%
3 1.1, 1.2, 4.1, 4.2, 5.2 การส่งงาน การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบ คุณธรรม และจริยธรรม ทุกสัปดาห์ 10%
4 1.1, 2.1 การสอบกลางภาค 9 15 %
5 1.1, 2.1, 3.3, 4.2, 5.2 การนำเสนองาน/การรายงานที่ได้รับมอบหมาย 17 30 %
6 1.1, 2.1 การสอบปลายภาค 18 15 %
วริษา  สินทวีวรกุล. 2555. การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์. มทร.ล้านนา ลำปาง
มาตรฐานสินคาเกษตร เกษตรอินทรียเลม 2: ปศุสัตวอินทรีย           http://certify.dld.go.th/certify/images/project/organic/2organic%20Livestock.pdf
1.1 ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา โดยใช้แบบประเมินอาจารย์ผู้สอนรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง
2.1 ประเมินการจัดการเรียนการสอนจากการทดสอบย่อยและตอบคำถามของนักศึกษา ระหว่างการสอนแต่ละหน่วยการเรียน
3.1 ทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสอทธิภาพของรายวิชา
3.2 จัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคการศึกษา
3.3 ให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ระดับสูง เพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.4 ประชุมอาจารย์ประจำวิชา เพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
3.5 บูรณาการเรียนการสอนกับบริการวิชาการ ภายใต้กิจกรรมโครงการสัตวบาลอาสาในทุกๆปี และกิจกรรมอื่นๆภายใต้งานวิจัยของอาจารย์ผู้สอนเพื่อฝึกการปฏิบัติจริงในเรื่องของพื้นฐานปศุสัตว์อินทรีย์อาหารและการให้อาหาร รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ปีกและสัตว์อื่นๆ ภายใต้ข้อมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
4.1 บันทึกหลังสอนรายคาบ
4.2 ผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
4.3 การแจ้งคะแนนสอบให้นักศึกษาทราบเป็นระยะ
4.4 การออกข้อสอบร่วม
4.5 ให้นักศึกษาแลกเปลี่ยนรายงานและการนำเสนอรายงาน
4.6 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.7 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 บันทึกหลังสอนรายคาบ
5.2 ประชุมร่วมผู้สอน
5.3 ผลการเรียนรู้เชิงพฤติกรรม
5.4 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.5 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ที่กว้างขึ้น