วิศวกรรมการทาง

Highway Engineering

1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจระบบงานทางหลวง 2. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจลักษณะการจราจร 3. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจหลักการวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ใช้ในการวางแผนสร้างทาง 4. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถออกแบบทางด้านเรขาคณิต 5. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจในวัสดุที่ใช้ในงานทาง 6. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถออกแบบผิวทางได้ 7. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการก่อสร้างทางและการบำรุงรักษาทาง 8. เพื่อให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของงานด้านวิศวกรรมการทาง
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานในงานทาง เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ความข้าใจไปใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบงานถนน 2. เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการควบคุม การสร้างทางและออกแบบงานถนน หรือนำไปประยุกต์ใช้กับวิชาอื่นได้
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติทางหลวง การจัดระบบทางหลวง การวางแผนสร้างทางและการวิเคราะห์การจราจรเบื้องต้น การออกแบบทางเรขาคณิต เศรษฐศาสตร์ทางหลวง การออกแบบผิวทางแบบยืดหยุ่นและผิวทางแบบแข็ง วัสดุการทาง การก่อสร้างและการบำรุงรักษาทาง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษานอกห้องเรียนผ่าน E-mail : chakrit@rmutl.ac.th, akharpong@rmutl.ac.th และ tanatop@rmutl.ac.th - อาจารย์ประจำรายวิชาให้คำปรึกษาผ่านทาง Facebook Group - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ กล้าแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1.1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการ มีวินัย และมีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรตามข้อบังคับของสภาวิศวกร
1.2.1 กำหนดกติกาของการเข้าชั้นเรียน ซึ่งมีคะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 1.2.2 ให้มีการทำรายงานเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ และผู้ตาม ยอมรับการฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 1.2.3 สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม ความรับผิดชอบและจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกร
1.3.1 ให้คะแนนการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา 1.3.2 สังเกตการทำงานในกลุ่ม การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ 1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ 
มีความรู้และความเข้าใจในศาสตร์พื้นฐานเพื่อประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการวิเคราะห์และออกแบบงานทาง 2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทฤษฎีในงานวิศวกรรมการทาง 2.1.2 สามารถวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ปัญหาได้ 2.1.3 สามารถใช้ความรู้และทักษะที่ได้ศึกษาในการปฏิบัติงานจริงได้
2.2 วิธีการสอน 
2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎี ยกตัวอย่างสถานการณ์จริงประกอบการอธิบาย มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด 2.2.2 อธิบาย ยกตัวอย่างวิธีวิเคราะห์ข้อมูล การคำนวณออกแบบ มอบหมายให้นักศึกษาทำการบ้าน 2.2.3 ให้มีการทำรายงานโดยให้ทำการสำรวจข้อมูล วิเคราะห์ และนำเสนอวิธีการแก้ปัญห
2.3.1 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 2.3.2 ประเมินจากความถูกต้องของงานที่มอบหมาย 2.3.3 ประเมินจากความสมบูรณ์ของรายงาน การนำเสนองาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหา 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัด 3.2.2 ให้นักศึกษา ค้นคว้าบทความ งานวิจัยในงานทาง เพื่อสามารถเสนอหัวข้อรายงาน
3.3.1 ประเมินผลจากความถูกต้องของแบบฝึกหัด 3.3.2 ประเมินผลจากความน่าสนใจของหัวข้อรายงาน ความถูกต้อง และการนำไปใช้งานได้จริง 
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ  4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมายสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2.1 อธิบายวิธีการเขียนและนำเสนอรายงาน 4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.3.1 ประเมินผลจากรายงานและการนำเสนอ 4.3.2 สังเกตจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน
5.2.1 ยกตัวอย่างการนำเสนอที่มีรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.2.2 อธิบายวิธีการจัดทำและนำเสนอรายงาน
5.3.1 ประเมินจากรูปแบบการนำเสนอรายงาน 5.3.2 ประเมินจากความถูกต้องของรายงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
1.1. Garber, N. J., and Hoel, L. A., Traffic and Highway Engineering. Revised 2 nd ed., PWS Publishing, Pacific Grove, CA., 1999. 1.2. Mannering, F. L., and Kilareski, W.F., Principles of Highway Engineering and Traffic Analysis. 2 nd ed., John Wiley and Sons, New York, 1998. 1.3. The American Association of State Highway and Transportation Officials, AASHTO Guide for Design of Pavement Structure. Washington D.C., 1986.
2.1. จิรพัฒน์ โชติกไกร, วิศวกรรมการทาง. สำนักพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2531. 2.2. วันชัย ริจิรวนิช และ ชอุ่ม พลอยมีค่า, เศรษฐศาสตร์วิศวกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4, โรง พิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539. 2.3. Hickerson, T. F., Route Location and Design. McGraw–Hill, New York, 1964. 2.4. Wright, Paul H., Highway Engineering. 6 th ed., John Wiley and Sons, New York, 1996.
3.1. กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม, รายละเอียดและข้อกำหนดการก่อสร้างทาง หลวง. 2535. 3.2. ธารี ทฤฆชนม์, การออกแบบทาง. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรงานทาง สำหรับวิศวกร, สำนักสำรวจและออกแบบ, กรมทางหลวง, กระทรวงคมนาคม. 3.3. รักษ์ ศตายุ, การจัดลำดับความสำคัญในการบำรุงทาง. รายงานฉบับที่ วว. 69, กอง วิเคราะห์วิจัย, กรมทางหลวง, กระทรวงคมนาคม. 3.4. สำนักเร่งรัดพัฒนาชนบท, กระทรวงมหาดไทย, ความรู้พื้นฐานด้านช่าง–ทางหลวง ชนบท. เอกสารประกอบคำบรรยายการอบรมหลักสูตรหัวหน้าส่วนโยธา องค์การ บริหารส่วนตำบล
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิด และความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านอีเมลหรือเว็บบอร์ดที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการ สื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมใน การระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิในรายหัวข้อ ตามที่ คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบ ผลสัมฤทธ์ิโดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของ นักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนน พฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธ์ิประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการ ปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐาน ผลสัมฤทธ์ิตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ