การขึ้นรูปด้วยมือ 2

Hand Building 2

1. มีทักษะในการขึ้นรูปด้วยมือเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิก
2. มีทักษะในการขึ้นรูปด้วยมือในรูปทรงต่างๆ
3. มีทักษะการขึ้นรูปด้วยมือเป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกขนาดใหญ่
4. มีทักษะในการเตรียมเนื้อดินปั้นสำหรับการขึ้นรูปขนาดใหญ่
5. มีทักษะการตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือ
6. มีทักษะแก้ปัญหาและแนวทางแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือชิ้นงานขนาดใหญ่
- นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการขึ้นรูปด้วยมือรูปทรงต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ สามารถตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือให้สวยงามและเหมาะสมกับงานเซรามิกได้
ปฏิบัติเกี่ยวกับเกี่ยวกับการขึ้นรูปด้วยมือรูปทรงต่างๆ ที่มีขนาดใหญ่ เนื้อดินปั้นและการเตรียมดินสำหรับการขึ้นรูปด้วยมือชิ้นงานขนาดใหญ่ การตกแต่งผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือ ปัญหาและแนวทางป้องกันและแก้ไขผลิตภัณฑ์ที่ขึ้นรูปด้วยมือชิ้นงานขนาดใหญ่
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความเอื้ออาทรต่อผู้ร่วมงานในโรงงาน มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ มีความเคารพในสิทธิส่วนบุคคลระหว่างเพื่อนร่วมงาน เคารพในหน้าที่และความสามารถ มีคุณธรรมจริยธรรมตามหลักสูตร

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละและซื่อสัตย์สุจริต มีระเบียบวินัยรักษาเวลา มีความรับผิดชอบต่อสังคม มีบุคลิกในสภาวะความเป็นผู้นา และผู้ตามสามารถแก้ปัญหาได้ตามลาดับความสำคัญ เคารพในการรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น เคารพในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ปฏิบัติตามกฎและระเบียบข้อปฏิบัติขององค์กรอย่างเคร่งครัด สามารถวิเคราะห์ผลกระทบต่อองค์กรจากสภาวะสังคม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรมและจริยธรรม อภิปรายกลุ่ม
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ประกอบกับการอ้างอิงเอกสารที่ใช้ทำรายงาน ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
เรียนรู้วิธีการขึ้นรูปด้วยมือรูปทรงต่างๆ เป็นผลิตภัณฑ์เซรามิกที่มีขนาดใหญ่
ฝึกปฏิบัติการขึ้นรูปด้วยมือ การเตรียมดิน ฝึกเตรียมดิน ขึ้นรูปด้วยมือ ตกแต่ง แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและการนำเสนอผลงานสำหรับผลิตภัณฑ์ขนาดใหญ่
ผลงานจากกิจกรรมการสอนในห้องเรียน ประเมินจากการนำเสนอผลงานที่สร้างสรรค์ และการค้นคว้าข้อมูลต่างๆ จากกรณีศึกษา
การขึ้นรูปด้วยมือจากการพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ
มีการมอบหมายให้ทำชิ้นงานจากการกำหนดรูปทรงและขนาดของผลิตภัณฑ์เซรามิก โดยให้นักศึกษาได้สร้างสรรค์ผลงานจากแนวคิดต่างๆ และนำเสนอผลงาน อภิปรายกลุ่ม สะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรม
ผลงานจากการปฏิบัติงาน วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มีการมอบหมายงานทั้งกลุ่มและรายบุคคล ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
ผลงานจากการปฏิบัติงาน วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทารายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ ทักษะในการนาเสนอรายงาน โดยใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มีการมอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเอง ทารายงานโดยเน้นการนาตัวเลขหรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลน่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร 6. ด้านทักษะพิสัย (ทักษะวิชาชีพ)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 3 1 2
1 BTECE110 การขึ้นรูปด้วยมือ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - ทักษะที่ 2 ด้านความรู้ - ทักษะที่ 3 ด้านทักษะทางปัญญา - ทักษะที่ 4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล - ทักษะที่ 6 ด้านทักษะพิสัย (ทักษะวิชาชีพ) ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 1 ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 2 ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 3 ผลงานสร้างสรรค์ชิ้นที่ 4 2-4 5-7 8-10 11-15 20% 20% 20% 20%
2 - ทักษะที่ 5 ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 - ทักษะที่ 1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. ปรีดา พิมพ์ขาวขำ. เซรามิกส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักโอเดียนสโตร์,2539
2. ดรุณี วัฒนศิริเวช และสุธี วัฒนศิริเวช. การวิเคราะห์แร่ดิน เคลือบ และตำหนิในผลิตภัณฑ์เซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.
3. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2537.
4. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2541.
5. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. สีเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2546.
6. ไพจิตร อิงศิริวัฒน์. ตำหนิและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2552.
7. ไพบูลย์ หล้าสมศรี. เคลือบสีแดงจากทองแดง : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ม, 2552.
8. “วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ”, ปี 43 ฉบับที่ 137 มกราคม 2538, หน้า 3 – 4.
9. เอ็ททสึโซะ คาโต. หลักการทำเคลือบเซรามิก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553.
10. Creber D., (1997), “Crystalline Glazes”, A&C Black (Publishers) Limited, 43-50.
11. Lawrence W.G., (1972), “Ceramic Science for the Potter”, United States of Amerlica, 142-168.
12. Mills M., (2008) “Surface Design for Ceramics”, New York, 96-104.
13. Norsker H. and Danisch J. (1993) “Glazes-for the Self-Reliant Potter”.
14. Kingery W.D., Bowen H.K. and Uhlmann D.R., (1976), “Introduction to ceramics”, 2nd ed, New York : John Wiley and Sons Press, 587-593, 816-909.
15. Tristram F., (1996), “Single Firing”, A&C Black (Publishers) Limited.
ไม่มี
เว็บไซต์ใน Pinterest
Google 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้