โครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Project

1) เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย
2) เพื่อให้นักศึกษาได้เกิดความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ภายใต้คาแนะนาของอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์
3) เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาเกี่ยวกับการนาระบบสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในเชิงพาณิชย์
4) เพื่อให้นักศึกษาสามารถนาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้งานทางด้านอื่น ๆ
เพื่อให้ตอบสนองต่อการเรียนรู้ของรายวิชา และปรับปรุงเนื้อหาเพื่อให้ทันสมัย สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพตามสภาวิศวกร
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการทบทวนชื่อโครงงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขต ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา 32089398 การเตรียมโครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ปัญหา ปฏิบัติการตามขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผล จัดทำรายงาน และนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงาน
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ อีเมล์ หรือทางเครือข่ายสังคมออนไลน์
 - อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
            1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบ คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
            1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
            1.1.3 ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
            1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
            1.1.5 ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย วินัย จรรยาบรรณวิชาชีพ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความถ่อมตนและจิตใจเมตตาต่อเพื่อนร่วมงาน ความไม่ละโมบ และการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในรายวิชามีการกำหนดให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม เพื่อฝึกให้นักศึกษารู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม และการเป็นสมาชิกของกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น รวมทั้งมีความถ่อมตนและความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และความไม่ละโมบ โดยอาจารย์ผู้สอนมีการสอดแทรกเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมในการสอนทุกสัปดาห์
            ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนลา
            ประเมินผลจากการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
            ประเมินผลจากการทำรายงานที่ได้รับมอบหมาย
            ประเมินผลจากการสอบย่อย สอบกลางภาคและปลายภาค
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับรายวิชานี้ โดยมาตรฐานความรู้ครอบคลุมดังนี้
            1.1 มีความรู้และเข้าใจตามคำอธิบายรายวิชา
            1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ
            1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
ฝึกปฏิบัติ การนำเสนอรายงาน อภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความและวารสาร ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ตรวจสอบผลสำเร็จของโครงงาน
- นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลในวารสารและบทความที่เกี่ยวข้อง
            พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
                        1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
                        1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
                        1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหา รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                        1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
การมอบหมายให้นักศึกษาค้นหาข้อมูล ยกตัวอย่างประกอบ กรณีศึกษาปัญหา อธิปรายปัญหา
- ตรวจสอบผลสำเร็จของโครงงาน
- ตรวจการนำเสนอโครงงานในที่ประชุม
 
            นักศึกษาต้องมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบครอบคลุมดังนี้
            - สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ
            - รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่มสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
            - มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
            - จัดกิจกรรมกลุ่มเน้นการเรียนแบบให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วม การจัดทำสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปใช้งานได้จริง
            - มอบหมายรายงานกลุ่ม และรายบุคคล
            - การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเปิดโอกาสให้ซักถาม
            - แทรกประสบการณ์การทำงานของอาจารย์ในระหว่างสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ
            - พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นของทักษะต่าง ๆที่จำเป็น
- ตรวจสอบผลสำเร็จของโครงงาน
 - ตรวจการนำเสนอโครงงานในที่ประชุม
            นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมดังนี้
            - มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ดี
            - มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ทางสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
            - สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
            - มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
            - ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลขจากสมการทางคณิตศาสตร์และสูตรคำนวณที่จำเป็น
            - ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปลบทความภาษาอังกฤษ การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
            - ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
            - ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองโดยการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์อื่นๆ
            - ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร
            - ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
            - เน้นการสอนที่ใช้ปัญหานำ ทฤษฏีตาม และการพัฒนาแนวคิดจากปัญหาเพื่อนำไปสู่การค้นพบ ข้อสรุปหรือทฤษฏีใหม่
            - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก Website สื่อการสอน e-Learning และทำรายงาน โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
            - นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
            - ท้าทายเชิงวิชาการต่อนักศึกษาในระหว่างการสอนโดยการตั้งคำถามที่มาจากปัญหาจริงในอุตสาหกรรม หรือบทความวิชาการ เพื่อให้นักศึกษาฝึกคิดหาวิธีการแก้ปัญหาและมีการสอนแบบเชิงปฏิบัติการให้นักศึกษาเรียนรู้จากสถานการณ์จำลอง
- การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.1.2  มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
6.2.3 สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานภายในและภายนอก
6.2.4 จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
6.2.5 สนับสนุนการทำโครงงาน
6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
6.3.2  มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน
6.3.3  มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
6.3.4  มีการประเมินโครงงานของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะ ทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 32089499 โครงงานวิศวกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-16 ส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 100%
คู่มือปริญญานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
            - การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
            - การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
            - แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
            - การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมการสอน
            - ผลการสอบ
            - การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
            - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
            - การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
            - การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ผู้สอน แต่อาจารย์ที่ทวนสอบต้องมีความรู้ในวิชานี้
            - มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
            - ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือ ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
            - เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนทุกปี เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ