หัวข้อคัดสรรในด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร 2

Selected Topics in Food Production and Innovation 2

หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้วผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ 2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในเทคโนโลยีการผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ทันสมัยและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ 3. อธิบายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกฎหมายและมาตรฐานสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในและต่างประเทศได้ 4. ลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ 5. อธิบายถึงความจำเป็นของการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ รวมทั้งปัจจัยความสำเร็จและความล้มเหลวในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ 6. มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 7. สามารถวิเคราะห์การตลาดของผลิตภัณฑ์และพฤติกรรมของผู้บริโภคในระดับท้องถิ่นและอุตสาหกรรมได้ 8. มีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์และกระบวนการ 9. มีความรู้ความเข้าใจการตลาดของธุรกิจเบเกอร์รี่
รายวิชานี้จะเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้านและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติให้ห้องปฏิบัติการ หาความรู้จากนอกสถานศึกษา และมีการคิด วิเคราะห์ พัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเรียนรู้กระบวนการของนวัตกรรมอย่างมีเหตุมีผล นอกจากนี้จะนำการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง มากขึ้น
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับอุปกรณ์ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สมบัติและการเปลี่ยนแปลงของวัตถุดิบที่ใช้ในผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับอุตสาหกรรม สุขลักษณะการจัดการโรงงานผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
 อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าห้องพักอาจารย์  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
1.1.1  มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 มีการคิด และวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง 1.2.2 อภิปรายกลุ่ม  
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนด ระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
 
นักศึกษาต้องทราบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  กฎหมายและมาตรฐานของสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งในและต่างประเทศ เข้าใจและลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีวางแผนอย่างเป็นระบบตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษาต้องทราบความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความสำคัญและบทบาทของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทดสอบความต้องการของผู้บริโภค  เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์  รูปแบบนวัตกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และการตลาด
 
 
 
 
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ นำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาและจากการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมมาใช้ในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้
3.2.1 มอบให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติในการแก้ไขโจทย์ปัญหาที่ให้ และนำเสนอผลการแก้ไขหน้าชั้นเรียน 3.2.2 อภิปรายกลุ่ม 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ  
3.3.1 สอบกลางภาคและปลายภาคโดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ หรือข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.3.2 วัดผลจากการประเมินการคิด วิเคราะห์โจทย์  การนำเสนอผลงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการวางแผนในการคิดและตัดสินใจในโจทย์ปัญหาต่างๆ  
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา   
 
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการแก้โจทย์ปัญหา  4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.2 ประเมินจากรายงานบุคคลที่ต้องใช้ข้อมูลจากเพื่อนร่วมชั้น      
 
5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.2 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.3 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม  

 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ จากการเก็บข้อมูลในการทดลองและในชีวิตประจำวัน และทำรายงานโดยเน้นกระบวนการวางแผนอย่างมีระบบ 5.2.2 การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย  
 
6.1.1 มีทักษะวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามสมรรถนะวิชาชีพที่สถานประกอบการต้องการ   6.1.2 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และสามารถบูรณาการความรู้ที่เรียนมาเพื่อพัฒนาต่อยอด ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ   6.1.3 มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพของตนเอง   
 
 
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้ที่เรียนมาทำการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย โดยให้ความสําคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต 
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก  6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย 6.3.3 พิจารณาจากแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบในโครงงานที่ได้รับมอบหมาย ใน รูปแบบของรายงาน ชิ้นงาน และสื่อต่างๆ  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3
1 ENGFI217 หัวข้อคัดสรรในด้านการผลิตและนวัตกรรมอาหาร 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 30% 30%
2 2.1 โครงงานและการนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 3.1 สอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Gutcho, M.H. 1976. Alcoholic Beverages Processes. Noyes Data Corporation New Jersey and London. pp. 10-106.
Amerine, M.A., Berg, H.W., Cruess, W.V. 1972. The Technology of Wine Making 3rd Ed. Avi Publications. West Port, USA, pp. 357-644. Aniche, G.N. 1982. Brewing of Lager Beer from Sorghum. Ph.D Thesis, University of Nigeria, Nsukka, Nigeria. Ault, R.G., Newton, R. 1971. In: Modern Brewing Technology, W.P.K. Findlay, (ed) Macmillan, London, UK. pp. 164-197. Bamforth, C. W. (1998) Beer: Tap into the Art and Science of Brewing. Plenum, London. Boulton, R. B., Singleton, V. L., Bisson, L. F. & Kunkee, R. E. (1996) Principles and Practice of Winemaking. Chapman & Hall, New York. Gutcho, M.H. 1976. Alcoholic Beverages Processes. Noyes Data Corporation New Jersey and London. pp. 10-106.
Hammond, J. R. M. (1993) Brewer’s yeasts. In The Yeasts, 2nd edition, Vol. 5: Yeast Technology (eds A. H. Rose & J. S. Harrison), pp. 7–67. Academic Press, London.
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียน
 
3.1 สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน 3.2 การวิจัยในชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม  
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ