การเขียนเชิงวิชาการ

Academic Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ การอ้างอิง และแก้ไขปรับปรุงงานเขียนเชิงวิชาการ
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2563) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน

สามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการหลากหลายและอธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่าย (4.0)

ปรับปรุง โดยปรับปรุงสื่อนำเสนอเพื่อประกอบการอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ด้านสื่อ

ตำราเอกสารประกอบการสอนมีความหลากหลายและเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า (4.0)

ปรับปรุง โดยแนะนำแหล่งความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนเชิงวิชาการให้กับนักศึกษา
                ด้านการประเมิน

มีการวัดผลสอดคล้องกับบทเรียน/เนื้อหาที่มีการเรียนการสอน (3.75)

ปรับปรุง โดยปรับปรุงแบบฝึกปฏิบัติ ข้อสอบกลางภาคและปลายภาคให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนให้มากยิ่งขึ้น
2.2  นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเขียนเชิงวิชาการ โดยมุ่งเน้นการฝึกทักษะในการถอดความ สรุปความ และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล การวางโครงร่าง การแก้ไขปรับปรุงงานเขียน เพื่อสร้างงานเขียนเชิงวิชาการในรูปแบบต่างๆ
          - จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
          - สร้างชั้นเรียนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา ให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามี
1.1.1 ความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสำนึกสาธารณะ เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น (ความรับผิดชอบหลัก 1.1)
1.1.2 ความสามารถในการวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบรอง 1.6)
1.2.1   ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณทางวิชาการในเนื้อหาของบทเรียน (plagiarism)
1.2.2    เสริมสร้างความมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.3    เสริมสร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อบุคคล องค์กร และสังคม ให้กับนักศึกษา โดยให้ใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า โดยไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
1.3.1   การทดสอบความเข้าใจเรื่อง plagiarism ในแบบฝึกปฏิบัติและการสอบปลายภาค
1.3.2    ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.3    ความตระหนักในผลกระทบของคอมพิวเตอร์ และความรับผิดชอบต่อตนเอง วัดจากการทำงานมอบหมายและการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ กระบวนการเขียน การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ รวมถึงความสามารถในการบูรณาการความรู้ในการเขียนกับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม โดยให้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านการเขียนในการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ความรับผิดชอบรอง 2.2)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ Active learning ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมมากที่สุด โดยให้นักศึกษาศึกษาความรู้จากบทเรียนต่างๆ แล้วฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.3.1 วัดความรู้ด้านทฤษฎีจากแบบฝึกปฏิบัติ การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
2.3.2 วัดความสามารถเชิงปฏิบัติจากผลงานมอบหมาย และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อม และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (ความรับผิดชอบรอง 3.1)
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ ตามหลักการเรียนรู้ของศตวรรษที่ 21 โดยให้นักศึกษาสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ และประเมินสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อใช้ในงานเขียนเชิงวิชาการด้วยตนเอง
3.3.1 วัดความรู้ด้านทฤษฎีจากแบบฝึกปฏิบัติและกิจกรรมในชั้นเรียน
3.3.2 วัดความสามารถเชิงปฏิบัติจากผลงานมอบหมาย และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
 
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง 4.4 และ 4.5)
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่องานเขียนที่นำมาเป็นตัวอย่าง และงานเขียนของตนเองและของเพื่อนร่วมชั้น
สังเกตจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ  เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ (ความรับผิดชอบรอง 5.2)
สาธิตตัวอย่างของการใช้สื่อ เทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีในการนำเสนอที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติการสร้างและนำเสนองานเขียนเชิงวิชาการโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ทั้งในรูปแบบรายงานและด้วยวาจา
สังเกตจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนานักศึกษาให้มีความรอบรู้และมีทักษะในการเขียนเชิงวิชาการ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย (ความรับผิดชอบหลัก 6.2)
ให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ ที่มุ่งเน้นทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้หัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในประเทศไทย
6.3.1 วัดความรู้ด้านทฤษฎีจากแบบฝึกปฏิบัติ การสอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
6.3.2 วัดความสามารถเชิงปฏิบัติจากผลงานมอบหมาย และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC126 การเขียนเชิงวิชาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1, 2.2 การสอบกลางภาค 9 15%
3 1.1, 2.2 การสอบปลายภาค 17 15%
4 1.1, 2.2 แบบฝึกปฏิบัติ 2-8, 10-15 30%
5 6.2 งานมอบหมาย (3 ชิ้นงาน) 8, 13, 16 30%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนเชิงวิชาการ
Bailey, Stephen. 2011. Academic Writing: A handbook for International Students. 3rd edition. New York: Routledge. Cohen, R. and Miller, J. L. 2003. Reason to Write: Strategies for Success in Academic Writing. Oxford: Oxford University Press. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Folse, K. S. and Pugh, T. 2007. Greater Essays. USA: Thomson Heinle. Geyte, Els Van. 2013. Writing: Learn to Write Better Academic Essays. London: Harper Collins Publishers. Hogue, Ann. 1996. First Steps in Academic Writing. Addison-Wesley Publishing Company. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: CUP. Jordan, R. R. 1999. Academic Writing Course: Study Skills in English. Essex: Pearson Education Limited. Leki, I. 1998. Academic Writing: Exploring Processes and Strategies. 2nd Edition. Cambridge: Cambridge University Press. Meyers, A. 2005. Gateways to Academic Writing. New York: Pearson Education, Inc. Oshima, A. and Hogue, A. 1999. Writing Academic English. 3rd Edition. New York: Addison-Wesley Longman. Oshima, A. and Hogue, A. 2007. Introduction to Academic Writing. 3rd Edition. New York: Pearson Education. Savage, A. and Shafiei, M. 2007. Effective Academic Writing 1: The Paragraph. New York: Oxford University Press. Veit, R., Gould, C. and Clifford, J. 2001. Writing, Reading and Research. 5th ed. USA: Allyn & Bacon (Longman). Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ

 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
๓.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 รวมถึงการนำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลการเรียนรู้สอดคล้องตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา ข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งกลางภาคและปลายภาค และเกณฑ์การประเมินผลงาน
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4