การเขียนเชิงวิชาการ

Academic Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ กระบวนการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ อ้างอิง และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่างๆ
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2563) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน

สามารถถ่ายทอดความรู้ด้วยวิธีการหลากหลายและอธิบายได้ชัดเจนเข้าใจง่าย (4.0)

ปรับปรุง โดยปรับปรุงสื่อนำเสนอเพื่อประกอบการอธิบายให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
                ด้านสื่อ

ตำราเอกสารประกอบการสอนมีความหลากหลายและเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า (4.0)

ปรับปรุง โดยแนะนำแหล่งความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนเชิงวิชาการให้กับนักศึกษา
                ด้านการประเมิน

มีการวัดผลสอดคล้องกับบทเรียน/เนื้อหาที่มีการเรียนการสอน (3.75)

ปรับปรุง โดยปรับปรุงแบบฝึกปฏิบัติ ข้อสอบกลางภาคและปลายภาคให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่สอนให้มากยิ่งขึ้น
2.2  นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
ศึกษาการเขียนระดับความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการประเภทต่างๆ โดยการค้นคว้า รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ สังเคราะห์ และเผยแพร่ผลงานในรูปแบบงานเขียนผ่านสื่อต่างๆ
          - จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
          - สร้างชั้นเรียนแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา ให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 ความมีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.1.2 ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับหลักจรรยาบรรณของการอ้างอิงข้อมูลวิชาการในเนื้อหาของบทเรียน
1.2.2 สร้างความมีวินัย ความขยัน และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.3 เสริมสร้างความรับผิดชอบต่อตนเองให้กับนักศึกษา โดยการแจ้งเกณฑ์การประเมินผลงานให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า เพื่อให้นักศึกษามีเป้าหมายในการทำงาน และรับผิดชอบต่อผลงานของตน
1.3.1 ความเข้าใจในเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ วัดจากการสอบกลางภาคและปลายภาค และจากผลงานข้อเขียนที่มอบหมาย
1.3.2 ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.3 ความรับผิดชอบต่อตนเอง วัดจากผลงานมอบหมายและการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา
2.1.1 ทางทฤษฎี เน้นความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ กระบวนการเขียน การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อนำมามาใช้ในการเขียนความเรียง
2.1.2 ทางปฏิบัติ เน้นการฝึกเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการเป็นภาษาอังกฤษ โดยมีการบูรณาการความรู้กับศาสตร์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
2.1.3 การถ่ายทอดความรู้ที่ค้นคว้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในรูปของความเรียงหลายย่อหน้า
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษา แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากการทดสอบย่อย / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการเขียนความเรียงเชิงวิชาการที่มอบหมาย
2.3.3 การถ่ายทอดองค์ความรู้ วัดจากผลงานจากการค้นคว้าของนักศึกษา และการนำมาถ่ายทอดในรูปของความเรียงเชิงวิชาการตามที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียน โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้าน
3.1.1 การนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาถ่ายทอดในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ ที่พัฒนาโดยใช้การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และสร้างสรรค์
3.1.2 การนำความรู้จากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือมาประยุกต์และถ่ายทอดในการเขียนความเรียงหลายย่อหน้าเชิงวิชาการ อย่างเป็นระบบ
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน
3.2.1 ให้นักศึกษาศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
3.2.2 ให้นักศึกษาฝึกทักษะการสรุปความคิดรวบยอด และนำความรู้มาประยุกต์และถ่ายทอดในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics) โดยบูรณาการกับผลการวิจัยเรื่อง “การเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้โดยใช้โครงงานอินโฟกราฟิกส์เป็นฐาน”
3.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ
3.3.1 การทำงานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
3.3.2 การถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics)
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการทำงานเป็นทีม โดยการช่วยกันค้นคว้าหาคำตอบ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกการแปลงานเขียนประเภทต่างๆ
4.3.1 ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2 ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3 สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้ในการเขียนเชิงวิชาการอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเขียนเชิงวิชาการ โดยบูรณาการกับผลการวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนโดยใช้เทคโนโลยีเป็นฐานด้วยหลักการ 3 ระยะต่อเนื่อง”
ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031330 การเขียนเชิงวิชาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.1, 2.2 การสอบกลางภาค 8 15%
3 1..1, 2.2 การสอบปลายภาค 7 15%
4 1..1, 2.2 แบบฝึกปฏิบัติ 2-7, 9-16 30%
5 1.6, 3.1, 5.2, 6.2 งานมอบหมาย 3-16 30%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนเชิงวิชาการ
Blanchard, K. and Root, C. 1994. Ready to Write: A First Composition Text. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Blanchard, K. and Root, C. 1997. Ready to Write More: From Paragraph to Essay. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Cohen, R. and Miller, J. L. 2003. Reason to Write: Strategies for Success in Academic Writing. Oxford: Oxford University Press. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Folse, K. S. and Pugh, T. 2007. Greater Essays. USA: Thomson Heinle. Hogue, Ann. 1996. First Steps in Academic Writing. Addison-Wesley Publishing Company. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: CUP. Jordan, R. R. 1999. Academic Writing Course: Study Skills in English. Essex: Pearson Education Limited. Meyers, A. 2005. Gateways to Academic Writing. New York: Pearson Education, Inc. Oshima, A. and Hogue, A. 1999. Writing Academic English. 3rd Edition. New York: Addison-Wesley Longman. Savage, A. and Mayer, P. 2005. Effective Writing 2. New York: Oxford University Press. Veit, R., Gould, C. and Clifford, J. 2001. Writing, Reading and Research. 5th ed. USA: Allyn & Bacon (Longman). Wyrick, J. 2005. Steps to Writing Well. 9th ed. USA: Thomson Wadsworth. Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียงเชิงวิชาการ และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบประเมินผลการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 รวมถึงการนำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4