การอ่านแปลความ

Interpretive Reading

เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ เพื่อจับประเด็นสำคัญ วิเคราะห์ สรุป ตีความ จับเจตนาของข้อความที่อ่าน และประเมินทัศนคติของผู้เขียน
2.1 นำผลการประเมินรายวิชาจากครั้งก่อน (ภาค 1/2563) มาปรับปรุงในแต่ละด้าน ดังนี้
      ด้านการสอน

แนะนำนักศึกษาให้พัฒนาวิธีการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง จากตำรา/เอกสาร/อินเตอร์เน็ตหรือแหล่งวิทยาการอื่น ๆ (4.0)

ปรับปรุง โดยแนะนำแหล่งความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา
                ด้านการประเมิน

ตำรา/เอกสารประกอบการสอน มีความหลากหลายและเพียงพอในการศึกษาค้นคว้า (4.0)

ปรับปรุง โดยแนะนำแหล่งความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะการอ่านเพิ่มเติมให้กับนักศึกษา
 
2.2 เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและรูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอน ให้เหมาะสมกับการจัดการเรียนการสอนทั้งในชั้นเรียนและในการสอนออนไลน์
ศึกษาการฝึกอ่านอย่างมีวิจารณญาณเพื่อจับประเด็นสำคัญ วิเคราะห์ สรุปความ ตีความ จับเจตนาของข้อความที่อ่าน และประเมินทัศนคติของผู้เขียน
          - จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
          - สร้างชั้นเรียนออนไลน์ เพื่อจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา รวมถึงให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม และงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ความรับผิดชอบรอง 1.5)
1.1.2. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบด้านคุณธรรม จริยธรรม ที่จะเกิดขึ้นกับบุคคล องค์กร และสังคมจากการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสาร (ความรับผิดชอบหลัก 1.6)
1.2.1 เสริมสร้างทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยชี้ให้นักศึกษาเห็นถึงประโยชน์ของการพัฒนาทักษะการอ่าน การทำความเข้าใจในจุดประสงค์ของผู้เขียนข้อความที่อ่าน และการรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนร่วมชั้น
1.2.2 เสริมสร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่อบุคคล องค์กร และสังคม โดยคัดเลือกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของเทคโนโลยีมาเป็นข้อความในการฝึกทักษะการอ่าน
1.3.1    ทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สังเกตจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.2    ความตระหนักในผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ วัดจากความเข้าใจในเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศที่อ่านในแบบฝึกปฏิบัติ การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้นให้นักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่ สำคัญในเนื้อหาของรายวิชา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง (ความรับผิดชอบหลัก 2.1)
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเรียน ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา และการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวัน (ความรับผิดชอบหลัก 2.2)
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ Active learning โดย
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษา แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 คัดเลือกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับปัญหาและสถานการณ์ทั่วไปในชีวิตประจำวัน
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการอ่านแปลความทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากแบบฝึกปฏิบัติ / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานที่มอบหมายและกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียน โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้านการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมด้วยตนเอง (ความรับผิดชอบหลัก 3.1)
ยึดหลักการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติทักษะด้านการสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ และนำทักษะเหล่านั้นมาใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างเหมาะสม
2.3.1 ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากแบบฝึกปฏิบัติ / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2 ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานที่มอบหมายและกิจกรรมในชั้นเรียน
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ กับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ความรับผิดชอบรอง 4.4 และ 4.5)
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อข้อเขียนต่าง ๆ ที่อ่าน และอภิปรายเพื่อหาข้อสรุปร่วมกันในชั้นเรียน
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจ และการมีส่วนรวมของนักศึกษาในกิจกรรมกลุ่ม
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอธิบายและสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ  เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ (ความรับผิดชอบรอง 5.2)
สาธิตตัวอย่างของการใช้สื่อ เทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีในการนำเสนอที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ และส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสได้ฝึกปฏิบัติการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือ ทั้งในรูปแบบการเขียนและด้วยวาจา
สังเกตจากการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6
1 BOAEC116 การอ่านแปลความ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.5, 4.4, 4.5, 5.2 การเข้าชั้นเรียน และการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 1.6, 2.1, 2.2, 3.1 แบบฝึกปฏิบัติ 2-7, 9-16 50%
3 1.6, 2.1, 2.2, 3.1 การสอบกลางภาค 8 20%
4 1.6, 2.1, 2.2, 3.1 การสอบปลายภาค 17 20%
ไม่มี
เอกสารประกอบการสอนวิชาการอ่านแปลความ
Armstrong, Nathan. 2015. Speed Reading: The Comprehensive Guide to Speed Reading. Blanchard, K and Root, C. 2005. Ready to Read Now. NY: Pearson Education, Inc. Craven, Miles. 2003. Extending Reading Keys. Oxford: Macmillan Education. Dyer, Brenda and Bushell Brenda. 2003. Global Outlook 1: High Intermediate Reading. New York: McGraw-Hill Co Dyer, Brenda and Bushell Brenda. 2003. Global Outlook 2: Advanced Reading. New York: McGraw-Hill Co. Engelhardt, Diane. 2013. Advanced English Reading and Comprehension. NY: McGraw-Hill Education. Fry, Edward B. 2000. Reading Drills: Elementary Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc. Fry, Edward B. 2000. Reading Drills: Middle Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc. Fry, Edward B. 2000. Reading Drills: Advanced Level. Illinois: NTC/Contemporary Publishing Group, Inc. Mikulecky, Beatrice S. and Jeffries, Linda. 1996. More Reading Power. USA: Addison-Wesley Publishing Company. Mikulecky, Beatrice S. and Jeffries, Linda. 1997. Basic Reading Power. NY: Addison-Wesley Longman. Mikulecky, Beatrice S. and Jeffries, Linda. 2007. Advanced Reading Power. NY: Pearson Education Inc. Quinn, Arthur. 2010. Figures of Speech: 60 Ways to Turn a Phrase. New York: Routledge. Wiener Harvey S. and Bazerman Charles. 2006. Basic Reading Skills Handbook. 6th Edition. New York: Pearson Education, Inc. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการอ่าน และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 ข้อเสนอแนะจากกรรมการผู้ตรวจประเมินรายวิชา
          2.2 ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 นำผลการประเมินจากภาคเรียนที่ผ่านมา และข้อเสนอแนะจากการทวนสอบรายวิชา มาดำเนินการปรับปรุงเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน ลักษณะของงานมอบหมาย สื่อประกอบการเรียนการสอน แบบฝึกปฏิบัติ และข้อสอบกลางภาค-ปลายภาค
3.2 นำแนวปฏิบัติในการออกแบบกิจกรรมตามหลักการ 21st Century Learning Design ของ Microsoft มาปรับใช้กับกิจกรรมที่กำหนดให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4