ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์

Geographic Information System

“ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นระบบการจัดเก็บข้อมูล วิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลเชิงพื้นที่เพื่อนำใช้ประโยชน์ได้ในหลายๆ มิติ เช่นทางการทหาร การบริหารจัดการพลเมือง และวิกฤติการต่างๆ รวมถึงเชิงพาณิชย์ การท่องเที่ยว วันนี้หลายองค์กรได้นำความสามารถของมันมาใช้ จนทำให้หลายๆ เหตุการณ์คลี่คลายลงได้”
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจหลักการและทฤษฎีของภูมิสารสนเทศ เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้การทำงานของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ การวางแผนและการจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ รวมทั้งนำความรู้ด้านเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศไปประยุกต์ใช้กับงานที่รับผิดชอบด้วยความเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพ
หลักการ แนวคิดระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ การจัดการฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ ระบบซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โครงสร้างฐานข้อมูลและฐานข้อมูลลักษณะสัมพันธ์ ฟังก์ชั่นต่าง ๆ ของระบบ การนำเข้า การแก้ไขและการแปลงข้อมูล การวิเคราะห์ และการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    3.1 วันจันทร์ อังคาร พุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์
    3.2 อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านสื่อออนไลน์ Facebook ในกลุ่มห้อง
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา อภิปรายกลุ่ม/ทำงานเดี่ยว/กลุ่ม หรือ ส่วนตัวส่งเป็นชิ้นงาน นำเสนองานที่สามารถเชื่อมต่อกับการพัฒนาโปรแกรมได้เพื่อเป็นชิ้นงาน
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาจากการใช้งานจริง
4. ประเมินผลงานการพัฒนาและให้สมาชิกสอบถามและแนะนำ
การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์เพื่อเชื่อมต่อกับงานภูมิศาสตร์โดยใช้ Qgis และ Map online
บรรยาย อภิปราย ฝึกปฏิบัติ การทำงานกลุ่ม การนำเสนอใบงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาจากงานที่มอบหมายหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ โดยเป็นโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1. ทดสอบปฏิบัติย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมและทฤษฏีเนื้อหา
2. ประเมินจากการเขียนโปรแกรมตามที่มอบหมาย และนำเสนอผลการทำงานของเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศจากกรณีศึกษาที่นักศึกษาค้นคว้าและสร้างเอง หรือมีโจทย์จาก Problem – based Learning จากชีวิตประจำวัน
1. คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
2. สามารถสืบค้นตีความและประเมินสารสนเทศเพื่อให้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถรวบรวมศึกษาวิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
4. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1. การมอบให้นักศึกษาที่ได้ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาจากการที่นักศึกษาได้ค้นคว้าเอง และนำเสนอผลงานของตนเอง
2. อภิปรายลักษณะงานด้านภูมิสารสนเทศ
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีอย่างที่เหมาะสม
4. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติและการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยออกในรูปแบบผลงานนักศึกษาที่ได้ปฏิบัติจริง
1. สอบกลางภาคและปลายภาค
2. วัดผลจากการประเมินงานที่มอบหมาย
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างปฏิบัติงาน
1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ
2. สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกเเก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมพร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6.  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่องคุณสมบัติต่างๆ นี้สามารถวัดระหว่างการทำกิจกรรรมร่วมกัน
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การทำใบงาน และวิเคราะห์โจทย์นำมาใช้งาน ทั้งตัวอย่างในชีวิตประจำวัน
3. การนำเสนอผลงาน
1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานของนักศึกษา
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
1. มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
2. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียนเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และสร้างแนวคิดมาเป็นรูปแบบผลงาน  และทำรายงานรูปเล่มรวบรวมผลงานโดยเน้นการสร้างชิ้นงานให้ถูกต้องตามมาตรฐานสากล และเป็นที่ยอมรับของผู้ใช้งาน
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีสำหรับการนำคอมพิวเตอร์ไปนำเสนอที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน ผลงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีนำเสนอตามผลงานในลักษณะงานของนักศึกษา
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปราย  วิธีการตอบ
เรียนรู้ระบบพิกัด สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปประยุกต์ใช้กับงานภูมิศาสตร์ได้
เรียนตามเนื้อหา และการมอบหมายชิ้นงานให้ทำ
ประเมินจากชิ้นงาน และพฤติกรรมระหว่างเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทาง ปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5.ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลข การ สื่อสาร และ การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 BSCCT211 ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 กลางภาค ปลายภาค โครงงาน Mini Project Main Project เข้าห้องเรียน ตอบคำถาม การมอบหมายงาน และสังเกตุระหว่างเรียน ตามความเหมาะสม ตลอดทั้งเทอม กลางภาค 30% ปลายภาค 30% Mini Project 10% Main Project 20% เข้าห้องเรียน ตอบคำถาม 10 %
ชฏา ณรงค์ฤทธิ์. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อม. พิษณุโลก : คณะเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2548. ดวงเดือน อัศวสุธีรกุล. เอกสารประกอบการสอนวิชาภูมิสารสนเทศเบื้องต้น. พิษณุโลก : คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2557. สถานภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวร. คู่มือการอบรมเชิงปฏิบัติการการประยุกต์ใช้โปรแกรม QGIS. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2558. สุระ พัฒนเกียรติ. ระบบภูมิสารสนเทศในทางนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ : ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ยูไนเต็ดโปรดักชั่น, 2546. สุเพชร จิรขจรกุล. เรียนรู้ระบบภูมิสารสนเทศด้วยโปรแกรม ArcGIS Desktop 9.3.1. นนทบุรี : บริษัท เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด, 2552. ISBN 978-974-300-882-5 สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2547. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ. เอกสารประกอบการสอนเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ.กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน), 2552. ISBN 978-616-12-0115-9 หรรษา วัฒนานุกิจ. GIS ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์/ระบบภูมิสารสนเทศ. โรงพิมพ์ฟิสิกส์เซ็นเตอร์, 2547.