การบัญชีบริหาร

Managerial Accounting

1.1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการและวิธีการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การควบคุมสินค้าคงคลัง 
1.2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินการปฏิบัติงาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การนำข้อมูลด้านต้นทุนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
2.1 เพื่อพัฒนาความรู้ของนักศึกษาในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ
2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาและฝึกปฎิบัติการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของฝ่ายบริหารภายใต้สภาวการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ กำไร การบริหารต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนรวม ระบบต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินผลการปฏิบัติงาน การประยุกต์ใช้การบัญชีต้นทุนและการวิเคราะห์ข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และสามารถขอคำปรึกษาได้ผ่านทาง Facebook กลุ่ม และ Message Facebook ของอาจารย์ผู้สอนโดยตรง
(1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 
(2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
(3) มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
(1) สร้างวัฒนธรรมองค์กรในสาขาวิชาเพื่อปลูกจิตสำนึกให้กับอาจารย์และบุคลากร ในการรักษาระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย ความมีส่วนร่วมในการพัฒนาสาขาฯ คณะและมหาวิทยาลัย การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบในหน้าที่และความซื่อสัตย์สุจริต
(2) การสอนสอดแทรกในเรื่องคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในรายวิชา
(3) กำหนดกติกาการเข้าเรียน การส่งงานและการมีส่วนร่วมในการสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในชั้นเรียน
(4) จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
(1) สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียนและความรับผิดชอบในการส่งงานที่ได้รับมอบหมายอย่างตรงเวลา
(2) มีการอ้างอิงเอกสารที่นำมาใช้ในการรายงาน/งานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้อง ชัดเจนและเหมาะสม
(1) ความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี เกี่ยวกับวิธีการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปรการกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินการปฏิบัติงาน 
(2) ความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องมือการบริหารแบบใหม่ เช่น การบริหารจัดการทรัพยากรขององค์กร (Enterprise Resource Planning: ERP) การใช้แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจ (Corporate Social Responsibility: CSR) เป็นต้น 
(3) ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์ 
(4) สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยเรียนรู้การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีต้นทุนเพื่อการตัดสินใจอย่างต่อเนื่องจากข่าวสารทางวิชาชีพผ่านสื่อออนไลน์ 
(1) การเรียนการสอนที่เน้นสมรรถนะมีการบรรยาย การฝึกปฏิบัติและมุ่งเน้นวิธีการปฏิบัติที่ทำให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติงานได้จริงจากการเรียนรู้
(2) การเรียนการสอนที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง มุ่งเน้นวิธีการให้ผู้เรียนศึกษาและแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากการมอบหมายงานให้ฝึกปฏิบัติ
(3) การสอนแบบบรรยายและอภิปราย มุ่งเน้นการถ่ายทอดความรู้จากผู้สอนและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกัน มุ่งสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนโดยการตั้งคำถาม ให้คิดวิเคราะห์เพื่อการค้นหาคำตอบที่ผู้เรียนต้องการเรียนรู้และจำเป็นต่อการศึกษาความรู้ที่ทันสมัยด้วยตนเองเป็นหลัก
(1) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้เพื่อแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ
(2) ตรวจสอบงานที่ได้รับมอบหมายทั้งแบบฝึกหัดและกรณีศึกษาพิเศษ
(3) สังเกตพฤติกรรมการเรียนและการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ ทั้งการถามตอบในชั้นเรียนและการทำแบบฝึกหัด
(1) สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของธุรกิจได้ 
(2) สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 
(3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 
(1) การบรรยาย การยกตัวอย่าง กรณีศึกษา และการถามตอบในชั้นเรียน
(2) เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้าและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) แบบฝึกหัดจากหนังสือและแบบฝึกหัดพิเศษ
(2) การสอบวัดผลในรายวิชา
(3) การประเมินจากผลงานของนักศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 
(2) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 
(3) มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน 
(4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง 
(1) กำหนดหัวข้อให้นักศึกษาทำงานกลุ่มเพื่อเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น
(2) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(1) ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานของนักศึกษา
(2) สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาเป็นรายบุคคลและพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
(1) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอ ที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน  
(1) มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติและพัฒนาความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ที่จำเป็น เช่น การค้นคว้าด้วยตนเองทางสื่อออนไลน์ หรือการจัดทำและนำเสนอโดยการใช้ Power point
(2) จัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
(3) เพิ่มเติมการใช้โปรแกรม Excel ในการช่วยคำนวณและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการ
(1) ประเมินผลงานจากสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมและทันสมัย
(2) ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและการอภิปรายผล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC132 การบัญชีบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. คุณธรรม จริยธรรม -การเข้าเรียน ไม่น้อยร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด -ประวัติการส่งงานตามที่มอบหมายตรงตามกำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 4 15%
3 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สอบกลางภาค 9 20%
4 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 11 15%
5 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เล่มรายงานฉบับสมบูรณ์และการนำเสนอรายงาน 17 10%
6 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สอบปลายภาค 18 30%
การบัญชีเพื่อการจัดการ โดย ผศ.ดร.สมชาย สุภัทรกุล และ รศ.ดร.มนวิกา  ผดุงสิทธิ์ พิมพ์ครั้งที่ 3 (มกราคม 2562)
Management Accounting: A Focus on Decision Making by Jackson Sawyers
Introduction to Managerial accounting 6th Edition by Peter C. Brewer, Ray H. Garrison and Eric W. Noreen (2015) แปลและเรียบเรียงโดย ผศ.ดร.แพร กีระสุนทรพงษ์ ผศ.ดร.ประภาภรณ์ เกียรติกุลวัฒนา ผศ.ดร.วชิระ บุณยเนตร และ ผศ.ดร.พงศ์พรต ฉัตราภรณ์
การบัญชีบริหาร โดย รศ.เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ (พ.ศ.2555)
การบัญชีต้นทุน โดย รศ.ดร.มนวิกา  ผดุงสิทธิ์ (พ.ศ.2557)
การบัญชีต้นทุน โดย รศ.สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์ (พ.ศ.2555)
ข้อมูลความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชีที่
เว็บไซต์ของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เว็บไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th
จดหมายข่าวของสภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์ (FAP Newsletter)
1.1 การสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนรายบุคคลและผู้เรียนรายกลุ่ม
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค
1.4 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.1 ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
2.2 ผลการสอน การดำเนินการจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับแผนบริหารการสอน
2.3 สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2.4 ผลงานของนักศึกษาที่ได้มอบหมายในระหว่างเรียนและผลการสอบปลายภาคเรียน
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ
3.1 แก้ไขเนื้อหาและยกตัวอย่าง กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์ธุรกิจ กรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจของธุรกิจให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
3.2 สอบถามนักศึกษาถึง การเพิ่มเติมในสิ่งที่ต้องการเรียนรู้
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
4.1 มีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มของผู้เรียน โดยผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาที่ผิดปกติหรือไม่ และมีการแจ้งผลของคะแนนที่ได้รับเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
4.2 ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
5.1 นำข้อมูลที่ได้ผลจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในรายวิชา การประเมินผู้สอนและนำผลการสอนมาใช้พัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนในปีการศึกษาต่อไปให้ดีขึ้น
5.2 ปรับปรุงเนื้อหารายวิชาทุกปี (เพิ่มเติมตัวอย่างที่ทันสมัยให้มากขึ้น)