การอนุรักษ์และการจัดการพลังงานไฟฟ้า

Electrical Energy Conservation and Management

1.1 เข้าใจหลักการพื้นฐานของประสิทธิภาพพลังงาน นโยบายและกฎหมายด้านพลังงาน มาตรฐานการจัดการพลังงาน 1.2 เข้าใจหลักการควบคุมประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม 1.3 เข้าใจหลักการคิดอัตราค่าไฟฟ้า การจัดการภาระทางไฟฟ้า การตรวจวัดและวิเคราะห์พลังงาน 1.4 มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและมาตรการประหยัดพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์มอเตอร์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ระบบความร้อน การระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบผลิตพลังงานร่วม 1.5 สามารถประเมินศักยภาพการประหยัดและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ได้
เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้ และนำไปใช้เกี่ยวกับ นโยบายและกฎหมายด้านพลังงาน มาตรฐานการจัดการพลังงาน หลักการควบคุมประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม  มีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีและมาตรการประหยัดพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์มอเตอร์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ระบบความร้อน การระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบผลิตพลังงานร่วม และสามารถประเมินศักยภาพการประหยัดและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ได้
ศึกษาเกี่ยวกับหลักการพื้นฐานของประสิทธิภาพพลังงาน นโยบายและกฎหมายด้านพลังงาน มาตรฐานการจัดการพลังงาน หลักการควบคุมประสิทธิภาพพลังงานไฟฟ้าในอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม การคิดอัตราค่าไฟฟ้า การจัดการภาระทางไฟฟ้า การตรวจวัดและวิเคราะห์พลังงาน เทคโนโลยีและมาตรการประหยัดพลังงานอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่าง อุปกรณ์มอเตอร์อุตสาหกรรมอุปกรณ์ระบบความร้อน การระบายอากาศและปรับอากาศ ระบบผลิตพลังงานร่วม การประเมินศักยภาพการประหยัดและผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดําเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคํานึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละรายวิชา ต้องส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่าง ๆ ดังนี้
1 มีจิตสํานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ นอกจากนั้น ยังมีการส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาวิชาชีพผ่านทางการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตร ซึ่งอาจารย์ผู้สอนสามารถสอดแทรกเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับจรรยาวิชาชีพ และสามารถจัดให้มีการวัดผลแบบมาตรฐานในด้านคุณธรรม จริยธรรมทุกภาคการศึกษา ด้วยการสังเกตพฤติกรรมระหว่างการทํากิจกรรม และมีการกําหนดคะแนนในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมให้เป็นส่วนหนึ่งของคะแนนจิตพิสัยในชั้นเรียน นักศึกษาที่คะแนนความประพฤติไม่ผ่านเกณฑ์อาจต้องทํากิจกรรมเพื่อสังคมเพิ่มก่อนจบการศึกษา 
กําหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทํางานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นํากลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทําการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทําดี ทําประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกําหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3 ปริมาณการกระทําทุจริตในการสอบ
4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
5 ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ คือ
1 การทดสอบย่อย 2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทํา 4 ประเมินจากโครงการที่นําเสนอ 5 ประเมินจากการนําเสนอรายงานในชั้นเรียน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งพาตนเองได้เมื่อจบการศึกษาดังนั้นนักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้าน วิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษา ที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
2 มีทักษะในการนําความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทํางาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบ ของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จําลอง และกรณีศึกษาของแต่ละสาขาวิชาชีพเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
การวัดและประเมินใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กําหนดให้ ตามสภาพจริงจากผลงาน โครงงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
1. สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้
2. วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่ จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจําเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้าน สังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่าง ๆ นี้
1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2 มีภาวะความเป็นผู้นําและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3 สามารถทํางานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกําหนดกิจกรรมให้มีการทํางานเป็นกลุ่ม การทํางานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบดังนี้
1 สามารถทํางานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
4 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
5 มีภาวะผู้นํา
การวัดและประเมินผลทําได้โดยการสังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทํากิจกรรมกลุ่ม ทั้งในและนอกชั้นเรียน และผลสะท้อนกลับจากการฝึกประสบการณ์ต่าง ๆ เช่น
1 พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนําเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
2 พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาชีพ ด้วยเหตุนี้ ผู้สอนต้องใช้เทคโนโลยีในการสอนเพื่อฝึกให้นักศึกษามีคุณสมบัติ ดังนี้
1. ทักษะการคิดเชิงวิศวกรรม
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ดําเนินการสอนด้วยกิจกรรมที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนําเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
3 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนําเสนอผลงาน
4 ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
1 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
2 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3 ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนําเสนอผลงาน
4 จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรม จริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 TEDEE125 การอนุรักษ์และการจัดการพลังงานไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 4.3 และ 5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
2 2.3, 3.2, 4.3 และ 5.1 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย 8 และ 16 15%
3 1.3, 2.3 และ3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 9 11 17 10% 25% 10% 25%
1.1  สิทธิพงษ์  เพ็งประเดิม (2564) เอกสารประกอบการสอนรายวิชา TEDEE125 การอนุรักษ์และการจัดการพลังงานไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก
1.2  สมพร เรืองสินชัยวานิช (2559) เอกสารประกอบการสอนการจัดการและอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
1.3 กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน. (ม.ป.ป.). คู่มือการบริหารการจัดการพลังงานไฟฟ้า.
1.4 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน. (ม.ป.ป.). การอนุรักพลังงานในระบบไฟฟ้า.
1.5 โยชิฮิโกะ ทาคามูระ. (2527). เทคนิคการประหยัดพลังงาน ภาคความร้อน. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
1.6 วัชระ มั่งวิทิตกุล. (2550). กระบวนการและเทคนิคการลดค่าใช้จ่ายพลังงาน สำหรับอาคารและโรงงานอุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: เรียล ยู พาวเวอร์.
1.7 ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์. (2548). เทคนิคการอนุรักษ์พลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
1.8 ศิริกัลยา สุวจิตตานนท์. (2554). เทคโนโลยีการจัดการและการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
•พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 •พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. 2550 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) •กฎกระทรวง กําหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. ๒๕๕๒
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านทาง Facebook กลุ่ม  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ก่อนการสอนมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยผู้สอน และปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและวิธีการสอน หลังการสอนมีการวิเคราะห์ผลการประเมินโดยนักศึกษา และวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา นำผลการวิเคราะห์การประเมินมาปรับปรุง โดยรวบรวมจากปัญหาและข้อเสนอแนะ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ
2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ