การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์

Organic Livestock Production

1.1 เข้าใจหลักการพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์
1.2 เข้าใจระบบ และรูปแบบการเลี้ยงปศุสัตว์อินทรีย์
1.3 เข้าใจกระบวนการรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์
1.4 เข้าใจการจัดทำต้นทุนการผลิตและการจำหน่ายสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญา ประสบการณ์ ในการนำความรู้ ความเข้าใจในหลักการทำผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ผู้สอนได้มีการปรับปรุงเนื้อหาและหรือยกตัวอย่างประกอบที่ทันสมัย หลากหลายให้สอดคลองกับสถานการณ์ปัจจุบันในทุกภาคเรียน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ความหมาย ความสำคัญ หลักการพื้นฐานเกษตรอินทรีย์และ ปศุสัตว์อินทรีย์ รูปแบบการผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ การรับรองมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์ ต้นทุนการผลิตและการจำหน่าย
3.1 วันพุธ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องพักอาจารย์ โทร...054-710-259 
3.2 e-mail; mamsupanan@gmail.com ทุกวัน
3.2 MS Teams กลุ่ม OLP 1-64  ทุกวัน
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรก เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ ดังนี้
(1) มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
(2) มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

 
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบ โดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรมจริยธรรมในการสอนทุกรายวิชารวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดีทำประโยชน์แก่ส่วนรวมและเสียสละ เป็นต้น
(1) ประเมินการมีวินัยจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรมที่กำหนด
(2) ประเมินจากความพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(3) ประเมินจากความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
(4) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(5) ประเมินจากผลงานที่ไม่คัดลอกผลงานผู้อื่นหรือมีการอ้างอิงเอกสารทางวิชาการเพื่อให้เกียรติแก่เจ้าของผลงาน
(6) ประเมินจากพฤติกรรมในการทำงานในชั้นเรียนที่ไม่เลือกปฏิบัติและการไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
ด้านความรู้
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพทางการเกษตรเพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
(1) มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่าง
ถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
(2) มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ใน
การดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและประยุกต์ทางปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมีการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4) ประเมินจากแผนงานหรือโครงการที่นำเสนอ
(5) ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
ด้านทักษะทางปัญญา
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้วดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรมและความรู้ ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
(1) สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
(2) สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์
จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
(3) ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
(1) บทบาทสมมติ สถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาทางการเกษตร เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจ ประเมินข้อมูลและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย
(2) การอภิปรายกลุ่มเพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ข้อมูลและประยุกต์ใช้ข้อมูลที่ได้มาหรือเลือกใช้ความรู้ที่เรียนมาแก้ไขโจทย์ปัญหาที่กำหนด
(3) ให้นักศึกษาปฏิบัติจริงเพื่อแก้ไขปัญหาสถานการณ์เฉพาะหน้า
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
(1) ประเมินจากผลงานการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
(2) การสัมภาษณ์หรือการสอบปากเปล่า
(3) การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือข้อสอบ
ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลอื่น ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกการสอนที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางสังคมดังต่อไปนี้
(1) ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
(2) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม
และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นหรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่นหรือผู้มีประสบการณ์ ดังนี้
(1) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
(2) มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
(3) สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้
(4) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
(5) มีภาวะผู้นำและผู้ตามในการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
(6) สามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ในยุคปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญในชีวิตประจำวันและการประกอบอาชีพ นักศึกษาต้องมีความรู้และมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารและการพัฒนาตนเอง ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรมและความรู้ด้านเกษตรศาสตร์ ดังนี้
(1) มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
(2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองสถานการณ์เสมือนจริงหรือแก้ไขปัญหาจากกรณีศึกษาหรือในการปฏิบัติงานจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
(1) ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอและการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศหรือทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขที่เกี่ยวข้องในการนำเสนอข้อมูล
(2) ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อจำกัดเหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่างๆ ประมวลผลและแปลความหมาย
(3) การนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 2 1 1 2 3 1 2 1 2
1 BSCAG234 การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 (1) มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ (2) มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ สังเกตพฤติกรรม ความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ ระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ ทุกสัปดาห์ ร้อยละ ๑๐
2 (1) มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง (2) มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม -ซักถามความเข้าใจ ในชั้นเรียน -ทดสอบย่อย ในชั้นเรียน -สอบ กลางภาคและปลายภาค - ซักถามความเข้าใจ และทดสอบย่อยในชั้นเรียนตามความเหมาะสม หรือ ทุกสัปดาห์ - สอบกลางภาค และปลายภาค สัปดาห์ที่ ๙ และ ๑๘ ร้อยละ ๔๐
3 (1) สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม (2) สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ (3) ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม ประเมินจากพฤติกรรมในชั้นเรียน และผลงานของนักศึกษา ตามความเหมาะสม ร้อยละ ๒๐
4 (1) ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม (2) มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม ประเมินจากฑฤติกรรมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน และผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำร่วมกับผู้อื่น ทุกสัปดาห์ ร้อยละ ๑๕
5 (1) มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน (2) มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ สังเกตจากการแสดงออก การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้และค้นคว้าข้อมูล ทุกสัปดาห์ ร้อยละ ๑๕
ไฟล์เอกสารประกอบการสอน หน่วยเรียนที่ 1-5 วิชา การผลิตปศุสัตว์อินทรีย์ สื่อการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น คลิป VDO /การเรียนรู้จาก case study/ การศึกษาเรียนรู้ในฟาร์มฝึก / การค้นคว้าจากแหล่งความรู้ต่างๆ /การสัมภาษณ์ และอื่นๆ ข้อมูลและสถิติ การผลิตและการบริโภคสินค้าปศุสัตว์อินทรีย์
มกษ 9000 1-2552 มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ เล่ม 1 : การผลิต แปรรูป แสดงฉลาก และจําหน่ายผลิตผลและ ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย มกษ 9000 2-2554 มาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ เล่ม 2 : ปศุสัตว์อินทรีย์ ยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์ แห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (๒๕๖๐-๒๕๖๔) M. Chander, B. Subrahmanyeswari, R. Mukherjee & S. Kumar. 2011. Organic livestock production: an emerging opportunity with new challenges for producers in tropical countries. Rev. sci. tech. Off. int. Epiz. , 2011, 30(3), 969-983 Alfredo J. Escribano.2016. Organic Livestock Farming — Challenges, Perspectives, and Strategies to Increase Its Contribution to the Agrifood System’s Sustainability — A Review. Organic Farming - A Promising Way of Food Production. 229-259. Christian Schader, Adrian Muller and Nadia El-Hage Scialabba. 2013. Impacts of a global upscaling of low-input and organic livestock production. ข้อมูล/ข่าวสาร จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องในเนื้อหาสาระของรายวิชา
สถานการณ์ แนวโน้ม การผลิต การบริโภค การนำเข้า/ส่งออก สินค้าปศุสัตว์ ข้อมูลการผลิตปศุสัตว์ของประเทศไทย กรมปศุสัตว์ (http://www.dld.go.th/ certify/) การจัดการฟาร์มปศุสัตว์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย /smart farm
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรม ทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการ เรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา
การประเมินการสอน โดยคณะกรรมการประเมินการสอนที่แต่งตั้ง โดยสาขาวิชา/หลักสูตร จากการสังเกตขณะสอน และการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา หรือวิธีการอื่นๆ ที่เหมาะสม
อาจารย์ผู้สอนนำผลการประเมินและข้อเสนอแนะ ทั้งจากนักศึกษาและกรรมการประเมิน มาพิจารณาทำการปรับปรุง/แก้ไข และใช้สำหรับการจัดการเรียนการสอนในภาคการศึกษาถัดไป
มีการประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน เพื่อหารือปัญหา/อุปสรรคในการจัดการเรียนการสอน การเรียนรู้ของ นักศึกษา และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
สาขาวิชามีคณะกรรมการประเมินการสอนทำหน้าที่ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา ในรายวิชา โดยการสุ่มประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนน ทั้งคะแนนดิบ และระดับคะแนน ของรายวิชา 60% ของรายวิชาทั้งหมดในความรับผิดชอบ ของสาขาวิชา ภายในกรอบเวลาหลักสูตร
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมิน การสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอน รับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการ ปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนา ปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป