การบัญชีการเงิน

Financial Accounting

เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป วงจรบัญชีสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจในการบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับ เงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำรายงานทางการเงินของกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม เพื่อฝึกหัดการนำ แนวคิด  หลักการ และวิธีการจัดทำบัญชีพร้อมออกงบการเงินได้อย่างถูกต้อง เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษาให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้านตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทัศนคติทางวิชาชีพที่ดี โดยการอธิบายความสำคัญเกี่ยวกับการบัญชีเบื้องต้นให้นักศึกษาและเปิดโอกาสให้ได้ซักถามหรือแลกเปลี่ยนในหัวข้อความสำคัญของการบัญชี เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของวิชาชีพบัญชี ในชั่วโมงแรกของการเรียน เพื่อพัฒนานักศึกษาในการมองภาพรวมของวงจรบัญชี โดยการนำนักศึกษาชมกิจการจริงหรือสถานการณ์จริง
ศึกษาและปฏิบัติความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป และวงจรบัญชี ตลอดจนจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม การบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับ เงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
7  ชั่วโมง/สัปดาห์
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้ จากประสบการณ์ สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อ
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิด หลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย  การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานการค้นคว้า และการนำเสนอ การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะ ทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาวน์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา ประเมินจากรายงานผลการศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดง ความคิดเห็น ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่าง ๆ
ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต และทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายโจทย์พิเศษให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี และประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC111 การบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 9,17 30%,30%
2 2,3,4,5 วิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การทำแบบฝึกหัด การทำงานกลุ่มและรายงานผลงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย การทดสอบย่อย ทุกสัปดาห์ 30%
3 1,2,3,4,5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย ความกล้าแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
นิตยา โหราเรือง การบัญชีการเงิน : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2560.
อัจฉราภรณ์ พูลยิ่ง, เอกสารประกอบการสอน : การบัญชีการเงิน
 
ตินันท์ วงศ์นารี “หลักการบัญชีเบื้องต้น 1”, ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ: 2560.
นุชนาท จันทเตมีย์ “หลักการบัญชีเบื้องต้น” พิมพ์ครั้งที่2, สำนักพิมพ์ บริษัท จุดทอง จำกัด.
เสนีย์(อ่ าเจริญ) พวงยาณี “หลักการบัญชี” พิมพ์ครั้งที่ 3, สำนักพิมพ์ ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด,               
กรุงเทพฯ: 2551.  
เสริมโชค ไชยเลิศ “คู่มือนักบัญชีมืออาชีพ”, สำนักพิมพ์ปัญญาชน กรุงเทพฯ: 2554.  
อัญชลี พิพัฒนเสริญ, รองศาสตราจารย์ “การบัญชีชั้นต้น” พิมพ์ครั้งที่ 2, สำนักพิมพ์ บริษัท ธนาเพรส
จำกัด, กรุงเทพฯ: 2555.
เวปไซด์ สภาพวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เวปไซด์ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th
ให้นักศึกษาประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ตามแบบประเมินของมหาวิทยาลัย
 2.1 พิจารณาจากผลคะแนนการสอบ  2.2 พิจารณาจากงานที่มอบหมายให้  2.3 พิจารณาจากพฤติกรรมและการมส่วนร่วมในชั้นเรียน
นำผลการประเมินประสิทธิผลการสอนรายวิชาโดยนักศึกษามาพิจารณาปรับปรุงการสอน
การทวนข้อสอบและเกณฑ์ที่ใช้วัดผลสัมฤทธิ์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้
นำเอาผลการประเมินข้อ 1 และข้อ 2 มาวิเคราะห์และหาแนวพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนสอดคล้องกับมาตรฐานผลการเรียนรู้