การฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรม

Fundamental of Engineering Training

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เพื่อนักศึกษาจะได้นำความรู้ ความสามารถไปใช้ในงานทางด้านวิศวกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านวิศวกรรมที่เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทั่วไป เครื่องมือวัดเบื้องต้น เครื่องมือร่างแบบ เครื่องมือช่างพื้นฐาน การเลื่อย การตะไบ งานสกัด การลับคมตัด การเจาะการทำเกลียวด้วยมือ การบัดกรี การแล่นประสานสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในงานพื้นฐานทางวิศวกรรมได้อย่างเหมาะสม
ปฏิบัติการเกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานทั่วไป เครื่องมือวัดเบื้องต้น เครื่องมือร่างแบบ เครื่องมือช่างพื้นฐาน การเลื่อย การตะไบ งานสกัด การลับคมตัด การเจาะการทำเกลียวด้วยมือ การบัดกรี การแล่นประสาน
1-2 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1.1 มีระเบียบ วินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อ บังคับ ต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตาม ลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.3 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึง เข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน
 
สาธิตพร้อมยกตัวอย่างประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมสอนให้นักศึกษาเป็นผู้มีความรับผิดชอบและตรงต่อเวลาจากการมอบหมายงาน การส่งงาน การเข้าฝึกปฏิบัติ การรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม ความมีจรรยาบรรณทางวิชาชีพของวิศวกร
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 พฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถาม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อประยุกต์เข้ากับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.1.2 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในการปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
สาธิตการใช้งานเครื่องมือพื้นฐานทางวิศวกรรม ถาม ตอบ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในโรงฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรม ให้ทำใบงานในชั่วโมงปฏิบัติจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ใบงานฝึกปฏิบัติ ด้วยทักษะฝีมือที่เน้นการปฏิบัติในงานฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรมอุตสาหการ 2.3.2 ประเมินจากการปฏิบัติงานตามใบงาน และงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 มีแนวความคิดอย่างเป็นระบบและมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 การมอบหมายงานฝึกปฏิบัติจากใบงาน 3.2.2 มอบหมายงานให้นักศึกษาไปทำเพิ่มจากใบงานและให้หาข้อมูลประกอบรายงาน
3.3.1 ใบงานฝึกปฏิบัติ ด้วยทักษะฝีมือที่เน้นการปฏิบัติในงานฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรมอุตสาหการ 3.3.2 ประเมินจากการทำใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษา ต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพ มาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.1.3 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.4 มีจิตสำนึกต่อความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล 4.2.2 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการทำงาน ความรับผิดชอบในการทำงาน การดูแลรักษาอุปกรณ์เครื่องมือฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ ความตรงต่อเวลาในการส่งงาน
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.1.2 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.3 ฝึกให้นักศึกษาใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในงานฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการและสืบค้นข้อมูล ได้อย่างทันสมัยและเหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งสืบค้นข้อมูลต่าง ๆ web site สื่อการสอน ต่าง ๆ 5.2.2 มอบหมายงานที่ใช้การคิดคำนวณ เชิงตัวเลข จากใบงาน
5.3.1 ใบงานฝึกปฏิบัติ ด้วยทักษะฝีมือที่เน้นการปฏิบัติในงานฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรมอุตสาหการ 5.3.2 ประเมินจากใบงานปฏิบัติ และงานที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา สำหรับ เครื่องมือ อุปกรณ์ การบำรุงรักษาและวิธีการ ได้อย่างถูกวิธีมีประสิทธิภาพ
6.2.1 ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 6.3.2 ประเมินงานตามใบงานปฏิบัติและงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 2 3 4 5 1 1 2 3
1 ENGEE105 การฝึกเบื้องต้นทางวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย การฝึกปฏิบัติตาม ใบงานและงานที่ได้รับมอบหมาย
2 การมีส่วนร่วมในการเรียน การเข้าฝึกปฏิบัติและความประพฤติ การมีส่วนร่วม การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน
ใบงานปฏิบัติงานงานเทคนิคพื้นฐาน
ใบงานปฏิบัติงานงานเทคนิคพื้นฐาน
3.1 รศ.อำพล ซื่อตรง, รศ.วันชัย จันทรวงศ์, งานเครื่องมือกลเบื้องต้น บรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ, สำนักพิมพ์ศูนย์สงเสริมวิชาการ, 2545 3.2 อนันต์ วงศ์กระจ่าง, ทฤษฎีงานฝึกฝีมือ, คณะวิศวกรรมและเทคโนโลยี วิทยาลัยเทคโนโลยี, โรงพิมพ์ศรีสยาม, 2529
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้แจ้งให้กับนักศึกษาเพื่อใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2 ชิ้นงานที่ได้จากการฝึกปฏิบัติ
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อที่ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนด้วยการทำการวิจัยในชั้นเรียน การจัดการเรียนการสอนโดยให้นักศึกษามีส่วนร่วม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบ และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อที่ 4 ดำเนินการปรับปรุงกิจกรรมการสอนและแผนการสอนให้มีความเหมาะสมกับปัจจุบัน