ปฏิบัติการโรงงานเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งถาวร

Build-in Furniture Workshop

 เพื่อให้นักศึกษาได้รู้วิธีการใช้เครื่องจักรกลงานไม้ เครื่องมือ วัสดุ และอุปกรณ์ ในการผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) การเขียนแบบที่ใช้สำหรับการผลิต การวางแผนการผลิต การประกอบชิ้นงาน อุปกรณ์ช่วยการผลิตและการเคลือบผิว ตลอดจนการตรวจสอบคุณภาพ ชิ้นงานต้นแบบ
2.1 รู้เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ เครื่องจักรกลงานไม้ วัสดุ อุปกรณ์การผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)  2.2 เข้าใจระบบการผลิตเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)  2.3 เข้าใจการเขียนแบบ วางแผน ส่วนประกอบ อุปกรณ์ การเคลือบผิว และการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) 
ฝึกปฎิบัติเกี่ยวกับกระบวนการผลิตเฟอร์นิเจอร์ประเภทต่างๆแบบยึดติดกับตัวอาคาร  ขนาดสัดส่วน ประโยชน์ใช้สอย  วัสดุ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต  กรรมวิธีการผลิต การประกอบการติดตั้ง รวมทั้งการเคลือบผิวและตกแต่งผิว
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.2 วิธีการสอน
บรรยายหน้าชั้นเรียนพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ   โดยมีวัตถุประสงค์ไม่สุจริต หรือจากมิจฉาชีพ การป้องกันตนเอง
1.2.2 อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาสร้างโมเดล
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2   มีการปฎิบัติได้อย่างถูกต้อง อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3   ประเมินผลการวิเคราะห์รายบุคคล 1.3.4   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
สามารถปฎิบัติงานได้จริง รู้จักวิธีการเขียนและสามารถทำได้ด้วยตัวเอง  มีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า รู้จักการนำเสนอผลงานที่ดีและมีความน่าสนใจอีกทั้งสามารถถ่ายทอดแก่ผู้อื่นๆ ได้    
2.2 วิธีการสอน
บรรยาย สาธิตตัวอย่าง และมอบหมายให้สร้างชิ้นงานในคาบนั้นๆ
2.3 วิธีการประเมินผล
2.3.1   สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 2.3.2   ประเมินจากงานประจำคาบเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2 วิธีการสอน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำโปรเจคพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน 3.2.2   อภิปรายกลุ่ม 3.2.3   วิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม 3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  3.3.2   วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน 3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องงานคอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน     4.2.2  ทำรายงานกลุ่ม พร้อมทั้งอภิปรายหน้าชั้นเรียน     4.2.3  ให้นักศึกษาจัดกลุ่มหาหัวข้อเพื่องานออกแบบที่มีความสอดคล้องกับงานคอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด 4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข 5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.4   พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 5.1.5   ทักษะการใช้คอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน 5.1.6   ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและผลงานด้วยคอมพิวเตอร์การออกแบบเครื่องเรือน
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย 6.1.1   มีทักษะด้านออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ 6.1.2   มีทักษะในการสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in Furniture) 6.1.3   มีทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ ด้านความงาม ด้านประโยชน์ใช้สอย
6.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาข้อมูลเพื่อสร้างแนวคิดในการออกแบบและนำเสนองานออกแบบ 6.2.2   ให้นักศึกษาลงมือปฏิบัติสร้างผลงานสองมิติและสามมิติ เพื่อเป็นต้นแบบผลิต 6.2.3   มอบหมายให้นักศึกษาผลิตต้นแบบ ชิ้นงานออกแบบเครื่องเรือนแบบติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)
6.3.1  ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ เขียนแบบ และปฏิบัติงานผลิตชิ้นงานออกแบบเครื่องเรือนติดตั้งถาวร (Built-in Furniture)  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2
1 BAAID143 ปฏิบัติการโรงงานเฟอร์นิเจอร์ติดตั้งถาวร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค แบบฝึกหัดประจำบทก่อนสอบกลางภาค แบบฝึกหัดประจำบทหลังสอบกลางภาค สอบปลายภาค การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย 4 8 12 16 ตลอดภาค การศึกษา 5% 40% 40% 5% 10%
มนตรี  บุญชู. วัสดุช่าง.2527 รศ.นภาพรรณ สุทธะพินทุ.2562.ออกแบบตกแต่งภายใน . กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์  ส.ส.ท การออกแบบภายในขั้นพื้นฐาน หลักการพิจารณาเบื้องต้น รศ.บุญสนอง  รัตนสุนทรากุล. 2558.การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ฉบับก้าวหน้า.
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ใช้กลยุทธ์ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนดังนี้ สังเกตการสอนของผู้ร่วมทีมสอน ประเมินจากผลการประเมินผู้สอนและผลการเรียนของนักศึกษา  การทวนสอบผลประเมินผลการเรียนรู้
หลังจากได้รับผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และสรรหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา จะมีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3 และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4