การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร

Electrical System Installation Inside and Outside Building

มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการป้องกันอุบัติภัยในการปฎิบัติงานติดตั้งไฟฟ้า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุในงานติดตั้งไฟฟ้า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้า มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการติดตั้งระบบสายดิน เพื่อศึกษาวิธีการต่อสายไฟฟ้า การเดินสายไฟทั้งในอาคารและนอกอาคาร
เพื่อให้เนื้อหาหลักสูตรใหม่ มีความสอดคล้องกับสาระสำคัญในกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมศาสตร์ พ.ศ. 2553 หรือเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษามาตรฐานของสภาวิศวกรสมาคมระดับชาติและนานาชาติ อีกทั้งเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในด้านการนำความรู้ความเข้าใจระบบควบคุมทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติการ ทั้งรวมถึงวิธีการเข้าถึงเนื้อหาเกี่ยวกับงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาและวิธีการจัดการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ (E-Learning) เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนในรายวิชาที่เกี่ยวข้องสอดคล้องกับยุคปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับวิธีการป้องกันอุบัติภัยในการปฏิบัติงานติดตั้งไฟฟ้า เครื่องมืออุปกรณ์และวัสดุในงานติดตั้งไฟฟ้า มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า การติดตั้ง อุปกรณ์ไฟฟ้า ระบบสายดิน การต่อสาย การเดินสายไฟฟ้าทั้งภายในอาคารและ ภายนอกอาคาร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
พัฒนานักศึกษาให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้ 1.1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบ คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.1.3 ภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพรวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 1.1.5 ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย วินัย จรรยาบรรณวิชาชีพ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความถ่อมตนและจิตใจเมตตาต่อเพื่อนร่วมงาน ความไม่ละโมบ และการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ
1.2.1 แนะนำในห้องเรียน 1.2.3 ปฏิบัติงานตามใบงานที่มอบหมาย
1.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 1.3.2 ให้คะแนนโดยสังเกตผลงานที่ส่ง ประเมินจากคุณภาพงาน และระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับรายวิชานี้ โดยมาตรฐานความรู้ครอบคลุมดังนี้ 2.1.1 มีความรู้และเข้าใจทางด้าน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน การจัดการ และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในอาคารและภายนอกอาคาร 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร 2.1.3 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานหรือสถานการณ์จริงได้
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ฝึกปฏิบัติตามใบงานและตามวิชาการ ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
คำถามท้ายชั่วโมง สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค และประเมินจากการปฎิบัติตามใบงาน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ โดยมีรายละเอียดดังนี้ 3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.4 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตและทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1 แนะนำในห้องเรียน 3.2.2 สรุปเนื้อหาที่ได้เรียนก่อนการสอบข้อเขียน 3.2.3 สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามวิชาการ ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ
3.3.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา 3.3.2 สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค 3.3.3 คำถามท้ายชั่วโมง สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค
นักศึกษาต้องมีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบครอบคลุมดังนี้ 4.1.1 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ เชิงสร้างสรรค์ ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.1.2 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่มสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.1.3 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 สอนโดยใช้ภาษาอังกฤษควบคู่กับภาษาไทย 4.2.2 ให้งานโดยแบ่งกลุ่มระดมความคิด กำหนดวิธีการส่งและระยะเวลาในการส่งงาน อธิบายวิธีการในการประเมินผลงาน
4.3.1 มีการใช้ภาษาอังกฤษใน คำถามท้ายชั่วโมง สอบข้อเขียน ทั้งกลางภาค และ ปลายภาค 4.3.2 ให้คะแนนโดยสังเกตผลงานที่ส่ง ประเมินจากคุณภาพงาน และระยะเวลาที่ใช้ในการทำงาน 4.3.3 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา
นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ครอบคลุมดังนี้ 5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้ดี 5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศ ทางสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ 5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.5 ทักษะการคิดคำนวณเชิงตัวเลขจากสมการทางคณิตศาสตร์และสูตรคำนวณที่จำเป็น 5.1.6 ทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปลบทความภาษาอังกฤษ การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน 5.1.7 ทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา 5.1.8 ทักษะในการค้นหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตัวเองโดยการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต และสื่อออนไลน์อื่นๆ 5.1.9 ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร 5.1.10 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
สอน อธิบาย ยกตัวอย่าง ตามวิชาการ ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับวิชาการ ในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ 6.ด้านทักษะพิสัย 1.คุณธรรมจริยธรรม
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 5 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5
1 ENGEE149 การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1-1.5, 2.1-2.2,2.4, 3.2, 3.4, 4.4-4.5, 5.1, 5.3, 6.1-6.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบปฏิบัติ 8 16 16 10% 10% 20%
2 1.1-1.5, 2.1-2.2,2.4, 3.2, 3.4, 4.4-4.5, 5.1, 5.3, 6.1-6.2 การส่งงานตามที่มอบหมาย การปฏิบัติงานตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 1.1-1.5, 3.2, 3.4, 4.4-4.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา การติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในและภายนอกอาคาร
ไม่มี
มาตรฐานงานติดตั้งไฟฟ้าทั่วไป กรมโยธาธิการและผังเมืองhttp://subsites.dpt.go.th/edocument/images/pdf/sd_work/MRT09.pdf
มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้า วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบฝึกปฏิบัติหรือ ใบงาน ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
การสังเกตการณ์สอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ