การเพาะเลี้ยงกบ

Frog Culture

เพื่อให้นักศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบ การอนุบาลลูกกบ อาหารและการให้อาหารกบการดูแลสุขาภิบาลกบรวมถึง โรคกบและวิธีการรักษาป้องกัน วิธีการจับ ลำเลียงและจำหน่าย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกิดทักษะต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงกบ เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ   ในวิชาการเพาะเลี้ยงกบ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการเพาะเลี้ยงกบให้เกิดความทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
นักศึกษาเรียนรู้และปฏิบัติเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบ การอนุบาลลูกกบ อาหารและการให้อาหารกบการดูแลสุขาภิบาลกบรวมถึง โรคกบและวิธีการรักษาป้องกัน วิธีการจับ ลำเลียงและจำหน่าย
3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์  และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้ มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  
บรรยายพร้อมกับฝึกปฏิบัติในด้านการเพาะเลี้ยงกบให้เกิดความชำนาญรวมถึงการลำเลียงขนส่งพร้อมทั้งหาช่องทางจัดจำหน่ายอภิปรายกลุ่มกำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลามีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงกบ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา  และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based
พัฒนานักศึกษาให้สามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรเกษตรศาสตร์(ประมง) ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพมีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานอภิปรายกลุ่มวิเคราะห์กรณีศึกษา  ในการปฏิบัติจริงที่มีปัญหาเกิดขึ้นการสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบให้ครบถ้วนทั้งทางด้านความรู้และความจำวัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงานสังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลที่ไม่รู้จักมาก่อน บุคคลที่มาจากสถาบันอื่นๆ และบุคคลที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือบุคคลที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยามสังคมที่ดี มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษามอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเทคนิคใหม่ๆในการเพาะเลี้ยงกบ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาการนำเสนอรายงาน
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง  
สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสมสามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสมมีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
ให้นักศึกษาค้นคว้าวิธีการใช้เครื่องมืออย่างถูกต้องพร้อมอธิบายเพิ่มเติมก่อนนำเครื่องมือมาใช้ทุกครั้ง
ทดสอบการปฏิบัติในการใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG324 การเพาะเลี้ยงกบ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6,1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 ารเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
กรมประมง. (2536). การเพาะเลี้ยงกบ. งานเอกสารคำแนะนำ, กองส่งเสริมการประมง, กรม ประมง, กรุงเทพฯ. 22 น. กัมพล อิศรางกูร ณ อยุธยา, นงเยาว์ จันทร์ผ่อง และ ผุสตี ปริยานนท์. (2532). “สัณฐานและกาย วิภาคของ    กบนา(Ranategerina)”. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์. 14(2) : 91-98 จิรสา กรงกรด, โศรดา ขุนโหร. (2549). กรดไฮโดรคลอริก. โครงการเคมี. เต็มดวง สมคิริ, สุปราณี ชินบุตร, สุริยนต์ สุนทร1วิทย์และสุภาพร อารีกิจ. (2538). “การศึกษาการ พัฒนา    ของไข่กบจนถึงระยะตัวอ่อน”.วารสารประมง 48. (1) : 41-46 ถาวร สุภาพรม, ประจักษ์ จันทร์ตรี, และวาริณี พละสาร. (2538). รายงานการสักษาเซลล์พันธุศาสตร์และ เซลล์อนุกรมวิธานของสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกในภาคตะจันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย. มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, อุบลราชธานี. ทองยุ่น ทองคลองไทร, วสันต์ ป้อมเสมา, วุฒิ รัตนวิชัย, และชัยสงคราม ภูกิ่งเงิน. “การพัฒนารูปแบบการ เลี้ยงกบลูกผสมในบ่อซีเมนต์ กระชังและบ่อดิน”. กาฬสินธุ์: สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตกาฬสินธุ์.2554. ทศพร วงศ์รัตน์. (2534). “ปัญหาสิ่งแวดล้อมและการเสื่อมสูญพันธุกบ เขียด”. วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน    16. (3) : 23-38. ธีรวรรณ รัศมีทัต, ผุสตี ปริยานนท์, กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ,วีณา วิลาศ์เดชานนท์และนงเยาว์ จันทร์ผ่อง.    (2531). “การทำฟาร์มเลี้ยงกบแบบไม่ครบวงจร”. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์10.(2) :48-49 ผุสตี ปริยานนท์, กัมพล อิศรางกูร ณ อยุธยา, นงเยาว์ จันทร์ผ่อง, ธีรวรรณ นุตประพันธ์และ วิโรจน์ ดาวฤกษ์. (2535). การเลี้ยงกบชีววิทยา การเลี้ยงและวิธิขยายพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 43 น. ผุสตี ปริยานนท์, กิ่งแก้ว วัฒนเสริมกิจ,วีณา วิลาศ์เดชานนท์, นงเยาว์ จันทร์ผ่องและธีรวรรณ รัศมีหัต.    (2528). “การทำฟาร์มเลี้ยงกบแบบไม่ครบวงจร”. วารสารวิจัยวิทยาศาสตว์10 (1) :56-67 รณชัย หมอดี. (2536). “อาหารสำเร็จกับการพัฒนาการเลี้ยงกบ”. วารสารสัตว์น้ำ 4. (43 ): US-114 วัฒนา โฆษิตานนท์ (2527). เรื่อง การสำรวจชนิดของสัตว์ครึ่งน้ำฅรี่งบกในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์.    วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. วิทย์ ธารชลานุกิจ. (2529). การเลี้ยงกบ. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, คณะประมง,มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,    กรุงเทพฯ. 59 น. ศุภชัย ชาติวรากุล. (2537). คู่มือการเลี้ยงกบเป็นการค้า. โอเตียนสโตร์. กรุงเทพฯ. ศุภชัย ใหม่สิริ. (2544). การเลี้ยงกบ. ชมรมผู้เลี้ยงกบแห่งประเทศไทย. เกษตรบู๊ค. นนทบุรี: 66¬69, 82-88. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). เทคนิค PCR การเพิ่มจำนวน DNA และ วินิจฉัยโรคบางชนิด. สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท). สุภาพร อารีกิจ. (2540). เรื่อง การศึกษาเนื้อเยื่อปกติของกบนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาโท. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. สมพงษ์ บัวแย้ม. 2553. ครบเครื่องเรื่องการเลี้ยงกบ. ทานตะวัน, กรุงเทพฯ. สุชาติ อุปถมภ์. (2538). การพัฒนาสูตรอาหารเม็ด. คณะวิทยาศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ. อ.น.สพ.ดร. ชาญณรงค์ รอดคํา.โรคติดเชื้อแบคทีเรียในปลา.ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. Badach, J. E., J. H. Ryther and W.O.Mclarney. (1992). Frog Culture เท the Farming and Husbandary of Freshwater and Marine Organism . Wiley-lnterscience, A Division of Jonh Wiley & Son. Inc., Canada. 868 p. Gaze, R. M., M.J. Keating and S.H. Chung. (1974). The evolution of the retinotecta! during development inXenopus. Proc. R. Soc. Biol. 185 : 301-330 Hourdry, J., A.L’ Hermite and F. Raymond. (1996). Les m”etamorphoses des amphibians    Masson Singer-Polignac, Paris. 275 p. Longcore, J. E., Pessier, A. P. and Nichols, D. K.1999.Batrachochytrium dendrobatidis gen. et    sp. nov.,a chytrid pathogenic to amphibians. Mycologia.91: 219–227 Mohanty-Heimadi, p. and S.K.Dutta. (1968). Breeding and development of Rana                 cyanophyletis. Jur.Bombay Nat. Hist.Soc. 76 (2) : 291-296
ตำราเรียน ของ อาจารย์สมเกียรติ  ต้ันตา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ