แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน

Accounting Concepts and Financial Reporting

1.1 เพื่อให้รู้แนวคิดและข้อสมมติฐานทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีได้อย่างถูกต้อง 1.2 เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้มาตรฐานรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง 1.3 เพื่อให้เข้าใจถึงหลักการจัดทำรายงานทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานรายงานการเงิน 1.4 เพื่อให้สามารถแปลความหมายของรายงานทางการเงินที่ไม่ใช้ข้อมูลทางการเงิน 1.5 เพื่อให้สามารถจัดทำรายงานทางการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานรายงานทางการเงินได้ 1.6 เพื่ออธิบายถึงการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก รวมถึงผลประโยชน์พนักงาน
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการวิเคราะห์รายงานทางการเงินของธุรกิจ 2.2 เพื่อฝึกทักษะในการสรุปผล การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน 2.3 เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRSs) มาตรฐานการบัญชี (TASs) การตีความมาตรฐานการบัญชี(TIs) การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน (TFRIs) ดังกล่าวมาจัดทำรายงานทางการเงินได้อย่างถูกต้อง 
ศึกษาแนวคิดและข้อสมมติทางการบัญชี จรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทาง การเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง การเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่างกาล การเปิดเผยข้อมูลตามข้อกำหนดในมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การแปลความหมายของรายงาน การเงินที่ไม่ใช้ข้อมูลทางการเงิน เช่น รายงานความยั่งยืน และรายการแบบบูรณาการเป็นต้น ตลอดจนการบัญชีเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก และ ผลประโยชน์พนักงาน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่ให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และอนุญาตให้นักศึกษาติดต่อผ่านโทรศัพท์และ e-mail ส่วนตัวได้
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
1.1.1 มีความรับผิดชอบ มีคุณธรรมจริยธรรม ทัศนคติที่ดีและมีจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี

1.1.2 มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ตรงต่อเวลาและ ปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.1.3 สามารถทำงานที่มอบหมายทั้งรายกลุ่มหรือ รายบุคคลและ ปฏิบัติตามข้อตกลงในการเรียนได้ 
1.1.4 มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชนืส่วนรวมมากกว่าประโยชนืส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
 
1.2 วิธีการสอน
1.2.1 กำหนดข้อตกลงเบื้องต้นในการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การแต่งกาย การส่งงานหรือแบบฝึกหัดตามเวลาที่กำหนดและปฏิบัติตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
1.2.2 บรรยายสอดแทรกในเนื้อหาวิชา ในระหว่างทำการสอน เกี่ยวกับจรรยาบรรณของนักบัญชี และความสำคัญของการรักษาจรรยาบรรณวิชาชีพ พร้อมยกตัวอย่าง 
1.2.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการแสดงออกถึงการมีความเมตตา กรุณา เสียสละเพื่อส่วนรวม 
1.2.4 เรียนรู้และสอนจากกรณีศึกษา
 
 
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษา
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมในการเข้าเรียน การส่งแบบฝึกหัด หรืองานที่มอบหมาย
1.3.3 ประเมินจากการทุจริตในการสอบ
1.3.4 ประเมินจากการส่งงานหรือแบบฝึกหัดทันตามเวลาที่กำหนด
2.1.1 มีแนวคิด ทฤษฎี หลักการและวิธีการจัดทำรายงานการเงินและการเปิดเผยข้อมูลทางการบัญชีของธุรกิจตลอดจนการบัญชีอสังหาริมทรัพย์ สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน การดำเนินงานที่ยกเลิกและผลประโยชน์พนักงานเป็นต้น
2.1.2 มีการประยุกต์ใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงินกับเหตุการณ์ทางบัญชีที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางการบัญชีและข้อผิดพลาด การจัดทำรายงานการเงินระหว่ากาล การเปิดเผยข้อมูลตามมาตรฐานรายงานการเงิน การแปลความหมายของรายงานการเงินเป็นต้น
2.2.1 การบรรยาย ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากรายงานการเงินของธุรกิจซึ่งเปิดเผยจากตลาดหลักทรัพย์และการถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากงบการเงินของประเภทธุรกิจจริง เพื่อใช้ประกอบการเรียนและทำแบบฝึกหัด
2.2.3  ให้นักศึกษาวิเคราะห์จากโจทย์ปัญหา ตัวอย่างงบการเงินจริง โดยการถาม - ตอบในห้องเรียน
2.3.1 จากการทำแบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา และงานที่มอบหมายให้ทำ

2.3.2 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค และการสอบปลายภาค

2.3.3 ความถูกต้องของการวิเคราะห์จากกรณีศึกษา  
3.1.1 สามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจจากสื่อที่เปิดเผยพร้อมทั้งอ่านและอธิบายรายงาน ทางการเงินในภาพรวมและสามารถสรุปผลได้
3.1.2 สามารถประยุกต์ และบูรณาการความรู้ต่างๆที่เกี่ยวข้องเช่น เศรษฐศาสตร์ การเงินการตลาด ให้เข้ากับการวิเคราะห์รายการการเงินได้
3.1.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และสรุปผลการวิเคราะห์รายงานการเงินได้
3.2.1 บรรยาย ยกตัวอย่าง ถาม - ตอบในชั้นเรียน
3.2.3 ฝึกการคิด วิเคราะห์อย่างเป็นระบบโดยใช้โจทย์ปัญหากรณีศึกษา
3.3.3 มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ศึกษา ค้นคว้าและวิเคราะห์รายงานการเงิน ของธุรกิจ ที่นักศึกษามีความสนใจหรือกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมายและนำเสนอในชั้นเรียน
3.3.1 กรณีศึกษา การตอบปัญหาในชั้นเรียน การนำเสนอในชั้นเรียน
3.3.2 ทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2 สามารถปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นได้
4.1.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
4.1.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง  
4.2.1 มอบหมายให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเป็นกลุ่ม
4.2.2 นำเสนอรายงาน หรือ การแก้ปัญหากรณีศึกษาหน้าชั้นเรียน
4.3.1 ประเมินผลจากกรณีศึกษาที่มอบหมาย
4.3.2 ประเมินผลจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.3 ให้นักศึกษาประเมินตนเองและสมาชิกในกลุ่ม
5.1.1 สามารถใช้ความรู้เกี่ยวกับรายงานทางการเงิน และการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เพื่ออธิบายฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ตลอดจนความเสี่ยงของธุรกิจ
5.1.2 สามารถรายงานผลการวิเคราะห์ทั้งด้วยวาจา และการเขียนรายงานสรุปผลการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และ สื่อสารสารสนเทศ ได้
5.2.1 สืบค้นข้อมูล เกี่ยวกับงบการเงินของธุรกิจที่นักศึกษามีความสนใจจากตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำมาวิเคราะห์รายงานทางการเงินและจัดทำรายงานเป็นกลุ่ม
5.2.2 จัดทำสื่อประกอบการรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.2.3 มอบหมายกรณีศึกษาให้วิเคราะห์รายงานทางการเงินและนำเสนอผลงานจากรณีศึกษาในห้องเรียน
5.3.1 การนำเสนองานที่ได้จากการสืบค้นกลุ่มหน้าชั้นเรียน
5.3.2 การวิเคราะห์ การแก้ปัญหา จากรณีศึกษาที่นำเสนอหน้าชั้นเรียน
5.3.3 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
ทักษะทางพฤติกรรมเกี่ยวกับความสามารถทางด้านการปฏิบัติ อาศัยการฝึกฝน ความชำนาญ ความเชี่ยวชาญแต่ละบุคคลที่ต้องพัฒนา โดยนักศึกษาสามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ตามคุณลักษณะของนักวิจัยที่พึงประสงค์โดยวัดจาก
6.1.1 คุณภาพของงาน ได้แก่ จุดเด่นของผลงานเกี่ยวกับแนวคิดและการรายงานทางการเงิน ความเหมาะสมในการนำไปใช้ ความสามารถในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเรียบร้อย
6.1.2 คุณภาพด้านปริมาณงาน ได้แก่ ผลสำเร็จของงานที่ได้ภายใต้เวลาที่กำหนด
6.1.3 ทักษะการปฏิบัติงาน และปรับปรุงงาน ได้แก่ การพัฒนาผลงานในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ
6.2.1 แนะนำให้ผู้เรียนเห็นถึง คุณภาพของการรายงานทางการเงินที่ดี โดยมอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากสภาวิชาชีพบัญชี และฐานข้อมูลต่าง ๆ ทั้งในประเทศและ ต่างประเทศ
6.2.2 ให้นำเสนอผลงานที่ได้จากการจัดทำรายงานทางการเงิน โดยผู้สอนเสนอแนะข้อดี ข้อเสียเพื่อให้กลับไปพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นตามเวลาที่กำหนด
6.2.3 ตรวจสอบผลงานตามกำหนดเวลาที่ระบุและดูความก้าวหน้าและพัฒนาการของผลงาน
6.3.1 ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่มอบหมายรวมถึงการสืบค้นข้อมูล ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล ในรูปแบบที่ถูกต้องเหมาะสม
6.3.2 ประเมินทักษะการนำเสนองานและการมีพัฒนาที่ดีขึ้นตามข้อเสนอแนะ
6.3.3 ประเมินการสอบข้อเขียนและสอบปากเปล่าเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 BACAC131 แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1, 2, 3, 5 การสอบกลางภาค และ การสอบปลายภาค 9 และ 17 25% และ 25%
2 3, 4, 5 ทดสอบย่อย/งานกลุ่ม/การนำเสนองาน 5, 16, 17 40%
3 1, 2, 3, 4, 5 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน การตอบคำถามในหน้องเรียน ผลงานกลุ่ม การวิเคราะห์ปัญหาหน้าชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
เอกสารประกอบการสอนปรับปรุง (2563) แนวคิดทางการบัญชีและการรายงานทางการเงินโดย อ.ดร.สรินยา สุภัทรานนท์
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย การวิเคราะห์หลักทรัพย์โดยใช้ปัจจัยพื้นฐาน e-book - สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ กรอบแนวคิดการบัญชี (ปรับปรุง 2562) และมาตรฐานการบัญชี(ปรับปรุง 2562) ทุกฉบับที่เกี่ยวข้อง - รายการย่อที่ต้องมีในงบการเงิน ประกาศโดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พ.ศ. 2559 - คู่มือการนำส่งงบการเงินประจำปี 2559 กรมพัฒนาธุรกิจการค้า - สมศักดิ์ ประถมศรีเมฆ. การแปลความมาตรฐานรายงานทางการเงินฯ. พิมพ์ครั้งที่ 4. 2562
 
www.tfac.or.th www.set.or.th www.sec.or.th 
เป็นต้น
ใช้แบบประเมินผลอาจารย์ผู้สอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
ประเมินการสอนจากผลการสอบของนักศึกษา และจากการวิเคราะห์โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา
ปรับปรุงจุดบกพร่องในการสอนตามผลการประเมินของนักศึกษา ปรับปรุงการสอนโดยประเมินจากผลการสอบและการวิเคราะห์ปัญหา การทำกรณีศึกษา
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา ตรวจสอบความตรงประเด็นของข้อสอบกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินข้อ 1 ข้อ 3 ข้อ 4 มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เรื่อง ผู้สอน ตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนเพื่อปรับปรุงเนื้อหา และการออกข้อสอบ