ศิลปะการใช้ภาษาไทย

Arts of Using Thai Language

1.1   เพื่อให้ผู้เรียนประยุกต์ใช้รูปแบบและวิธีการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนากระบวนการคิดอย่างมีระบบร่วมกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
1.3  เพื่อให้ผู้เรียนมีศิลปะในการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการพูดและการเขียนทางวิชาการได้อย่างมีคุณภาพ
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบูรณาการการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.5  เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
2.1  เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฏิบัติอันพึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
2.2  เพื่อให้กระบวนการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารมีการพัฒนาที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการประกอบวิชาชีพของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21
2.3  เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของภาษาไทยในฐานะเครื่องมือการสื่อสารและเป็นมรดกทาวัฒนธรรมของชาติ
2.4  เพื่อพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์แผนกวิชาภาษาตะวันออกให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และปรับตนเองเพื่อตอบรับต่อองค์ความรู้ใหม่
สู่การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
       ศึกษารูปแบบและวิธีการสื่อสารด้วยการใช้ภาษาไทยอย่างมีประสิทธิภาพ พัฒนากระบวนการคิดอย่างมีระบบร่วมกับการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ โดยมีศิลปะในการฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ มีทักษะในการพูดและการเขียนทางวิชาการอย่างมีคุณภาพ สามารถบูรณาการการใช้ภาษาไทยกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำหรับการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตลอดจนตระหนักถึงการใช้ภาษาไทยในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
จำนวนชั่วโมงให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการสัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง
    3.1  วันพุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้อง 1221
    3.2  e-mail; Theewara555@gmail.com เวลา 17.00 - 21.00 น.
    3.3  Facebook; Theewara Saengin poy เวลา 16.00 - 18.00 น.
1.   มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3.  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4.  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.  ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา
2.  อภิปรายกลุ่ม
3.  ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
4.  กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1.   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.  มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.  ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4.  ประเมินผลการนำเสนอผลงานและรายงานที่มอบหมาย
5.  การส่งงานตรงตามเวลา
1.   มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3.  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.   บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม กรณีศึกษา การใช้สื่อมีเดีย การวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง
2.  ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ
3.  นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1.   สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ
2.  ประเมินจากประสิทธิผลของทักษะการสื่อสาร การใช้วิจารณญาณ การใช้ภาษาไทย การศึกษาค้นคว้า การทำรายงาน และงานที่มอบหมาย
3.  ทดสอบกลางภาค และปลายภาค
4.  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
1.   มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2.  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
1.   บรรยายและอภิปรายการใช้สื่อมีเดียต่าง ๆ การใช้กรณีศึกษา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน
2.  การมอบหมายให้นักศึกษาแสดงทักษะทางภาษาไทย การทำรายงาน ชิ้นงาน และนำเสนอผลการศึกษา
1.  เก็บคะแนนย่อย โดยเน้นการใช้ทักษะทางภาษาไทยโดยการปฏิบัติจริง
2.  สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
1.   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.  มอบหมายงานกลุ่มในการศึกษาค้นคว้า
2. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1.  ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม
2. รายงานการศึกษาและชิ้นงานค้นคว้าด้วยตนเอง
3. พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1.  เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1.  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากwebsite สื่อการสอน e-learning  และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1.  การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อมีเดียและเทคโนโลยี
2. การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 ใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาละเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนะรรมสากล
1 GEBLC201 ศิลปะการใช้ภาษาไทย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 1.4, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4 การเข้าชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วม ทุกสัปดาห์ 5 %
2 2.1, 3.1, 3.2 ,4.3, 5.2 แบบฝึกหัด 1, 2, 4, 6, 7, 9, 10, 11, 13, 16 5%
3 3.1, 3.2, 4.3, 5.3 การปฏิบัติทักษะการสื่อสาร 10, 11, 13, 16 20%
4 2.1, 2.3 สอบเก็บคะแนน 4 10%
5 2.1, 3.2 สอบกลางภาคเรียน 8 30%
6 2.1, 3.2 สอบปลายภาคเรียน 17 30%
เอกสารประกอบการสอนวิชาศิลปะการใช้ภาษาไทย 
กอบกาญจน์ วิเศษรัมย์. (2562).  ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
        (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 
จงชัย เจนหัตถการกิจ. (2545).  ภาษาไทยใช้ENT (พิมพ์ครั้งที่ 5).
        กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ และบาหยัน อิ่มสำราญ. (2550).  ภาษากับการสื่อสาร.
        (พิมพ์ครั้งที่ 2).  โครงการตำราและหนังสือคณะอักษรศาสตร์ 
         มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ชนกพร อังสุวิริยะ. (2559).  ภาษากับสังคม.  กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ทวีศักดิ์ ปิ่นทอง. (2559).  การพัฒนาทักษะการเขียน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). 
         กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธวัช ปุณโณทก. (2553).  วิวัฒนาการภาษาไทยและอักษรไทย. 
         กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธีร์วรา แสงอินทร์. (2562).  กลวิธีการใช้ภาษาพาดหัวข่าวออนไลน์.
        วารสารอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, ปีที่ 41(2), หน้า 170 - 186. 
        สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2563, 
        จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jasu/article/view/228756.
นิพาดา ไตรรัตน์. (2560).  การใช้สื่อสังคมออนไลน์อย่างสร้างสรรค์.
         สืบค้นเมื่อ 25 เมษายน 2560,   
 จากhttps://lms.thaimooc.org/assets/courseware/v1/4fa715c1a79c1a3e8537d93f9223dee1/asset-v1:NU+NU014+2018+type@asset+block/outline.pdf.
เพชรบูรณ์ โรจนธรรมกุล. (2540).  พูดจาให้เข้าหู. (พิมพ์ครั้งที่ 2). 
          กรุงเทพฯ: บุ๊คแบงก์.
ภากิตติ์ ตรีสุกล. (2551).  หลักนิเทศศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 6).  
         กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
ภูมิ จรรยา. (2557).  คำพ้องรูป พ้องเสียง และหลักการใช้ตัวการันต์ตามหลัก
            ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ไอเลิฟซียู พับลิชชิ่ง.
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง. (2556).  ทักษะภาษาไทย.  
            พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุภารัตน์ ศุภภัคว์รุจา. (2554). การใช้ภาษาไทยเพื่อการนำเสนอ. 
             สืบค้นเมื่อ 2 เมษายน 2560,
        จาก http://gened.siam.edu/wp-content/uploads/2018/07/thaic-handout-pp12.pdf.
 
สนิท สัตโยภาส. (2554). ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารและสืบค้น (พิมพ์ครั้งที่ 2).  กรุงเทพฯ: ธารอักษร.
ถนอมวงศ์ สุกโชติรัตน์ ล้ำยอดมรรคผล. (2561).  การอ่านให้เก่ง. (พิมพ์ครั้งที่ 17).  นนทบุรี: ภาพพิมพ์.
วรรณี โสมประยูร. (2553). การสอนภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ดอกหญ้าวิชาการ.
โสภณ สาทรสัมฤทธิ์. (2546). ภาษาไทยเพื่ออาชีพ 1.  กรุงเทพฯ: อาร์ทลีย์เพรส.
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมี
ผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2.  ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3.  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเองดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1.  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
2.  กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทาง หรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา 
4.  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบชิ้นงาน ข้อสอบย่อย ข้อสอบกลางภาคปลายภาค รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา (ข้อ 4) กลุ่มอาจารย์ผู้สอนทบทวนเนื้อหาและกลยุทธ์การสอน แล้วนำเสนอแนวทางปรับปรุงและพัฒนารายวิชา เพื่อเสนอต่อที่ประชุมกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาสรุปและวางแผนพัฒนาหลักสูตรรายวิชาเพื่อนำเสนอภาควิชา / คณะ