ระบบสมองกลฝังตัวสำหรับการเกษตร

Embedded Systems for Agriculture

ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น ภาพรวมของการพัฒนาระบบ การจัดโครงสร้างทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรมของระบบสมองกลฝังตัว ภาษาวีเอชดีแอล เครื่องมือการพัฒนาระบบ โครงสร้างเอฟพีจีเอ การออกแบบวงจรบนเอฟพีจีเอ การเขียนโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัวบนเอฟพีจีเอและการประยุกต์ ระบบปฏิบัติการสมองกลฝังตัวแบบเวลาจริง
เพื่อให้นักศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น ภาพรวมของการพัฒนาระบบ การจัดโครงสร้างทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรมของระบบสมองกลฝังตัว ภาษาวีเอชดีแอล เครื่องมือการพัฒนาระบบ โครงสร้างเอฟพีจีเอ การออกแบบวงจรบนเอฟพีจีเอ การเขียนโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัวบนเอฟพีจีเอและการประยุกต์ ระบบปฏิบัติการสมองกลฝังตัวแบบเวลาจริง
เทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น ภาพรวมของการพัฒนาระบบ การจัดโครงสร้างทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรมของระบบสมองกลฝังตัว ภาษาวีเอชดีแอล เครื่องมือการพัฒนาระบบ โครงสร้างเอฟพีจีเอ การออกแบบวงจรบนเอฟพีจีเอ การเขียนโปรแกรมระบบสมองกลฝังตัวบนเอฟพีจีเอและการประยุกต์ ระบบปฏิบัติการสมองกลฝังตัวแบบเวลาจริง
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา 
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา  1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม (จุดดำ)  1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (จุดโปร่ง)
สอนสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และความเสียสละ ก่อน หลังหรือระหว่างการบรรยายเนื้อหาทางวิชาการ นำกฎเกณฑ์เกี่ยวกับเวลาในการเข้าเรียน การแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนามาบังคับใช้ โดยให้นักศึกษาถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด(จุดดำ) นำตัวอย่างกรณีศึกษาในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม ความเสียสละและความซื่อสัตย์สุจริตมาให้นักศึกษาอภิปรายเป็นรายกลุ่ม พร้อมตอบข้อซักถามของอาจารย์ผู้สอน
1.3.1   ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย  1.3.2   ประเมินจาก ผลจากคุณภาพของงานทีได้รับมอบหมาย และมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  แก้ไข
2.1.1 นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้     2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม (จุดดำ)      2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม (จุดโปร่ง)
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับเทคโนโลยีของระบบสมองกลฝังตัวเบื้องต้น ภาพรวมของการพัฒนาระบบ การจัดโครงสร้างทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ สถาปัตยกรรมของระบบสมองกลฝังตัว เครื่องมือการพัฒนาระบบ โครงสร้างไมโครคอนโทรเลอร์ การออกแบบระบบควบคุมทางการเกษตรด้วยไมโครคอนโทรเลอร์ การเขียนโปรแกรม ระบบสมองกลฝังตัวและการประยุกต์ ระบบปฏิบัติการสมองกลฝังตัวแบบเวลาจริง
2.3.1 การทดสอบย่อย  2.3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี  2.3.3 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด หรือการตอบคำถามนั้นเรียน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้น นักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้ในสาขาวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ในการสอนอาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญา สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จุดดำ)  แก้ไข
3.2.1 ให้นักศึกษาทำการวิเคราะห์และเขียนขั้นตอนวิธีการแก้ปัญหาจากใบงานและ กรณีศึกษาทางการประยุกต์ใช้เครื่องวัดทางไฟฟ้า  3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม วิเคราะห์ศึกษาการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ เพื่อการออกแบบและแก้ปัญหา โดยการนำทฤษฎีที่เหมาะสมมาใช้
3.3.1 ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา  3.3.2 วัดผลจากการนำเสนอผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย  3.3.3 สัมภาษณ์ และสังเกตพฤติกรรม การแก้ไขปัญหา  แก้ไข
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่นๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่างๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างสอน หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้  4.1.1 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ (จุดดำ)   4.1.2 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม (จุดโปร่ง)
4.2.1 กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม  4.2.2 กำหนดกิจกรรมที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์  4.2.3 มีการมอบหมายงาน และให้ส่งตามกำหนดเวลา
4.3.1 ประเมินจากรายงานกลุ่มที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.2 ประเมินจากงานที่มอบหมาย
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นักศึกษาต้องมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ขั้นต่ำดังนี้  5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ (จุดโปร่ง)  5.1.2 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ (จุดดำ) 
5.2.1 มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าการณีศึกษาด้วยตนเองจากเว็บไซต์  5.2.2 อภิปรายในห้องเรียนตามเวลาและจังหวะที่เหมาะสมกับเนื้อหาแต่ละเรื่อง  5.2.3 ให้นักศึกษานำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  5.2.4 ติดต่อสื่อสารกับนักศึกษาผ่านกลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียลมีเดีย หรือ ไลน์เป็นต้น 
5.3.1 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง  5.3.2 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน  5.3.3 ประเมินจากการสังเกตจำนวนความถี่ในการใช้กลุ่มที่ตั้งขึ้นมาโดยเฉพาะในโซเชียล มีเดีย  แก้ไข
การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทำงาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จำเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเองและความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังนั้น ในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ ดังข้อต่อไปนี้             6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (จุดดำ)   แก้ไข
6.2.1 อธิบายและสาธิตการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือในการใช้งาน และวิธีการให้เข้าใจและปฏิบัติถูกต้องตามหลักการ  6.2.2 มอบหมายให้ลงมือปฏิบัติทดลองตามกำหนดเวลา  6.2.3 ให้มีการแบ่งกลุ่มในการปฏิบัติงาน มีการแบ่งความรับผิดชอบกัน  6.2.4 นำเสนอโดยใช้รูปแบบโจทย์ปัญหาของกรณีศึกษาและตัวอย่างวิธีแก้ปัญหา  ที่เหมาะสม
6.3.1 สังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติการใช้เครื่องมือ ในเรื่องเวลา วิธีการและผลงานที่ได้รับ การทำงานร่วมกัน  6.3.2 พิจารณาผลการปฏิบัติการทดลอง รวมทั้งงานที่มอบหมาย  6.3.3 สังเกตพฤติกรรมการเขียนโปรแกรมและจดบันทึก  6.3.4 พิจารณาผลการปฏิบัติงานการเขียนโปรแกรมในชั้นเรียน  6.3.5 ให้คะแนนผลการปฏิบัติงานโปรแกรมต่างๆ โดยเปิดเผย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 3 4 5 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 ENGAG509 ระบบสมองกลฝังตัวสำหรับการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2,4.1.3 1) ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมการแต่งตัว ความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย 2) ประเมินจาก การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 3) ประเมินจาก ปริมาณการกระทำทุจริต ในด้านการส่งงาน การนำเสนอผลงานและการสอบของนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 2.1.2,2.1.4 1) ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 2) สอบกลางภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นหลักการและทฤษฎี 3) ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 4) สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นข้อสอบที่มีมีความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎี 4 8 12 17 5% 20% 5% 20%
3 3.1.1, 5.1.1, 6.1.1 ) วัดผลจากทักษะในการลงมือปฏิบัติตามใบงานตามที่ได้รับมอบหมายและคุณภาพของใบงานที่ทำเสร็จแล้ว 2) ประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา ความเข้าใจ วิเคราะห์และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแก้ปัญหาจาก Case Study ที่มอบหมาย (Flip Study) ตลอดภาคการศึกษา 15 20% 10%
เอกสารประกอบการสอนที่ได้จาก อ.ผู้สอน
เอกสารประกอบการสอนจากอาจารย์ผู้สอน 
เว็บไซต์ ในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา  แก้ไข
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา   แก้ไข
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา  2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  แก้ไข