การเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด

Report Writing and Library Usage

        1.1  เข้าใจวิธีการใช้ห้องสมุด
        1.2  เข้าใจวิธีการเขียนรายงานทางวิชาการ
        1.3  นำความรู้ไปใช้ค้นคว้าหาข้อมูลจากวัสดุสารนิเทศ
        1.4  นำความรู้ไปใช้ในการเขียนรายงานทางวิชาการและงานวิจัย
        1.5  ตระหนักถึงความสำคัญของห้องสมุดและความรับผิดชอบในการใช้ห้องสมุด
        1.6  มีทักษะในการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการใช้ห้องสมุดและการใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นหาข้อมูลให้รู้จักแหล่งเรียนรู้ที่ทันสมัยทันต่อเหตุการณ์บ้านเมือง มีความรับผิดชอบในการใช้ห้องสมุด  รู้จักใช้ประโยชน์จากห้องสมุดอย่างคุ้มค่า  พร้อมทั้งนำความรู้ที่ได้จากการค้นคว้ามาเขียนเป็นรายงานได้ถูกต้องเพื่อเป็นพื้นฐานในการเขียนรายงานการวิจัย รายงานทางวิชาการ  ในการเรียนการสอนต่อไป
ศึกษาเกี่ยวกับห้องสมุดโดยทั่วๆไป ห้องสมุดของเรา วัสดุสารนิเทศ  หนังสืออ้างอิง  การจัดหมวดหมู่หนังสือ  การจัดเรียงวัสดุสารนิเทศ  เครื่องมือช่วยค้นวัสดุสารนิเทศ  ส่วนต่างๆของหนังสือและการระวังรักษา  รายงานทางวิชาการ  ขั้นตอนการเขียนรายงานและรูปแบบของรายงาน  หลักเกณฑ์การเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้รู้จักการใช้บริการห้องสมุดอย่างคุ้มค่า  มีมารยาทรู้คุณค่าของหนังสือ  รู้จักใช้หนังสืออย่างระวังรักษา มีจิตสำนึกสาธารณะมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
  1.1.1  ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม  เสียสละ  และซื่อสัตย์สุจริต
  1.1.2  มีวินัย  ตรงต่อเวลา  และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  
  1.1.3  มีภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตาม  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
  1.1.4  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1 บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวห้องสมุด
1.2.2  ปฏิบัติวิธีการจัดเก็บหนังสือเข้าชั้น  การจัดเรียงหนังสือ
1.2.3  บรรยายพร้อมดูตัวอย่างรายงานทางวิชาการที่ถูกต้อง
1.2.4  ปฏิบัติการเขียนบรรณานุกรมและเชิงอรรถ
1.2.5  ค้นคว้าด้วยตนเอง
1.3.1   เข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2  ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3  มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4  ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสารอ้างอิงอย่างน้อย 3เล่ม          
1.3.5  สอบทฤษฎีกลางภาค  ปลายภาค     
ความรู้เรื่องความหมาย ความสำคัญของห้องสมุด วัตถุประสงค์  บริการ  วัสดุสารนิเทศของห้องสมุด  การจัดหมู่หนังสือ  การระวังรักษาหนังสือ  เครื่องมือช่วยค้นที่เป็นบัตรรายการและเป็นอิเลคทรอนิกส์มีความรู้เรื่องหนังสืออ้างอิง  การเขียนรายงานทางวิชาการ  ส่วนประกอบของรายงาน  ประเภทของรายงาน  ขั้นตอนการเขียนรายงานทางวิชาการที่ถูกต้อง การเขียนบรรณานุกรมและการเขียนเชิงอรรถโดยมี
          2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
            2.1.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่ใช้ในการเรียนการสอนได้
            2.1.3  สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ทางการเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุดไปใช้แก้ปัญหาของตนเอง นำไปใช้ในการปรับตัว เข้ากับสังคมและประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพและการทำงานต่างๆ            
บรรยายประกอบการยกตัวอย่าง   การทำงานกลุ่ม การนำเสนอผลการทำงาน
2.3.1  ทดสอบย่อยเป็นรายหน่วย
2.3.2  รูปเล่มรายงาน
2.3.3  การนำเสนอในชั้นเรียน
3.1.1  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
             3.1.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างป็นระบบ
          การสอนวิชาการเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด ช่วยให้นักศึกษาเข้าใจในระบบของการเขียนรายงานและสามารถเข้าใช้ห้องสมุดอย่างมีประสิทธิ์ภาพ มีทักษะดังนี้
                  1. ศึกษาค้นคว้า เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
                  2. วิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปความคิดรวบยอดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
                 3. ประยุกต์ทักษะความเข้าใจในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพได้เหมาะสมตามสถานการณ์
3.2.1  ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มแบ่งหน้าที่กันทำงานและนำเสนอผลงานโดยส่งรูปเล่มรายงานก่อนรายงาน 1 สัปดาห์ และนำเสนอรายงานในรูปPower point
3.2.2  แสดงวิธีการสืบค้นโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์
3.3.1  การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2  รูปเล่มรายงาน ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
3.3.3  สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1  พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2  มีภาวะการเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3  สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4  พัฒนาทักษะการสื่อสารอย่างสร้างสรรค์
4.1.5  พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วนตนเอง ทำงานตามที่มอบหมาย ตรงตามกำหนดเวลา
4.1.6  พัฒนาทักษะจิตสาธารณะทำประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม
4.2.1  บรรยาย  อภิปราย  ประกอบการยกตัวอย่าง
4.2.2  ผู้สอนและนักศึกษาช่วยกันเสริมเนื้อหาให้ครบถ้วนโดยใช้Power point ของผู้สอนสรุปเพื่อเพิ่มเนื้อหาให้ครอบคลุม
4.3.1  ผู้สอนประเมินตามแบบการนำเสนอ
4.3.2  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของผู้เรียน
4.3.3  แบบฝึกหัด
4.3.4  การตรงต่อเวลาและการส่งงาน
5.1.1   พัฒนาทักษะการใช้  Internet โดยการสืบค้นข้อมูล เพื่อเขียนรายงาน 
5.1.2   พัฒนาทักษะการสืบค้นข้อมูลวัสดุสารสนเทศจากโปรแกรมสำเร็จรูปของห้องสมุด
5.1.3   มีทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหาเว็บไซค์เพื่อหาข้อมูล
5.1.4  ให้ผู้เรียนทำรายงานส่งโดยพิมพ์คอมพิวเตอร์
5.2.1  ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลจากเวปไซค์ต่างๆเพื่อนำมารวบรวมเขียนเป็นรายงาน
5.2.2  การนำเสนอรายงานทุกครั้งให้ใช้ Computer และ Power point
5.3.1  ดูจากการทำ Power point นำเสนอผลงาน
5.3.2  การสืบค้นข้อมูลตามคำสั่งได้
5.3.3  วิธีการพิมพ์รายงานจากคอมพิวเตอร์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค และสอบปลายภาค 9 และ 17 30% และ 30%
2 สอบย่อยรายบทเรียนและแบบฝึกหัด ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 รายงานทางวิชาการส่งคนละ 1 ฉบับ ตลอดภาคการศึกษา 10%
นันทา  เติมสมบัติถาวร.  เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด.  น่าน :
             มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน, 2553.
พวา  พันธุ์เมฆา.  การแบ่งหมู่หนังสือและแผนการแบ่งหมู่ระบบทศนิยมของดิวอี้.  พิมพ์ครั้งที่ 20.  กรุงเทพฯ :
            โรงพิมพ์กรุงเทพฯ, 2534.
พวา  พันธุ์เมฆา.  สารนิเทศกับการศึกษาค้นคว้า. พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
            ประสานมิตร, 2541.
ยุพา  สายมาลา.  การจัดหมู่และทำบัตรรายการหนังสือ.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง,
            2524.
ปราณี  เชียงทอง.  หลักเกณฑ์การเรียงบัตรรายการ.  กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2525.
ลมุล  รัตตากร.  การใช้ห้องสมุด.  พิมพ์ครั้งที่ 8.  กรุงเทพฯ : สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทย,  2539.
แม้นมาส  ชวลิต , คุณหญิง .  คู่มือบรรณารักษ์ (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) เล่ม 1.  กรุงเทพฯ : บรรณกิจ , 2541 .
สุธิลักษณ์  อำพันวงศ์.  การใช้บริการห้องสมุดและการเขียนรายงานการค้นคว้า.  พิมพ์ครั้งที่ 13.  กรุงเทพฯ :
                ไทยวัฒนาพานิช, 2543 .
อัมพร  ทีขะระ.  คู่มือการจัดหมู่หนังสือระบบหอสมุดรัฐสภาอเมริกัน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์
              มหาวิทยาลัย, 2535.
หนังสือพิมพ์  วารสาร เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนรายงานและการใช้ห้องสมุด และระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
 
เวปไซค์ต่างๆ  สำหรับค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2  ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
1.3  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 2.1  อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษา  ปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
 2.2  สังเกตจาการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
 2.3  ประเมินจากผลการนำเสนอ
 2.4  ผลการสอบกลางภาคและปลายภาค
 3.1  ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
 3.2  กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
 3.3  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
 3.4  การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม ผู้สอนตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่าพัฒนาก้าวหน้าหรือมีการพัฒนาที่ผิดปกติแก้โดยการขอพบนักศึกษา แจ้งผลการได้รับคะแนนเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอสาขา/ คณะ