โครงงานออกแบบอุตสาหกรรม

Industrial Design Project

    1.1 มีทักษะเกี่ยวกับ โครงงานรายบุคคล
    1.2 เข้าใจกระบวนการที่วางแผนโครงานและ เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม
    1.3 มีทักษะการนำเสนอผลงาน
    1.4 เข้าใจการดำเนินโครงงาน และจัดแสดงผลงาน
    1.5 มีเจตคติที่ดีในการจัดทำโครงงาน 
    เพื่อให้นักศึกษาบูรณาการทุกรายวิชาที่ได้เรียนมา จัดทำโครงงานรายบุคคลตามกระบวนการที่วางแผน เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม  และจัดแสดงผลงานเป็นที่ประจักรให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต 
    ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับ โครงงานรายบุคคลตามกระบวนการที่วางแผน เขียนรายงานเป็นรูปเล่ม นำเสนอผลการดำเนินโครงงาน และจัดแสดงผลงาน
   1. อาจารย์ที่ปรึกษา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
   2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
    1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
    1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
    1.1.3 มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
    1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม  ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่นการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
    1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
    1.3.1 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
    1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะประยุกต์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
    2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
    2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
    2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
    ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติได้จริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ใช้ในทางการออกแบบศิลปะประยุกต์  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
    ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
    2.3.1 การสอบความก้าวหน้าของโครงงานฯ
    2.3.2 การสอบป้องกัน
    2.3.3 ประเมินจากภาคเอกสารโครงงานฯรายบุคคล
    2.3.4 ประเมินจากโครงงานฯที่นำเสนอ
    2.3.5 ประเมินจากผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และการจัดนิทรรศการ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43023458 โครงงานออกแบบอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 สอบความก้าวหน้าของโครงงาน 4 15 %
2 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 สอบป้องกัน 9 45 %
3 1.1.2,2.1.1,2.1.2,2.1.3,3.1.1,3.1.2,5.1.1,5.1.2,6.1.1,6.1.2 ส่งผลงานทั้งหมด 10-13 10 %
4 4.1.1,4.1.2,4.1.3,4.1.4 จัดนิทรรศการ 14-16 20 %
5 1.1.1,1.1.2 จิตพิสัยและประชุมสรุปปิดโครงการฯ ส่งรูปเล่มงานวิจัย 3 เล่ม 10-16 10 %
ดลต์  รัตนทัศนีย์.  ขบวนการออกแบบทางศิลปะอุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ:  สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528
ทวิส  เพ็งสา. รูปร่างและประโยชน์ใช้สอย.กรุงเทพฯ: สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,2528
ธีระชัย  สุขสด. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2554
นวลน้อย  บุญวงษ์. หลักการออกแบบ.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2539
สาคร  คันธโชติ  การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์,2544
กองบริการอุตสาหกรรม. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กระดาษบางประอิน, 2518.
เจ.ดับบริว  เกียไซโน และคณะ. เขียนแบบเทคนิค. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. 2533.
เจริญ   เจษฎาวัลย์  และคณะ. วิธีเขียนรายงาน. กรุงเทพฯ: บริษัทพอดี จำกัด. 2538.
จิระพล  ฉายัษฐิต. พรีเซนเตชั่นอย่างมั่นใจ. กรุงเทพฯ: บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.  2537.
ชลูด   นิมเสมอ. องค์ประกอบศิลปะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด. 2531.
ชวิน   เป้าอารีย์. เขียนแบบ Engineering  Drawing. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม. 2513.
บุญเลิศ  บุตรขาว. กายวิภาคฉบับนักศึกษาศิลปะ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์. 2531.
พาศนา  ตัณทลักษณ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พิทักษ์อักษร. 2526.
มนตรี  ยอดบางเตย. ออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ: โอเดียนบุคส์สโตร์. 2538.
วัฒนะ   จูฑะวิภาค. การออกแบบ. กรุงเทพฯ: บริษัทสารมวลชนจำกัด. 2517.
วิบูลณ์   ลี้สุวรรณ. ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ปาณยา. 2527.
วิรุณ  ตั้งเจริญ. การออกแบบ. กรุงเทพฯ: วิฌวลอาร์ต. 2527.
ไม่มี
เอกสารคู่มือ
    การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
    1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
    1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
   ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
   2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
   2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
   2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
    หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
    3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
    จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
    5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
    5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์