ออกแบบเครื่องเรือนไม้

Wood Furniture Design

    1.1 รู้ เข้าใจและมีทักษะการหลักการออกแบบเครื่องเรือนไม้  
    1.2 เข้าใจรูปแบบและประเภทของเครื่องเรือนไม้ 
    1.3 เข้าใจขนาดสัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์ 
    1.4 เข้าใจการใช้วัสดุและโครงสร้าง กรรมวิธีการผลิตเครื่องเรือนไม้
    1.5 มีทักษะในการแสดงแบบเครื่องเรือนและการจัดทำต้นแบบเครื่องเรือนไม้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ   หลักการออกแบบเครื่องเรือนไม้ นำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบรายวิชาโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต  หลักสูตรศิลปบัณฑิต
รู้ เข้าใจและมีทักษะการหลักการออกแบบเครื่องเรือน  รูปแบบของเครื่องเรือน การออกแบบเครื่องเรือนที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก  สัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์  วัสดุและโครงสร้าง กรรมวิธีการผลิตเครื่องเรือน การแสดงแบบเครื่องเรือนและการจัดทำต้นแบบเครื่องเรือนไม้
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
    1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
    2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง
    3. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
    4. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
    5. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
    1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
    1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
    มีความรู้ เข้าใจและมีทักษะการหลักการออกแบบเครื่องเรือน  รูปแบบของเครื่องเรือน การออกแบบเครื่องเรือนที่ใช้ไม้เป็นวัสดุหลัก  สัดส่วนของเครื่องเรือนกับการใช้งานของมนุษย์  วัสดุและโครงสร้าง กรรมวิธีการผลิตเครื่องเรือน การแสดงแบบเครื่องเรือนและการจัดทำต้นแบบเครื่องเรือนไม้
    1. บรรยาย  ยกตัวอย่าง และปฏิบัติงานโครงงาน Problem – based Learning
    1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
    2. ประเมินจากการปฏิบัติงาน หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
 พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการออกแบบเครื่องเรือนไม้
    1. บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
    2. การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
    1. สอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการออกแบบเครื่องเรือนไม้
    2. วัดผลจากการประเมินชิ้นงาน
    3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
    1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
    2. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
    1. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
    2. การนำเสนอรายงาน
    1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
    2. ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
    1. ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
    2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
    3. พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
    4. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
    1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
    2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
    1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
    2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
    1. สามารถออกแบบและเครื่องมือปฏิบัติงาน 2 มิติ
    2. สามารถสร้างและผลิตหุ่นจำลอง ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
    3. สามารถถอดแบบโดยใช้ทักษะด้านแนวคิดทางการออกแบบ
    1. มอบหมายงานให้นักศึกษาออกแบบงาน 2 มิติ
    2. มอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำหุ่นจำลอง
    3. มอบหมายงานให้ฝึกการทำแผนที่ความคิดหรือMood Board
    1. ประเมินจากผลงานออกแบบงาน 2 มิติ
    2. ประเมินผลงานจากผลงานหุ่นจำลองผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
    3. ประเมินผลงานจากการทำแผนที่ความคิดหรือMood Board
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43023354 ออกแบบเครื่องเรือนไม้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,4.3,4.4,6.1,6.2,6.3 ผลงานที่ไ้ด้รับมอบหมาย 1-15 30%
2 2.1,3.2 สอบกลางภาค 8 15%
3 1.1,1.3,2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,4.2,4.3,4.4,5.2,6.1,6.2,6.3 การปฏิบัติงานและผลงานโครงงาน (Project-Based Learning) 1-15 30%
4 2.1,3.2 สอบปลายภาค 17 15%
5 1.1,1.2,1.3,1.4 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคเรียน 10%
ถาวร ตรีรัตน์ณรงค์ และสมหญิง  อุตมพงศ์(ยิ่งยศ). เครื่องเรือนรัตนโกสินทร์. โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ 20.
ธีระชัย  สุขสด. การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2544.
บุญสนอง  รัตนสุนทรากุล. เฟอร์นิเจอร์ฉบับก้าวหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการตำรา คณะสถาปัตยกรรม-   ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2549.
ประเสริฐ  พิชยะสุนทร. ศิลปะและการออกแบบเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์  มหาวิทยาลัย, 2555.
วรรณี  สหสมโชค. ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). 2549.
วิรัตน์  พิชญไพบูลย์. การออกแบบเครื่องเรือน สมัยใหม่.พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527.
ในบุญ พรวศิน, (บรรณาธิการ). (2554). d&D (Design & Décor Magazine) (ปีที่ 2 เล่มที่ 20). กรุงเทพฯ: บริษัทดีไซด์ มีเดีย จำกัด.
ในบุญ พรวศิน, (บรรณาธิการ). (2554). d&D (Design & Décor Magazine) (ปีที่ 3 เล่มที่ 28).กรุงเทพฯ: บริษัทดีไซด์ มีเดีย จำกัด.
ในบุญ พรวศิน, (บรรณาธิการ). (2554). d&D (Design & Décor Magazine) (ปีที่ 3 เล่มที่ 31).กรุงเทพฯ: บริษัทดีไซด์ มีเดีย จำกัด.
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
    1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
    1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
    2.1   การสังเกตการณ์สอน
    2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
    2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง สัมมนาการจัดการเรียนการสอนและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน 
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
    4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
    5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4