ออกแบบตกแต่งภายใน

Interior Design

1. เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงหลักการใช้ทฤษฎีแนวคิด และกระบวนการออกแบบตกแต่งภายใน การวางผังเครื่องเรือน การเลือกใช้สีและวัสดุตกแต่งอาคารและสถานที่ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพแวดล้อมภายในของอาคาร
2. เพื่อให้นักศึกษาได้แสดงความคิดริเริ่ม และสร้างสรรค์ในงานออกแบบตกแต่งภายใน การวางผังเครื่องเรือน สัญลักษณ์ มาตราส่วน การเลือกใช้สีและวัสดุตกแต่งอาคารและสถานที่ให้เหมาะสมกับลักษณะและสภาพแวดล้อมภายในของอาคาร เช่น บ้านพักอาศัย คอนโดมิเนียม ฯลฯ
3. เพื่อให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะทำงานปฏิบัติการออกแบบ เขียนแบบ เขียนรายการประกอบแบบ การเขียนทัศนียภาพภายใน (Perspective) และการนำเสนองาน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับทฤษฎีแนวคิดและกระบวนการออกแบบตกแต่ง การจัดวางเครื่องเรือน สัญลักษณ์ มาตราส่วน การเลือกใช้สีและวัสดุตกแต่งอาคารและสถานที่ และฝึกปฏิบัติการออกแบบ เขียนแบบ เขียนรายการประกอบแบบ การเขียนทัศนียภาพภายใน (Perspective) และการนำเสนองาน
ฝึกปฏิบัติ ออกแบบงานตกแต่งภายใน สัญลักษณ์ มาตราส่วน สี แนวคิดและกระบวนการออกแบบตกแต่ง การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ประโยชน์ใช้สอย การเลือกใช้สี และวัสดุตกแต่งภายในอาคาร
Practice with interior design, symbol, scale, color and the interior design process; furniture arrangement, using color schemes in interior design and using decorative building materials.
อาจารย์ผู้สอน ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่าน Line, Facebook หรือ ทาง Email ของผู้สอน อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามความต้องการ 3 ชั่งโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ผ่านทาง Microsoft Teams, Zoom หรือ Facebook Live หรือ Line กลุ่ม
1.1.1 ˜ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2 ™ มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
1.2.1 แจ้งข้อปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชา ให้ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.2.2 การส่งแบบฝึกหัด การบ้าน และงานที่มอบหมายให้ตรงเวลา ไม่ลอกงานกัน
1.3.1 ตรวจสอบและบันทึกพฤติกรรมการเข้าเรียน
1.3.3 ส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ตามขอบเขตที่ให้และตรงต่อเวลา
2.1.1 ™ รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
2.1.2  ™ มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
 
2.1.1 การบรรยาย อภิปราย ยกตัวอย่าง การคิด วิเคราะห์ ถามตอบในชั้นเรียน
2.1.2 การนำเสนองานออกแบบ รายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาและงานที่เกี่ยวข้อง
2.1.3 มอบหมายให้ค้นคว้าและปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.1 ประเมินจากการคิด วิเคราะห์ และการเลือกรูปแบบในการนำเสนองาน
2.3.2 ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3.3 ความถูกต้องจากการฝึกปฏิบัติงาน
3.1.1 ™ สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ
3.1.3 ™ สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
3.1.4 ˜ มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1 มอบหมายให้นักศึกษาปฏิบัติงาน โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานผ่านทักษะกระบวนการทางการปฏิบัติออกแบบตกแต่งภายใน
3.2.2 การนำความรู้มาถ่ายทอดสู่ผู้เรียนด้วยตัวอย่างผลงานการออกแบบตกแต่งภายใน อาคารบ้านพักอาศัย ร้านค้า และสำนักงาน เป็นต้น
3.3.1 ประเมินผลงาน แนวคิดในการประยุกต์ใช้ โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานผ่านทักษะกระบวนการทางการปฏิบัติออกแบบตกแต่งภายใน
3.3.2 วัดผลจากการประเมินผลงานที่มอบหมาย การนำเสนอผลงานออกแบบ
4.1.1 ™ มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4.1.2 ˜ มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 ™ สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล ในงานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 มอบหมายรายงานกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าแนวทางการออกแบบตกแต่งภายใน
4.2.3 การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ร่วมแสดงความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.2 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตัวเอง
4.3.3 ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมาย และการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1.1 ™ สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 ™ สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 ˜ มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเอง จากสื่อการสอนประเภทต่างๆ และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และการเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
5.2.2 นำเสนอโดยผ่านสื่อ ตัวอย่างผลงานการออกแบบตกแต่งภายใน
5.3.1 ประเมินจากความถูกต้อง การอธิบาย และการนำเสนอ
5.3.2 ประเมินจากการวิเคราะห์ทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
6.1.1 ™ มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 ™ มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.3 ˜ มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1 สอนแนวคิด กระบวนการ หลักการออกแบบตกแต่งภายใน และทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
6.2.2 กำหนดโจทย์การปฏิบัติงาน โดยเน้นฝึกปฏิบัติงานออกแบบและเขียนแบบตกแต่งภายใน
6.2.3 ฝึกฝนเทคนิควิธีการ ทักษะต่างๆ เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการออกแบบและเขียนแบบ ในการออกแบบตกแต่งภายใน
6.2.4 พัฒนาทักษะในการนำเสนอ และสร้างสรรค์ผลงานออกแบบตกแต่งภายใน
6.3.1 ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายและประมวลผลการปฏิบัติงานออกแบบตกแต่งภายใน
6.3.2 ประเมินผลจากหลักการออกแบบตกแต่งภายในที่ถูกต้อง
6.3.3 ประเมินผลจากการสร้างสรรค์ คุณภาพของผลงานและภาพรวมการปฏิบัติงานออกแบบตกแต่งภายใน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาณ 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียน ในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BAAID117 ออกแบบตกแต่งภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 3. ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ 4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 ความรู้ 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่ความเข้าใจกระบวนการออกแบบตกแต่ง 2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลกิจกรรมถาม-ตอบ สมาชิกในห้อง 3. ประเมินจากการงานในชั่วโมงที่ให้ฝึกปฏิบัติ ขั้นตอนกระบวนการคิดและแก้ไขปัญหา 9 17 15% 15%
3 ทักษะทางปัญญา 1. ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์ 2. สอบกลางภาคและปลายภาค 3. วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม 2. ประเมินจากผลงานที่มอบหมายให้ 3. ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 5%
5 ทักษะการวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 1. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้ และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี 2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย ตลอดภาคการศึกษา 5%
6 ทักษะพิสัย 1. ผลงานของนักศึกษาในรายสัปดาห์ 2. สอบกลางภาคและปลายภาค 3. วัดผลจากการประเมิน การนำเสนองานที่มอบหมายให้ ความถูกต้องของข้อมูล ภาพประกอบ 4. สังเกตพฤติกรรมการทำกิจกรรมถาม - ตอบ การมีส่วนร่วมของสมาชิกในห้อง ตลอดภาคการศึกษา 40%
เอกสารประกอบการสอนรายวิชาออกแบบตกแต่งภายใน
กฤษฎา อินทรสถิตย์. การเขียนแบบสถาปัตยกรรมภายใน:สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2546. กิติ สินธุเสกฬ. การออกแบบภายในขั้นพื้นฐาน : หลักการพิจารณาเบื้องต้น : กรุงเทพฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2553. เจริญ เสาวภาณี.เรียนรู้การเขียนแบบก่อสร้างด้วยตนเอง 1:สำนักพิมพ์ : สกายบุ๊กส์, 2553. นภาพรรณ สุทธะพินทุ.ออกแบบตกแต่งภายใน:สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์, 2553. นันทวัชร์ ชัยมโนนาถ,เอกรัตน์ วรินทรา.How To Draw Perspective: สำนักพิมพ์แสงดาว, 2557. ภัทราวดี ศิริวรรณ.ความรู้พื้นฐานงานออกแบบตกแต่งภายใน : สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์, 2553. วัฒนะ จูฑะวิภาต.ศิลปะการออกแบบตกแต่งภายใน : สำนักพิมพ์วิทยพัฒน์, 2556. ศรายุทธ ศรีทิพย์อาสน์.Interior Design Detail แบบตกแต่งภายในบ้าน  : สำนักพิมพ์ บ้านและสวน, 2555.
เวปไซด์ ที่เกี่ยวข้องกับงานออกแบบตกแต่งภายใน  อาทิเช่น

http://www.coe.or.th http://www.dpt.go.th https://bit.ly/2qFcSzp http://oldsite.asa.or.th/th/node/98701 http://www.ieat.go.th/assets/uploads/cms/file/201703141555431875858139.pdf
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดั้งนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านออนไลน์ กลุ่ม Facebook หรือ Line ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
            2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน โดยแต่งตั้งกรรมการประเมินของหลักสูตรและคณะ
            2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
            2.3 การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลักสูตรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมิน ประสิทธิภาพของรายวิชา นอกจากนี้ควรกำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับฝึกอบรมกลยุทธ์พัฒนาการเรียนการสอน ควรมีการประชุมอาจารย์ทั้งหลักสูตรเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
            4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
            4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
หลักสูตรมีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของหลักสูตรและคณะ การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์ในการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
            5.1 ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
         5.2 ปรับปรุงรูปแบบการสอน ให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21
            เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อพิจารณาความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอหลักสูตร/คณะ เพื่อใช้ในการสอนครั้งต่อไป