การวิเคราะห์ธุรกิจเชิงสถิติ

Statistical Analysis in Business

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ สามารถวิเคราะห์หลักสถิติที่สำคัญได้แก่การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมุติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคสแคว์ การหาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ทำให้ผู้เรียนรู้ทันกับการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งเข้าใจปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สามารถเข้าใจและวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจด้วยการใช้สถิติได้ นำข้อมูลสถิติที่ได้ไปใช้ตัดสินใจในทางธุรกิจได้ และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
การใช้หลักสถิติมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลทางธุรกิจและจัดเตรียมข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจ หลักสถิติที่สำคัญได้แก่ การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณา ทฤษฎีสุ่มตัวอย่างและการทดสอบสมมุติฐานทางการวิจัยและทางสถิติ การวิเคราะห์ความแปรปรวน ค่าไคสแควร์ การหาค่าสหสัมพันธ์ และการถดถอยพหุคูณ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการเพิ่มเติม) หรือการสื่อสารทาง Group Line ของวิชา เพื่อปรึกษาทาง Line ส่วนตัวได้
1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมต่อสิ่งแวดล้อม
3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
4. มีภาวะความเป็นผู้นำ ผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
5. มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ š 6.สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ หรือสื่อสังคมออนไลน์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1. การสอนแบบบรรยายและยกตัวอย่าง เช่น บุคคลต้นแบบที่เป็นแบบอย่างที่ดีด้านคุณธรรม จริยธรรมทางธุรกิจ  
2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การเคารพกฎจราจร การลดการใช้ถุงพลาสติก  
3.อธิบายระเบียบกฎ ระเบียบในการเข้าห้องสอบ การลงโทษผู้ทุจริตในการสอบโดยการสอดแทรกในการสอน  
4. มอบหมายงานกลุ่ม เพื่อฝึกความเป็นผู้นำ ผู้ตาม และการทำงานร่วมกัน เปิดโอกาสให้ซักถาม อภิปรายประเด็นปัญหา และแสดงความคิดเห็น    
5. เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
1. การสังเกต การซักถาม  
2. การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัยการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
3. จำนวนครั้งของการกระทำทุจริตในการสอบ การคัดลอกงาน 
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน 5. ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ 
1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน  
3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์  
4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน  
5. สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบ องค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ให้ได้ตรงตามข้อกำหนด  
6. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและวิวัฒนาการคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการนำไปประยุกต์  
7. รู้ เข้าใจ และสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง  
8. มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
9. มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
1. การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม – ตอบ และใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ ทำกิจกรรมกลุ่ม
2. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอ และถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อน ร่วมชั้นเรียนหรือผู้สนใจทั่วไป
1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
2. รายงานสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากการเข้าร่วมกิจกรรมหรือการนำความรู้ไปตอบในแบบทดสอบ    
3. ผลการฝึกปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง หรือสถานการณ์จริง    
4. ผลงานจากการค้นคว้าและการนำเสนอ    
5. ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา    
6. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน  
7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้า หน้าชั้นเรียน
1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบ จากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ  
3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป  
4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  
5. สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม
1. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน    
2. จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และทักษะการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ จากกรณีศึกษา    
3. กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัยและกำหนดให้นักศึกษาวางแผน การทำงานเป็นทีม  
4. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
5. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
6. การสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียน และมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
7. จัดให้ในรายวิชา มีกิจกรรมที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ด้านต่าง ๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. การเลือกใช้ภาษาเพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหา และสื่อสารในบริบทต่าง ๆ    
3. การใช้ภาษาของนักศึกษาในบทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง    
4. ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา  
5. ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา
6. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน    
7. ประเมินจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง  
8. ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้  
2. มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็น ใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีมสามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม  
3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน  
4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง  
5. สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6. มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม  
7. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง  
2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและ การอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป    
4. มอบหมายให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคมร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง    
5. มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสาร การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา  
6. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน  
2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์  
3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
4. มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
5. สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์  
6. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร การค้นคว้าข้อมูล และการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
2. จัดกิจกรรมให้นักศึกษาใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ จากกรณีศึกษา    
3. จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย    
4. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม  
5. ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
6. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. การทดสอบย่อย กลางภาคและปลายภาค
2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม  
3. พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน และความสามารถในการใช้ภาษา การสื่อสาร ของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
4. ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ  
5. ประเมินจากการสรุป และอภิปรายงาน/กิจกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
1. สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม  
2. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง  
3. สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
4. สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความ อย่างมีเหตุผล
5. สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1. จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม    
2. จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1. จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม พฤติกรรมที่แสดงออกในการเข้าร่วมกิจกรรม
2. การใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
วิโรจน์ มงคลเทพ. 2562. เอกสารประกอบการสอนวิชาสถิติและคณิตศาสตร์เพื่อการเกษตร รหัสวิชา BSCCC206. น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
วิโรจน์ มงคลเทพ. 2564. สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ (Statistics for Science). กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
 
-
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). ค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563, จาก https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์และคุณภาพอากาศประเทศไทย. ค้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2563, จาก http://air4thai.pcd.go.th/webV2/history/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณาจารย์ภาควิชาสถิติ. (2541). สถิติเบื้องต้น. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จุลทรรศน์ คีรีแลง, วิโรจน์ มงคลเทพ, เลิศลักษณ์ จิณะไชย, และสุดาพร ตงศิริ. (2561). ผลของการใช้กระเจี๊ยบเขียวในสูตรอาหารต่อการเจริญเติบโตของปลากาดำ. ใน การประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 5 (น.24). ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ตาก.
เจมส์ กัลลาเฮอร์. (2563). บีบีซี ไทย: โควิด-19 วัคซีนมหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดช่วยป้องกันการติดโรคได้ 70%. ค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/international-55041311
ธีรศักดิ์ อุรัจนานนท์. (2546). ความน่าจะเป็นและสถิติประยุกต์ เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สยามสปอร์ต ซินดิเคท.
นพพร ธนะชัยขันธ์. (2555). สถิติเบื้องต้นสำหรับการวิจัย. กรุงเทพฯ: ส. เอเชียเพรส (1989).
นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์. (2556). สถิติวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
พิสมัย หาญมงคลพิพัฒน์. (2560). หลักสถิติ 1 (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
มนตรี สังข์ทอง. (2557). หลักสถิติ. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
ราชบัณฑิตยสภา. (2561). พจนานุกรมศัพท์สถิติศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสภา (พิมพ์ครั้งที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วราวุธ วุฒิวณิชย์. (2547). เอกสารประกอบการสอนวิชา 207251 สถิติทางวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2563, จาก http://irre.ku.ac.th/books/pdf/5.pdf
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
วัชราภรณ์ สุริยาภิวัฒน์. (2552). สถิติสำหรับวิทยาศาสตร์ชีวภาพ เล่มที่ 2. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นซ์ (1991).
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2550). สถิติประยุกต์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์         แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สรชัย พิศาลบุตร, เสาวรส ใหญ่สว่าง, และปรีชา อัศวเดชานุกร. (2553). การสร้างและประมวลผลข้อมูลจากแบบสอบถาม (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
สรชัย พิศาลบุตร. (2556). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.
สายชล สินสมบูรณ์ทอง. (2552). สถิติเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จามจุรีโปรดักท์.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2560). การเปรียบเทียบก่อนและหลังการทดสอบรวมเพื่อการวิจัย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรีมย์, 9(2), 51–70.
สุรินทร์ นิยมางกูร. (2546). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Forsyth, D. (2018). Probability and statistics for computer science. Switzerland: Springer.
Guerrero, H. (2019). Excel data analysis (2nd ed.). Switzerland: Springer.
Heumann, C., Schomaker, M., & Shalabh. (2016). Introduction to statistics and data analysis. Switzerland: Springer.
Martin, B. & Gerald, M. F. (2004). Statistics for the Sciences. USA: Duxbury Press.
McDonald, J. H. (2009). Handbook of Biological statistics (2nd ed.). Retrieved December 26, 2020, from http://www.biostathandbook.com/HandbookBioStatThird.pdf
Pitman, J. (1993). Probability. New York: Springer-Verlag.
Walpole, R. E., Myers, R. H., Myers, S. L., & Ye, K. (2012). Probability & statistics for engineers & scientists (9th ed.). Boston: Prentice Hall.
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษารายงานตนเองเพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจต่อการเรียนรายวิชานี้ โดยเขียนบรรยายลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน
การประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการประเมินผลการสอนออนไลน์ในระบบทะเบียนกลางของมหาวิทยาลัย
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1  ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ  และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)