นวัตกรรมและเทคโนโลยี

Innovation and Technology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
1. เข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1  อธิบายการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้
1.2 ยกตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้    
2. เข้าใจกระบวนการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี
2.1 บอกความหมายและความแตกต่างระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้
2.2 บอกประเภทและตัวอย่างของนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้
2.3 อธิบายกระบวนการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยีได้    
3. วิเคราะห์ความสัมพันธ์และผลกระทบของ มนุษย์ สังคม นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
3.1 อภิปรายความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ สังคม นวัตกรรม เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมได้
3.2 วิเคราะห์ผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยี ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมได้
4. สังเคราะห์นวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัย
4.1 ยกตัวอย่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีร่วมสมัยได้
4.2 ให้ข้อเสนอนวัตกรรมที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยได้
5. ฝึกออกแบบนวัตกรรม
5.1 ออกแบบนวัตกรรมได้
5.2 ประเมินผลการออกแบบนวัตกรรมได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีความเข้าใจธรรมชาติ ตนเอง ผู้อื่น และสังคม เป็นผู้ใฝ่รู้ สามารถคิดอย่างมีเหตุผล สามารถใช้ภาษาในการติดต่อ สื่อสารความหมายได้ดี มีคุณธรรม ตระหนักในคุณค่าของศิลปะและวัฒนธรรมทั้งของไทยและของประชาคมนานาชาติ สามารถนำความรู้ไปใช้ในการดำเนินชีวิตและดำรงตนอยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดี
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวิวัฒนาการทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กระบวนการสร้างนวัตกรรมและเทคโนโลยี ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์  สังคม  นวัตกรรม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผลกระทบของนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ประเด็นร่วมสมัยในด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีเพื่ออนาคต  ฝึกออกแบบนวัตกรรม
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ) ดังนี้
    3.1  วันพุธ (คาบกิจกรรม) เวลา 15.00 - 17.00 น. ของทุกสัปดาห์ ณ ห้องพักอาจารย์แต่ละท่าน
    3.2  กลุ่ม Line ชื่อ “วิชานวัตกรรมและเทคโนโลยี1-64” ทุกวัน
1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาและการปฏิบัติตนในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1. การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
2. ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
3. ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฎิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี 
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
1. การทดสอบย่อย
2. การสอบปลายภาคเรียน
3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
4. งานที่ได้มอบหมาย
5. การนำเสนองานในชั้นเรียน
1. มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆ โดยใช้กรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
1. กรณีศึกษา
2. การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ใขปัญหาในบริบทต่าง ๆ
3. การนำเสนองานในชั้นเรียน
4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ดำเนินการสอนโดยการกำหนดกิจกรรมกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
1. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรได้เป็นอย่างดี
4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
5. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
6. มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของบุคคลที่ติดต่อสื่อสารด้วย  และสามารถวางตนได้เหมาะสมกับกาลเทศะ ขนบธรรมเนียมและแนวทางปฏิบัติเฉพาะของแต่ละวัฒนธรรม
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
1. พฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน
2. พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดำเนินการสอนด้วยกิจกรรม Active Learning/Flipped Classroom ที่นักศึกษาต้องติดต่อสื่อสาร ค้นคว้าหาข้อมูล และนำเสนอผลจากการค้นคว้าโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนี้
1. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร
2. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาข้อมูล
3. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอผลงาน
4. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างถูกต้อง เหมาะสมกับขนบธรรมเนียมปฏิบัติของสังคมแต่ละกลุ่ม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา ดังนี้
1. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร
2. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูล
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
4. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 GEBIN102 นวัตกรรมและเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3 งานที่มอบหมาย (งานเดี่ยว/กลุ่มในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียน) 1-8, 10-17 20%
2 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3 รายงาน ผลงานนวัตกรรม และนำเสนอนวัตกรรม [รายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1/2/3 ครั้งละ 5 คะแนน และการนำเสนอนวัตกรรมที่สมบูรณ์ 35 คะแนน] 12, 14, 16, 17 50%
3 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3, 4.4, 5.2, 5.3 สอบปลายภาค 18 20%
4 1.2, 1.3 เจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10%
1. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2549). พลวัตนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: งานส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร.
2. Peter Skarznski & Rowan Gibson แปลโดย ณัฐยา สินตระการผล. (2554). การสร้างนวัตกรรมให้เป็น Core Competency. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ส.เอเชียเพรส.
3. นพดล เหลืองภิรมย์. (2555). การจัดการนวัตกรรม: Innovation Management. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดวงกมลพับลิชซิ่ง.
สืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตตามหัวข้อที่มอบหมาย
สืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากอินเทอร์เน็ตตามหัวข้อที่มอบหมาย
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษารายงานตนเองเพื่อสะท้อนถึงความรู้ความเข้าใจต่อการเรียนรายวิชานี้ โดยเขียนบรรยายลงบนกระดาษที่แจกให้ในชั้นเรียน(โดยไม่ต้องลงชื่อ)
การประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ซึ่งนักศึกษาจะต้องทำการประเมินผลการสอนออนไลน์ในระบบทะเบียนกลางของมหาวิทยาลัย
แก้ไขข้อบกพร่องจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา ได้แก่ ด้านการสอน ด้านสื่อ ด้านประเมิน และด้านปกครอง
4.1  ทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา จากการตั้งคำถามต่างๆ เพื่อตรวจสอบความรู้ความเข้าใจของนักศึกษา
4.2  ทวนสอบงานที่มอบหมายของนักศึกษา ผลการสอบกลางภาค และผลการสอบปลายภาค
4.3  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจข้อสอบ คะแนนสอบ  และคะแนนพฤติกรรมการตอบคำถามและแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน
5.1  ปรับปรุงการเรียนการสอนตามผลการประเมินการโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในรายวิชา
5.2  วิเคราะห์และสังเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา
5.3  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอนเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้กับปัญหา โดยวิธีการสอนที่หลากหลายและ/หรือจากงานวิจัยของอาจารย์ผู้สอน (ถ้ามี)