การประมาณราคาสถาปัตยกรรมภายใน

Interior Architectural Estimation

เพื่อให้ศึกษาฝึกปฏิบัติการหลักการวิธีการประมาณราคา ทางราชการและแบบเอกชน  นักศึกษา สามารถทำการถอดแบบก่อสร้างคำนวณปริมาณการใช้วัสดุ ประเมินราคาวัสดุอุปกรณ์  แรงงาน ตามท้องตลาด และหลักระเบียบ กระทรวงพานิช  ศึกษาปัจจัยที่ มีผลต่อต้นทุน แนวทางการการกำหนดสัดส่วนงวดงาน งวดการชำระเงินและ เงื่อนไขสัญญา  บนพื้นฐานของ คุณธรรมจริยธรรมต่อการดำเนินการประมาณราคา
นำข้อมูลจากการประเมินการสอนโดยนักศึกษา  มาปรับปรุงในการสอน เสริม แนวทางการ ใช้โปรแกรมช่วยในการประมาณราคาการ   จัดทำเอกสารราคากลางตามระเบียบของ รัฐบาล และเอกชน ปรับปรุงหลักเกณฑ์ของการประมาณราคาวัสดุตามมาตรฐานราคากลางตามระเบียบ กระทรวง ใน ปี2558 ระเบียบการจัดทำราคากลาง  และ อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการหลักการวิธีการประมาณราคา การถอดแบบก่อสร้าง  คำนวณ  ประเมินค่าวัสดุอุปกรณ์  แรงงาน และปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุน  การกำหนดสัดส่วนงวดงาน งวดการชำระเงิน และเงื่อนไขสัญญา บนพื้นฐานของคุณธรรมจริยธรรมต่อการดำเนินการ ประมาณราคา
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาหน้าชั้นเรียนจัดเวลา ให้คำปรึกษา เป็นราย บุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) โดยระบุ เวลา  ไว้ใน ตารางสอน และแจ้งนักศึกษาในชั่วโมงแรก ของสัปดาห์
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม โดยการศึกษา ราคา มาตรฐานของ วัสดุ ในท้องตลาด ถอดปริมาณที่ถูกต้อง ตามหลักการ ของการถอด ปริมาณ วัสดุ มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  เข้าใจหลักการ  วิธีการ การจัดทำเอกสาร  เพื่อการเสนอราคา   จรรยาบรรของผู้ดำเนินงานประมาณราคา

3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เข้าเรียนในห้องเรียน สม่ำเสมอ เข้าเรียน ตามเวลาที่กำหนดในตารางเรียน  และทำ กิจกรรมในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้น ภายในชั้นเรียน
อาจารย์ผู้สอนบรรยาย วิธีการถอดปริมาณ วัสดุที่ใช้ในการ ก่อสร้าง   มอบหมาย งานให้นักศึกษา สำรวจ ราคาวัสดุที่ นักศึกษาสนใจ  จากนั้นอาจารย์ผู้สอน อธิบายการ สำรวจราคา ตามข้อกำหนดของ  กระทรวงพานิช  เปรียบเทียบ กับราคาวัสดุที่นักศึกษา สำรวจ อาจารย์ ผู้สอน ให้ตัวอย่างการจัดทำเอกสาร  วิธีการ การจัดทำเอกสาร  เพื่อการเสนอราคา  จากนั้นให้นักศึกษา ทำการจัดกลุ่มเพื่อ การจัดทำเอกสาร การกำหนดปริมาณวัสดุ และการจัดทำเอกสาร กำหนดราคากลาง

3. อาจารย์ผู้สอน   อธิบายบทบาท จรรยาบรรณ ของผู้จัดทำราคากลาง และนักศึกษาแลกเปลียน  ความคิดเห็น โดยการยกตัวอย่าง กรณีศึกษา จรรยาบรรของผู้ดำเนินงานประมาณราคา   ผลกระทบหาก ผู้ดำเนินงาน กำหนดราคา ไม่มีจรรยาบรรณ
4. อาจารย์ผู้สอนทำเอกสารในการ เข้าเรียนและให้นักศึกษาเซ็นต์ชื่อก่อนเข้าเรียน โดยกำหนด  การเซ็นต์ชื่อช่วงต้นคาบโดยให้เวลา 15 นาที นักศึกษาที่มาหลังจาก นั้นถือกว่า สาย และหากไม่มีการ  เซ็นต์ชื่อ  ถือว่านักศึกษา ขาดการเรียน  การกำหนดกิจกรรมการเรียน  อาจารย์ผู้สอน กำหนด หัวข้อในการจัดกิจกรรมการเรียน  และ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มการทำงานด้วยตัวเอง  และกำหนด  การทำงานของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนเพื่อ แสดงความรับผิดชอบ  การทำงานต่อตนเองและเพื่อน ในกลุ่ม  อาจารย์ผู้สอนสังเกต  การนำเสนอ ของนักศึกษา แต่ละกลุ่มที่มอบหมาย  ซักถาม โดยเปิดโอกาสในนักศึกษา  กลุ่มอื่นๆ ซักถามและอาจารย์ผู้สอน อธิบายเสริม
ประเมินจากการตรวจงานที่นักศึกษา ทำการถอดปริมาณวัสดุ  สถานที่สืบราคาวัสดุ ตรวจวิธีการ การจัดทำเอกสาร   เพื่อการเสนอราคา  สังเกตนักศึกษาที่แลกเปลียน          ความคิดเห็น  และให้คะแนนเป็นรายบุคคล  เพื่อเป็นคะแนนเสริม และสร้างแรงจูงใจในการเรียน ประเมินจากการการเข้าชั้นเรียนความตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียนการ ส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรร

4. การมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
5. ประเมินจากการทำงานกลุ่มวัดภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
6. ประเมินจากผลงานความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาของการถอด ปริมาณวัสดุ   แต่ละประเภทที่ใช้ในการออกแบบตกแต่งภายใน หน่วยของ การวัดปริมาณ วัสดุ  หน่วยของราคาวัสดุ  ที่ถูกต้องตามหลักการถอดปริมาณ งานสามารถเข้าใจหลักการทำเอกสารประกอบการทำสัญญารวมทั้งการจัดทำ งวดงานที่ สมดุลกับกระบวนการก่อสร้างเพื่อการตรวจสอบ ได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ในการติดตามความก้าวหน้า  ทางวิชาการและเทคโนโลยีของวัสดุที่ มีในท้องตลาดในวัสดุในการตกแต่งภายในที่ทันสมัย เข้าใจคุณสมบัติ ของวัสดุ วิธีการประมาณการราคา  วัสดุประกอบที่ได้มาของ งานที่ทำการถอด ปริมาณ และค่าใช้จ่ายๆอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ  โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ในการ จัดทำเอกสาร

1.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำความ เข้าใจรายละเอียดของ องค์ประกอบอื่นๆ เพื่อเตรียมการเสนอราคา  การจัดทำ เอกสาร  ในกรณีที่ทำการประกวดราคา หลักการต่อรอง โดยมีจรรยาบรรณ ของผู้ ประกอบอาชีพ ในการประมาณราคา
อาจารย์ผู้สอนยกตัวอย่างการถอดปริมาณ วัสดุให้นักศึกษาทำการฝึกการถอดปริมาณ งานในงานที่ทำการออกแบบจากนั้นทำเอกสารสรุปการถอดปริมาณงานจัดทำเอกสารสรุปผลการประมาณราคา  ทั้งในระเบียบของงานเอกชน และระเบียบงานของรัฐบาล   อาจารย์ อธิบายรูปแบบของสัญญาในการจัดทำโครงการ  คุณสมบัติ ของสัญญา  แต่ละประเภทให้นักศึกษาคั้นคว้าตัวอย่างในการจัดทำวิธีการทำสัญญาในการทำ โครงการตั้งคำถาม   เพื่อให้นักศึกษาแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบสัญญา  แต่ละประเภท    อาจารย์ผู้สอน อธิบายแนวทางการแบ่ง  งวดงานในการเบิกจ่าย ให้สมดุลกับกระบวนการก่อสร้าง และการตรวจสอบผลงานที่ทำได้ตามหลักการ  เพื่อนักศึกษาสามารถ สรุปแนวทาง และทำรายงานสรุปผลเพื่อทำสัญญา ได้อย่างถูกต้อง อาจารย์ยกตัวอย่าง วัสดุใหม่ ในท้องตลาด อธิบายและยกตัวอย่างของวัสดุ วิธีการประมาณการราคา   วัสดุประกอบที่ได้มาของ งานที่ทำการ ถอด ปริมาณ และค่าใช้จ่ายๆอื่นๆที่เกี่ยวข้อง มีความรู้ในการใช้เครื่องมือ จากนั้นให้นักศึกษา ทำการ จัดหาวัสดุ สมัยใหม่ที่นักศึกษาสนใจ ทำรายละเอียดตามหลักการที่อาจารย์สอน และจัดทำเอกสารด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดทำเอกสารนำเสนอผลงานที่ นักศึกษานำเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ จากเพื่อนร่วมชั้นเรียน เมื่อนักศึกษาเข้าใจหลักการและวิธีการประมาณาราคา แบบอื่นให้นักศึกษาทำการสรุป การปริมาณราคาที่มีงานด้านสถาปัตยกรรมอื่นๆเข้ามาบรรจุในรูปแบบของเอกสาร เสนอราคาทั้งโครงการสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสาตร์เข้าใจราย ละเอียดของ องค์ประกอบอื่นๆ เพื่อเตรียมการเสนอราคา  การจัดทำ เอกสาร ในกรณี ที่ทำการประกวดราคา หลักการต่อรอง โดยมีจรรยาบรรณ ของผู้ประกอบอาชีพ ในการประมาณราคา ฝึกปฏิบัติการคำนวณการประมาณราคาอุปกรณ์ก่อสร้างและแรงงาน อื่นๆ เพื่อจัดทำเอกสาร

5. นักศึกษาฟังบรรยายเรียนรู้และปฏิบัติตาม ผู้สอน
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการทำงานกลุ่ม การนำเสนอ
รายงานกลุ่มในชั้นเรียน เป็นการประเมินรายบุคคลตามบทบาทของแต่ละคนในกลุ่ม และสังเกตจาก
พฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   วัดวิธีการจัดทำ  เอกสารประกอบเพื่อการประมาณราคา  และการจัดทำสัญญา
2.3.3   วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลามีการสอบวัดประเมินผล
มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ ในการ จัดทำการประมาณราคาสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงและทำความเข้าใจ อย่างเป็น เหตุเป็นผล  โดยบูรณาการความรู้ หลักการออก มาในรูปแบบ การ จัดทำเอกสารที่ ถูกต้องและสามารถประเมิณผลได้ในรูปแบบผลงานใน การ จัดทำสัญญาและการแบ่งงวดงานนักศึกษาสามารถอธิบายหลักการวิธี การ วัดได้อย่างถูกต้องมีกระบวนการทางความคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ
อาจารย์ทำการ อธิบายวิธีการตรวจสอบ  การจัดทำเอกสารประกอบการประมาณ ราคาและการจัดทำเอกสารจากนั้นให้นักศึกาษาทำการตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา ของกลุ่มอื่น  ทำการวิเคราะห์ รูปแบบผลงาน การจัดทำสัญญา การแบ่ง งวดงาน

3.2.2 อาจารย์ติดตามวิธีการวิเคราะห์ โดยการ สำรวจแต่ละกลุ่มโดยดู หลักการ ของการ ตรวจสอบว่าเป็นระบบหรือไม่ ให้คำแนะนำภายในกลุ่ม  และสรุปท้ายกิจกรรม ถึงแนวทางการจัดทำรูแบบการเสนอราคาที่ดี
       3.3.1    ทดสอบย่อย สอบกลางภาคสอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัด หลักการ และทฤษฏี
3.3.2   วัดผลงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตการจัดทำเอกสารจากนั้นให้นักศึกษา
          ทำการตรวจสอบความถูกต้องของสัญญา ของกลุ่มอื่น วัดวิธีการประเมิน
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา ของนักศึกษา
สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม นักศึกษา ทำงานเป็นทีม  โดยให้นักศึกษาจัดการหากลุ่มของตนเองทำการสรุปข้อคิดเห็นของ กลุ่มอื่นๆ โดยนักศึกษาแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ ของงานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ผู้สอนติดตามการทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา ดูการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ของนักศึกษาเข้าไปสรุปเนื้อหาความขัดแย้งจากการแลกเปลี่ยนความคิดดูการนำ เสนอผลงานจากการวิเคราะห์ของนักศึกษาเป็นไปตามหลักการที่ทำการเรียน การสอน
ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขต ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน

3. การนำเสนอผลงานจากการวิเคราะห์ของนักศึกษา
-
-
-
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 42024404 การประมาณราคาสถาปัตยกรรมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1) มีจิตสำนึกสาธารณะและ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ 3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม -รายงานการศึกษาการสำรวจวัสดุ -การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในชั้น เรียน - เข้าเรียนในห้องเรียน สม่ำเสมอเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนด ในตารางเรียน และทำ กิจกรรม ใน กลุ่ม และเพื่อนร่วมชั้นภายในชั้นเรียน 3-5 ตลอดการศึกษา ตลอกการศึกษา 10% 10% 15%
2 ด้านความรู้ 1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้าน ทฤษฎีและหลักการปฎิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2) สามารถติดตามความก้าวหน้า ทางวิชาการและเทคโนโลยีของ สาขาวิชาที่ศึกษา 3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค -นักศึกษารายงานการค้นคว้า แบ่งกลุ่มสัญญาในงาน ก่อสร้าง -นักศึกษาทำ การจัดทำเอกสาร บัญชีรายงานก่อสร้าง จากแบบ ทำกำหนดให้ 1-7 8-16 15-16 15% 20% 10%
3 ด้านทักษะทางปัญญา 1) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ หรือวิชาชีพ การนำเสนอ ผลงานที่ทำการค้นคว่าอย่างเป็นระบบและขั้นตอนเหมาะสม เป็นไปตามเนื้อหาที่กำหนดให้ - ตรงต่อเวลาในการส่งงาน และประสิทธิผลของผลงาน 12-13 15%
4 ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 1) สามารถทำงานเป็นทีมและ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่าง เหมาะสม การแบ่งหน้าที่การรับผิดชอบ การมีส่วนร่วมในการจัดทำกิจกรรม กลุ่ม ตรงต่อเวลาในการส่งงาน และประสิทธิผลของผลงาน ตลอดการศึกษา 5%
5 - - - -
ระเบียบการจัดทำราคากลาง
การประมาณราคา  วิสูตร  จิระดำเกิง , การบริหารงานก่อสร้าง ระเบียบการจัดทำราคากลาง
หลักบัญชีการบริหาร  สมนึก  เอื้อจิระพงษ์พันธ์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   อาจารย์ผู้สอนจัดทำเอกสารค้นคว้าคู่มือ หนังสือตำรา หรือวิจัย เพื่อให้มีประสิทธิภาพของวิชาสูงขึ้น
5.3 รวมรวมผลงานนักศึกษาย้อนหลัง 5 ปี เพื่อประเมินผลงานของนักศึกษานำมาปรับปรุงการเรียนการสอน